วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

การกำจัดไรเห็ด


ไรเห็ด เป็นศัตรูเห็ดที่มีขนาดเล็กมาก จนต้องอาศัยแว่นขยายเข้าช่วย จึงจะเห็นได้ชัด ตามสภาพธรรมชาติ มักจะเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ สีขาวใส่อยู่กระจายเต็มไปหมดที่น่าสนใจคือการที่ไรชนิดต่าง ๆ ที่ทำลายเห็ดนั้นจะมีวงจรชีวิต (ไข่-ตัวแก่) สั้นมาก โดยใช้เวลาเพียง 4-5 วันเท่านั้น โดยทั่วไปจะพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ถึง 4 เท่า โดยที่ตัวเมียยังสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการออกไข่และเป็นตัว ไม่จำเป็นต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้อีกด้วย จึงทำให้ไรสามารถเกิดระบาดทำลายอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เส้นใยเห็ดกำลังแผ่ออกไป หากมีพวกไรดังกล่าวระบาดก็จะทำให้เส้นใยขาดออกจากกัน และไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เนื่องจากไรพวกนี้ชอบทำลายกัดกินส่วนของเส้นใย ไรศัตรูเห็ดที่พบทำลายเห็ดปลูกในไทยนั้น คือ ไรไข่ปลา ( Luciaphorus sp. )

ในการเพาะเลี้ยงเห็ดหูหนูมีปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง คือ มีไรชนิดหนึ่งที่ไปทำลายเส้นใยเห็ดที่เจริญอยู่ในถุงพลาสติกก่อนไปเปิดให้เห็ดออกดอก หรือทำลายโดยตรงที่ดอกเห็ด ทำให้ดอกแคระแกร็น ในถุงที่ถูกไรชนิดนี้ทำลาย จะพบเม็ดกลมเล็ก ๆ เหมือไข่ปลากระจายทั่วไปในถุงเห็ด ชาวบ้านเข้าใจว่าเห็ดเป็นโรค จึงเรียกลักษณะอาการดังกล่าวว่า "โรคไข่ปลา" แต่ความจริงแล้วเป็นไรชนิดหนึ่งที่ไปกินเส้นใยของเห็นหูหนู และอาการเม็ดไข่ปลาที่เห็นนั้น เป็นส่วนท้องของไรตัวเมีย ที่ขยายมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 - 2 มม. โดยมีไข่ และตัวอ่อนเจริญอยู่ภายในท้อง ถ้าจะเรียกชื่อให้ถูกต้องแล้ว น่าจะเรียกว่า "ไรไข่ปลา" เพราะเห็ดนั้นไม่ได้เป็นโรค อนึ่งหากพบการระบาดอย่างรุนแรงแล้ว ก็จะเห็นซากของตัวเต็มวัยที่ตายแล้วด้วยตาเปล่า หรือเห็นคราบทับถมอยู่บริเวณปากถุงเห็ด และชั้นที่ว่างถุงเห็ดอย่างหนาแน่น เห็นเป็นผงฝุ่นสีน้ำตาลอ่อนคล้าย ๆ ขี้เลื่อยละเอียดเต็มไปหมด ไรไข่ปลา (Luciaphorus sp ) ระบาดในเห็ดหูหนูที่เพาะเป็นการค้า อยู่ติดกันเป็นแพ ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่าที่เห็นเป็นสีขาว ๆ กลมเล็ก ถ้าเราสามารถป้องกันกำจัดไรได้ อาการดังกล่าวก็จะหายไป
ไรไข่ปลามีการดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากไรแดงที่ทำลายพืช กล่าวคือ ไรตัวแก่เพศเมียจะว่างไข่อยู่ภายใต้ลำตัว แทนที่จะว่างไข่ออกมาภายนอกลำตัว เหมือนไรแดงที่ทำลายพืช นอกจากนั้นแล้ว เมื่อไข่เจริญเติบโตเป็นตัวแก่แล้ว แทนที่จะออกมาจากตัวแม่กลับเจริญเติบโตอยู่ภายใต้ท้องแม่ จนกว่าจะเป็นตัวแก่ จึงจะเจาะผนังท้องของแม่ออกมาภายนอก การผสมพันธุ์ระหว่างตัวแก่ตัวผู้และตัวเมียนั้น ส่วนใหญ่ผสมพันธุ์กันอยู่ภายในท้องแม่ ก่อนออกจากท้องแม่ สำหรับไข่บางฟองที่อาจอยู่ภายใต้ท้องแม่ แต่ยังไม่เจริญเป็นตัวอ่อน เมื่อท้องแม่แตกแล้ว ก็สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนภายหลัง จากนั้นจึงเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ต่อไป ระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโต ตั้งแต่วางไข่จนกระทั้งเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ประมาณ 5-7 วัน


ตัวแม่สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งที่ได้รับการผสมพันธุ์และไม่ได้รับการผสมพันธุ์ตัวแม่ที่ได้รับ การผสมพันธุ์จากตัวผู้จะวางไข่ซึ่งเจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวเมียเป็นส่วนใหญ่และมีส่วนน้อยที่เจริญเติบโตเป็นตัวผู้ ซึ่งตรงกันข้ามกับตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะวางไข่ซึ่งเจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวผู้ทั้งหมด ปริมาณการวางไข่ของตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ จะมากกว่าตัวแม่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์เล็กน้อย คือ ตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์สามารถวางไข่ประมาณ 200 ฟอง ต่อตัวแม่ 1 ตัว ตัวแก่ตัวเมียที่ออกจากท้องแม่แล้ว จะมีระยะเวลาก่อนการตั้งท้อง คือก่อนที่ส่วนท้องจะขยายโต เป็นเม็ดกลมเหมือนไข่ปลา ประมาณ 1-3 วัน สำหรับตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์และประมาณ 3-6 วัน สำหรับตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ หลังจากนั้น ส่วนท้องจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ มีขนาดโตมองเห็นชัดด้วยตาเปล่า เป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ สีเหลืองใส ระยะเวลาตั้งแต่ตัวเมียเริ่มขยายส่วนท้องใหญ่ขึ้น จนกระทั้งท้องแตกใช้เวลาประมาณ 9 วัน อายุของตัวแม่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ จะมีชีวิตอยู่ประมาณ 7-11 วัน ซึ่งสั้นกว่าตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ คือประมาณ 10-16 วัน


การแพร่กระจายหรือการระบาดของไรไข่ปลา จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง หรือจากถุงเห็ดหนึ่งไปอีกถุงหนึ่งนั้น เป็นไปได้โดยที่ไรไข่ปลาติดไปกับถุงเห็ด และตัวไรสามารถเข้าไปในถุงเห็ดทีวางใกล้เคียง โดยตัวไรเดินผ่านเข้าทางจุกสำลี เมื่อเข้าไปในถุงเห็ดก็จะกัดกินเส้นใยสีขาวของเห็ดหูหนู ซึ่งเจริญอยู่ภายใน โดยเริ่มจากบริเวณตรงคอขวดลงมาเรื่อย ถ้าถุงเห็ดถูกไรทำลายมาก เมื่อนำถุงไปเปิดปากถุงให้เห็ดออกดอก ก็จะมีดอกน้อยหรือไม่มีดอกเห็ดและดอกเห็ดที่ออกมาก็จะถูกไรชนิดนี้ทำลายที่ดอกอีก ทำให้ดอกแคระแกร็นมีขนาดเล็กกว่าปกติ ถ้านำดอกเห็ดที่ถูกไรชนิดนี้ทำลายไปจำหน่าย ก็อาจจะเป็นที่รังเกียจแก่คนซื้อด้วย เพราะเห็นเม็ดไข่ปลากระจายอยู่ตามดอกเห็ด ดั้งนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีการป้องกันกำจัดไม่ให้ไรไข่ปลาเข้าทำลายเสียหายแก่เห็ด



คุณรุ่งทิวา อนัตรเสน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเห็ดกว่า 25 ปี เจ้าของฟาร์มเส้นทางเห็ดจังหวัดพิษณุโลก ได้ให้ข้อมูลว่า ไรเป็นสัตว์ตัวเล็กกว่าแมลงทั่วไป มีหลายชนิด บางชนิดกินเส้นใยของเห็ดราเป็นอาหาร การเพาะเห็ดที่ทำต่อเนื่องในที่เดิม เช่นทำในโรงเรือน มีโอกาสสะสมไรมาก จนระบาดทำความเสียหาย หากจัดการไม่เหมาะสมจะสูญเสียทั้งผลผลิตและรายได้จำนวนมาก สาเหตุของโรคเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น โรงเรือนไม่สะอาด การผลิตไม่สะอาด หรือได้เชื้อเห็ดที่มีไรเห็ดติดมาด้วย
การแก้ปัญหานี้สามารถทำได้ คือ
1.ใช้ว่านหนอนตายยาก บอระเพ็ด กากน้ำตาล อัตราส่วน 1:1:1 สับละเอียดผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 7 วัน นำมาฉีดพ่นที่ก้อนเห็ดในอัตราส่วน 1 ช้อนแกง/น้ำ 1 ลิตร ทำวันเว้นวัน
2.แก้ปัญหาโดยการพักโรงเรือน เปิดระบายอากาศน้ำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อในโรงเรือน การพักโรงเรือนควรทำอย่างน้อย 15 วัน
3.ทำความสะอาดเครื่องมือ ภายในโรงผลิตก้อนเห็ด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น