สมุนไพรที่นิยมใช้ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ลดการอักเสบ รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เหง้าขมิ้นตำผสมกับพลูคลุกกับปูนกินหมาก ใช้รักษาแผลให้ช้างทั้งแผลสด แผลมีหนองและกันแมลงบริเวณแผล ผู้เลี้ยง ไก่ชนใช้ขมิ้นกับสมุนไพรอื่นๆ เช่นส่วนผสมของสมุนไพรที่ใช้ต้มเป็นน้ำยาสมุนไพรอาบให้ไก่ชน ประกอบด้วย ใบมะขาม ใบส้มป่อย ไม้ฤาษีผสม ใบคุระ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ไม้กระดูกไก่ เปลือกไม้ โอน ต้มรวมกันในน้ำเดือด นำน้ำที่ต้มได้มาอาบให้ไก่ชนเพื่อให้ไก่มีหนังเหนียว ไม่ฉีกง่ายเวลาโดน จิกหรือตี หรือสูตรแก้ไก่เป็นหวัด บิด ท้องเสีย จะใช้ขมิ้นชัน 7 กรัม ผสมฟ้าทะลายโจร 144 กรัม ไพล 29 กรัม บดผสมอาหารลูกไก่ 100 กิโลกรัม ฟ้าทะลายโจร แก้หวัด ทอนซิลอักเสบ มีการทดลองนำฟ้าทะลายโจร ขมิ้นและไพลมา ผสมอาหารให้ไก่กินในอัตราส่วน 50-75 กรัมต่ออาหาร 3 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคต่างๆในสัตว์ ไพล มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ใช้ภายนอกเป็นยาประคบร้อน พอกแก้ฟกช้ำ บวม ลดการ อักเสบ ทำให้ประสาทชาช่วยลดอาการปวดได้ ควาญช้างในภาคเหนือใช้หัวไพลเป็นยาบำรุง แก้อาการช้างเหนื่อยจากการทำงานหนัก บอระเพ็ด ต้นและเถาเป็นยาบำรุงกำลัง ลดไข้ ลดการอักเสบ กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ ไล่แมลง ควาญช้างภาคเหนือใช้เถาบอระเพ็ดบำรุงแก้ช้างเหนื่อย เป็นยาเจริญอาหาร แก้อาการท้องผูกโดยใช้ร่วมกับมะขามเปียกและเกลือ ผู้เลี้ยงไก่ชนนำเถามาแช่ให้ไก่กิน เพื่อให้มีเนื้อแข็ง เรี่ยว แรงดีและเจริญอาหาร พลู ในใบมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ในการชนไก่ ผู้ให้น้ำไก่จะนำพลูไปนาบกับกระเบื้องร้อนพอให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปประคบบริเวณลำตัวหรือหน้าอกเพื่อบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกหรือระงับอาการปวดแก่ไก่ชนหลังการต่อสู้ พญายอ สารสกัดพญายอสามารถป้องกันเชื้อไวรัส (Yellow Head Baculovirus) ที่ทำให้เกิดโรคหัวเหลืองในกุ้งกุลาดำได้อย่างดีและมีความปลอดภัยสูง นอกจากนั้นยังกระตุ้นขบวนการทำลายเชื้อโรคให้เพิ่มขึ้น ส้มป่อย นำมาต้มอาบให้ไก่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนและเชื้อรา น้ำต้มใบส้มป่อยและฝักใช้หยอดให้ไก่กินช่วยขับเสลด เมล็ดนำมาตำหรือบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนให้ไก่กินเป็นยาถ่ายได้ นอกจากนี้ใบส้มป่อยยังใช้ แก้ท้องอืด ท้องผูก ถ่ายพยาธิให้ช้าง กระเทียม แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อขับลม ขับลมเสมหะน้ำลายเหนียวและรักษาอาการบวมช้ำภายในของไก่ชนใบ มะขาม ต้มรวมกับตะไคร้ ใบส้มป่อย ทำให้ไก่คึกคัก สบายตัว แก้หวัดทำให้หายใจคล่อง รูขนเปิด กวาวเครือ มีการศึกษาการใช้กวาวเครือในสุกรโดยนำกวาวเครือบดแห้งมาผสมอาหารในอัตราส่วน 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ให้สุกรน้ำหนัก 30-100 กิโลกรัมกินนาน 2.5-3 เดือน พบว่าสุกรทั้งเพศผู้และเพศเมียมีการเจริญเติบโตดีขึ้น สุกรที่กินกวาวเครือมีการกินอาหารได้ดีกว่า กลุ่มที่ไม่ได้กินและช่วยชะลอการเป็นสัด เมื่อหยุดให้กวาวเครือ 1.5-2 เดือน สุกรตัวเมียกลับมา เป็นสัดตามปกติและสามารถผสมพันธ์ให้ลูกได้ การทดลองในสุกรเพศผู้เมื่อให้กินกวาวเครือผสมอาหารขนาด 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ปรากฏว่าให้เนื้อแดงสูง มีการเจริญเติบโตดีขึ้นผู้ที่เลี้ยงไก่ชนจะมีสูตรยาสมุนไพรต่างๆสำหรับไก่ชน เช่น
สูตรยาบำรุงกำลัง
สูตรที่ 1 ประกอบด้วย โสม เหง้ากระชาย พริกไทดำอย่างละ 1 ส่วน ปลาช่อนย่าง ป่น 3 ส่วน นกกระจอกย่างป่น 1 ส่วน ไวตามิน เกลือแร่ น้ำผึ้ง บดผสม ปั้นเป็นก้อนให้กินวันละ 2 มื้อ
สูตรที่ 2 ประกอบด้วย เปลือกตะโกนา 2 ส่วน กระชาย กระเทียม พริกไทอย่างละ1 ส่วน ปลาช่อนย่าง 1 ส่วน ผสมข้าวสุกคลุกไข่อบแห้ง 1 ส่วน ให้กินวันละ 2 มื้อ
ยาบำรุงธาตุ
ประกอบด้วย เปลือกตะโกนา ขิงแห้ง ว่านน้ำ ใบตำลึง เปลือกแคอย่างละ 1 ส่วน นำตัว ยาทั้งหมดใส่หม้อเติมน้ำพอท่วม ต้มเคี่ยวประมาณ 15 นาที นำน้ำยาที่ได้ให้ไก่กินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า- เย็น
ยาถ่ายพยาธิ
สูตรที่ 1 ประกอบด้วย หัวไพล 2 ส่วน ขมิ้นชัน 1 ส่วน กะเม็ง 1 ส่วน หมากดิบ 1 ส่วน กะปิ 1ส่วน มะขามเปียก 1ส่วน บดหรือตำให้ละเอียดผสมกันให้ไก่กินก่อนอาหารจนกว่าจะถ่ายหมด
สูตรที่ 2 ประกอบด้วย หมากดิบ 1 ลูก มะขามเปียก 1 ก้อน ปลาทูนึ่ง 1 ชิ้น นมผง 1ส่วน ตำหรือบดให้เข้ากันกินตอนเช้า 1 ก้อนให้กินน้ำมากๆ พอไก่ถ่ายพยาธิมาจุกก้นให้รีบดึงออก พยาธิจะติดออกมาเป็นพวงจนหมดท้อง สมุนไพรที่ใช้ในสัตว์จะมีสรรพคุณคล้ายคลึงกับที่ใช้ในคน เช่นใช้บระเพ็ดเป็นยาเจริญอาหารเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอื่นที่นำมาใช้ซึ่งสมุนไพรที่มีชื่อไปในทางบำรุงก็มักจะใช้เป็นยาบำรุงกำลังทั้งคนและสัตว์เช่น กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง กำลังช้างสารเป็นต้น เปลือกต้น นมนาง ใช้บำรุงวัวนม เป็นต้น ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การรักษาโรคที่เกิดขึ้น มีผลเสีย มากกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เพราะทำให้สิ้นเปลืองเวลาและค่ารักษา นอกจากนั้นยังสูญเสียสัตว์จากการตาย ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคต่างๆในสัตว์มีผลทำให้เกิดการตกค้างและการดื้อยา มีผลเสียต่อการใช้ยานั้นในวงการแพทย์ สำหรับคนซึ่งนำเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาบริโภค สมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์ควรนำมาพิจารณา หากสามารถหาสมุนไพรทีใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ
สูตรยาบำรุงกำลัง
สูตรที่ 1 ประกอบด้วย โสม เหง้ากระชาย พริกไทดำอย่างละ 1 ส่วน ปลาช่อนย่าง ป่น 3 ส่วน นกกระจอกย่างป่น 1 ส่วน ไวตามิน เกลือแร่ น้ำผึ้ง บดผสม ปั้นเป็นก้อนให้กินวันละ 2 มื้อ
สูตรที่ 2 ประกอบด้วย เปลือกตะโกนา 2 ส่วน กระชาย กระเทียม พริกไทอย่างละ1 ส่วน ปลาช่อนย่าง 1 ส่วน ผสมข้าวสุกคลุกไข่อบแห้ง 1 ส่วน ให้กินวันละ 2 มื้อ
ยาบำรุงธาตุ
ประกอบด้วย เปลือกตะโกนา ขิงแห้ง ว่านน้ำ ใบตำลึง เปลือกแคอย่างละ 1 ส่วน นำตัว ยาทั้งหมดใส่หม้อเติมน้ำพอท่วม ต้มเคี่ยวประมาณ 15 นาที นำน้ำยาที่ได้ให้ไก่กินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า- เย็น
ยาถ่ายพยาธิ
สูตรที่ 1 ประกอบด้วย หัวไพล 2 ส่วน ขมิ้นชัน 1 ส่วน กะเม็ง 1 ส่วน หมากดิบ 1 ส่วน กะปิ 1ส่วน มะขามเปียก 1ส่วน บดหรือตำให้ละเอียดผสมกันให้ไก่กินก่อนอาหารจนกว่าจะถ่ายหมด
สูตรที่ 2 ประกอบด้วย หมากดิบ 1 ลูก มะขามเปียก 1 ก้อน ปลาทูนึ่ง 1 ชิ้น นมผง 1ส่วน ตำหรือบดให้เข้ากันกินตอนเช้า 1 ก้อนให้กินน้ำมากๆ พอไก่ถ่ายพยาธิมาจุกก้นให้รีบดึงออก พยาธิจะติดออกมาเป็นพวงจนหมดท้อง สมุนไพรที่ใช้ในสัตว์จะมีสรรพคุณคล้ายคลึงกับที่ใช้ในคน เช่นใช้บระเพ็ดเป็นยาเจริญอาหารเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอื่นที่นำมาใช้ซึ่งสมุนไพรที่มีชื่อไปในทางบำรุงก็มักจะใช้เป็นยาบำรุงกำลังทั้งคนและสัตว์เช่น กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง กำลังช้างสารเป็นต้น เปลือกต้น นมนาง ใช้บำรุงวัวนม เป็นต้น ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การรักษาโรคที่เกิดขึ้น มีผลเสีย มากกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เพราะทำให้สิ้นเปลืองเวลาและค่ารักษา นอกจากนั้นยังสูญเสียสัตว์จากการตาย ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคต่างๆในสัตว์มีผลทำให้เกิดการตกค้างและการดื้อยา มีผลเสียต่อการใช้ยานั้นในวงการแพทย์ สำหรับคนซึ่งนำเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาบริโภค สมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์ควรนำมาพิจารณา หากสามารถหาสมุนไพรทีใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น