วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สูตรปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

สูตรสะสมตาดอก
ส่วนประกอบ
1. เศษพืชสด วัชพืช 1 ส่วน2. ผลไม้ดิบ 1 ส่วน3. ผลไม้สุก 2 ส่วน4. เมล็ดพืช / เมล็ดวัชพืช 2 ส่วน5. ซากสัตว์ 2 ส่วน6. หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ส่วน7. นมสด 1 ส่วน8. ไข่ทั้งเปลือก 1 ส่วน9. กากน้ำตาล 1 ส่วน10. น้ำมะพร้าว 1 ส่วน
วิธีทำ
1. นำวัสดุส่วนผสมที่เป็นพืช และซากสัตว์ทั้งหมดบดป่นละเอียด (น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง บรรจุลงในถังหมัก หรือภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ)2. นำกากน้ำตาล น้ำมะพร้าว หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น นมสด และไข่ทั้งเปลือกผสมให้เข้ากัน แล้วเททับลงบนวัสดุที่บดละเอียดแล้ว3. คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน 4. ปิดฝาถังหมักให้สนิท เก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 90 วัน
วิธีใช้
1. ผสมน้ำ 100 ลิตร : ปุ๋ย 200 ซีซี รดราดดิน
2. ผสมน้ำ 100 ลิตร : ปุ๋ย 100 ซีซี ฉีดพ่นใบ และลำต้น

สูตรเปิดตาดอก
ส่วนประกอบ
1. ดอกไม้ตูม พร้อมเกสร 10 ส่วน2. ผลไม้ดิบ 1 ส่วน3. ผลไม้สุก 10 ส่วน4. เมล็ดพืช 1 ส่วน5. ซากสัตว์ 10 ส่วน6. หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 5 ส่วน7. นมสด 5 ส่วน8. ไข่ทั้งเปลือก 5 ส่วน9. กากน้ำตาล 5 ส่วน10. น้ำมะพร้าว 5 ส่วน
วิธีทำ
1. นำวัสดุส่วนผสมทั้งหมดบดป่นละเอียด แล้วเทลงในถังหมัก
2. นำกากน้ำตาล น้ำมะพร้าว หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น นมสด และไข่ทั้งเปลือกผสมให้เข้ากัน แล้วเททับลงบนวัสดุที่บดละเอียดแล้ว
3. คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน4. ปิดฝาถังหมักให้สนิท เก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 90 วัน
วิธีใช้
1. ผสมน้ำ 100 ลิตร : ปุ๋ย 200 ซีซี รดราดดิน
2. ผสมน้ำ 100 ลิตร : ปุ๋ย 100 ซีซี ฉีดพ่นใบ และลำต้น

ปุ๋ยหมักแห้งอินทรีย์ชีวภาพชนิดผง
เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ มาผสมคลุกเคล้ากับขี้เถ้าแกลบ กากอ้อย รำข้าว และเศษซากพืชต่าง ๆ โดยใช้น้ำตาล และหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลาย เมื่อหมักและย่อยสลายสมบูรณ์แล้ว จะได้ปุ๋ยหมักแห้งอินทรีย์ชีวภาพที่มีคุณภาพ ซึ่งส่วนผสมต่าง ๆ สามารถดัดแปลงได้ตามวัดสุที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ
สูตรมูลสัตว์
ส่วนประกอบ

1. มูลสัตว์ 1 กระสอบ2. แกลบ เศษใบไม้ หรือซังข้าวโพด 1 กระสอบ3. ขี้เถ้าแกลบ 1 กระสอบ4. รำอ่อน 1 กระสอบ5. น้ำสะอาด 10 ลิตร (ถ้าวัตถุดิบแห้งมาก ก็สามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้)6. หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
วิธีทำ
1. นำมูลสัตว์ แกลบ ขี้เถ้าแกลบ และรำอ่อนมาผสมคลุกเคล้าให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน2. ผสมน้ำ กับหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นให้เข้ากัน รดลงบนกองวัสดุ และทำการผสมให้เข้ากันจนมีความชื้นประมาณ 35% (โดยทดลองกำดู) จะสามารถเกาะกันเป็นก้อนได้ แต่ไม่เหนียวและเมื่อปล่อยทิ้งลงพื้นจากความสูงประมาณ 1 เมตร ก้อนปุ๋ยจะแตก แต่ยังมีรอยนิ้วมือเหลืออยู่3. คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ตักปุ๋ยใส่กระสอบ และมัดปากถุงให้แน่น4. กองกระสอบปุ๋ยซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ และควรวางกระสอบแต่ละตั้งให้ห่างกัน เพื่อให้ความร้อนสามารถระบายออกได้ทั้ง 4 ด้าน (เพื่อไม่ต้องกลับกระสอบทุกวัน)5. ทั้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ตรวจดูถ้ามีกลิ่นหอม และไม่มีไอร้อนก็สามารถนำไปใช้งานได้ และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน
วิธีใช้
ควรใช้ตั้งแต่ในขั้นตอนการเตรียมดิน โดยผสมคลุกเคล้ากับดินในแปลง เสร็จแล้วคลุมดินด้วยฟาง ใบไม้ หรือกิ่งไม้ และควรหมักดินทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงจะเริ่มลงมือปลูกพืช (ในกรณีที่เป็นนาข้าว พืชไร่ และพืชผัก)
อัตราการใช้1. นาข้าว 200 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่2. พืชไร่ พืชผัก 2 กำมือ ต่อ 1 ตารางเมตร3. ไม้ยืนต้น พืชสวน 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตร
ข้อแนะนำในการใช้ปุ๋ยหมักแห้งอินทรีย์ชีวภาพให้ได้ผลดีนั้น หลังจากหว่านหรือคลุกผสมปุ๋ยหมักแห้งกับดินแล้ว ควรคลุมด้วยด้วยฟาง เศษหญ้า หรือเศษใบไม้ต่าง ๆ จากนั้นใช้ปุ๋ยน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพรดราดลงไป ในอัตราส่วน 1 : 200 จะช่วยให้ดินร่วนซุย และฟูขึ้น ทำให้รากพืชเติบโตได้ดี
ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชนิดเม็ด
จุดประสงค์ของการปั้นเม็ดก็เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา สะดวกต่อการเก็บและการใช้งาน โดยการทำปุ๋ยเม็ดนั้นจะต้องมีอุปกรณ์ และเครื่องจักรกลเจ้ามาเพิ่มเติม จึงไม่สามารถที่จะทำในระดับครัวเรือนได้ เพราะลงทุนสูงโดยไม่จำเป็น
ส่วนประกอบ1. ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ (ชนิดผง) 700 กิโลกรัม2. มูลไก่/มูลวัว/มูลค้างคาว 100 กิโลกรัม3. ดินฟอสเฟต 200 กิโลกรัม4. ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสูตรหอย กุ้ง ปู 30 ลิตร5. ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสูตรหญ้า ข้าว มูลไก่ 20 ลิตร6. น้ำสะอาด 50 ลิตร

วิธีทำ
1. นำปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ มูลสัตว์ ดินฟอสเฟต มาบดให้ละเอียด2. ผสมปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสูตรหอย กุ้ง ปู, สูตรหญ้า ข้าว มูลไก่ และ น้ำสะอาดคนให้เข้ากัน3. นำปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ มูลสัตว์ และดินฟอสเฟตที่บดละเอียดแล้วมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน4. เอาส่วนผสมทั้งอย่างแห้ง และอย่างน้ำมาผสมกันให้มีความชื้นพอเหมาะสำหรับการปั้นเม็ด5. นำส่วนผสมที่ได้เข้าเครื่องปั้นเม็ดปุ๋ย และอบแห้งด้วยความร้อนประมาณ 40-60 องศาเซลเซียส จนมีความชื้นประมาณร้อยละ 9-126. บรรจุปุ๋ยเม็ดอินทรีย์ชีวภาพลงกระสอบ เพื่อนำไปเก็บ (ควรเก็บไว้ในที่ร่ม อากาศแห้ง และถ่ายเทสะดวก)
อัตราการใช้1. นาข้าว 50 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่2. พืชไร่ พืชผัก 100-200 กรัม ต่อ 1 ตารางเมตร3. ไม้ยืนต้น พืชสวน 100-200 กรัม ต่อ 1 ตารางเมตร
ข้อแนะนำในการใช้ปุ๋ยหมักแห้งอินทรีย์ชีวภาพให้ได้ผลดีนั้น หลังจากหว่านหรือคลุกผสมปุ๋ยหมักแห้งกับดินแล้ว ควรคลุมดินด้วยฟาง เศษหญ้า หรือเศษใบไม้ต่าง ๆ จากนั้นใช้ปุ๋ยน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพรดราดลงไป ในอัตราส่วน 1 : 200 จะช่วยให้ดินร่วนซุย และฟูขึ้น ทำให้รากพืชเติบโตได้ดี

“ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ” หมายถึง สารธรรมชาติที่ได้จากกระบวนการหมักบ่ม วัตถุดิบจากธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งพืช และสัตว์จนสลายตัวสมบูรณ์เป็นฮิวมัส วิตามิน ฮอร์โมน และสารธรรมชาติต่าง ๆ (ดินป่า) ซึ่งเป็นทั้งอาหารของดิน (สิ่งมีชีวิตในดิน) ตัวเร่งการทำงาน (catalize) ของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน และอาศัยอยู่ปลายรากของพืช (แบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส และเชื้อรา ฯลฯ) ที่สามารถสร้างธาตุอาหารกว่า 93 ชนิดให้แก่พืช

เทคนิคการทำปุ๋ยอินทรีย์
สูตรหญ้าผสมขี้ไก่
ส่วนประกอบ หญ้าสด 50 กิโลกรัม ขี้ไก่ 5 กิโลกรัม (ควรเลือกไก่ที่ไม่กินยาปฏิชีวนะ เพราะจะทำให้มีกลิ่นเหม็นเน่า และเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ในดิน และที่ปลายรากพืช)

วิธีทำ

1.นำหญ้าสด 10 กิโลกรัม ใส่ลงในถังหมักพลาสติกขนาด 200 ลิตร ย่ำให้แน่น (จะสูงประมาณ 20 ซม.
2.โรยขี้ไก่หมาด ๆ 1 กิโลกรัม ทับลงบนหญ้า
3.ทำซ้ำเช่นเดิมอีก 4 ชั้น
4.ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม
5.บ่มไว้ประมาณ 45 วัน ขึ้นไป จะได้ปุ๋ยน้ำเข้มข้น คุณภาพดี

วิธีใช้
1. ผสมน้ำ 1:200-500 รดราดดิน
2. ผสมน้ำ 1:300-1,000 ฉีดพ่นลำต้นและใบ
สูตรเศษอาหาร (ปุ๋ยคน)

ส่วนประกอบ
1.เศษอาหารในครัวเรือนทุกชนิดรวมทั้งน้ำแกง น้ำพริก เปลือกผลไม้ เปลือกหอย เปลือกกุ้ง ก้างปลา หัวปลา น้ำยาล้างจาน เป็นต้น จำนวน 3 กิโลกรัม
2.น้ำตาลแดง หรือกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
3.น้ำสะอาด 1-10 ลิตร (แล้วแต่เศษอาหารมีน้ำมากหรือไม่)
4.หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร

วิธีทำ
1.นำเศษอาหาร 3 กก. ใส่ลงในถังพลาสติก
2.ผสมน้ำกับน้ำตาลให้เข้ากัน เป็นเนื้อเดียวกัน
3.เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นในน้ำ และน้ำตาล
4.เททับลงในถังที่ใส่เศษอาหารให้ทั่ว ๆ
5.ปิดฝาให้สนิท (ไม่ให้แสงและอากาศเข้าได้)
6.บ่มทิ้งไว้ประมาณ 90 วัน จะได้ปุ๋ยน้ำคุณภาพดี กลิ่นหอม รสเปรี้ยว (pH ประมาณ 3 )
หมายเหตุ : ปริมาณส่วนผสมต่าง ๆ ปรับได้ตามส่วน
วิธีใช้
1.ผสมน้ำ 1:100-400 รดราดโคน
2.ผสมน้ำ 1: 200-1,000 ฉีดพ่นลำต้น และใบ
สูตรพืชผัก

ส่วนประกอบ
1.เศษพืชผักผลไม้ทุกชนิด 3 กิโลกรัม
2.น้ำตาลแดง หรือกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
3.น้ำสะอาด 10 ลิตร
4.หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
วิธีทำ
1.สับ และนำเศษผักผลไม้ ใส่ลงในถังพลาสติก
2.ผสมน้ำกับน้ำตาลให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
3.เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น ผสมลงในน้ำ และน้ำตาล
4.เททับลงบนเศษผักผลไม้ในถังให้ทั่ว
5.ใช้ไม้ไผ่ขัดกดให้เศษผักจมน้ำ
6.ปิดฝาให้สนิท ไม่ให้แสงและอากาศเข้า
7.บ่มทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 90 วัน เป็นอย่างน้อย ก็จะได้ปุ๋ยน้ำคุณภาพดี กลิ่นหอม และรสเปรี้ยว (pH 3.3) เหมาะสำหรับรดพืชผักทุกชนิด

หมายเหตุ : ถ้าต้องการรดผักชนิดไหน ให้ใช้ผักชนิดนั้นหมักเป็นหลัก ร่วมกับพืชผักหรือวัชพืชที่ชอบกับผักชนิดนั้น
วิธีใช้
1.ผสมน้ำ 1:100 รดราดดิน
2.ผสมน้ำ 1:200-400 ฉีดพ่นใบ และลำต้น
สูตรหอยเชอรี่ หรือสูตรปลา

ส่วนประกอบ
1.หอยเชอรี่ หรือปลาสด 3 กิโลกรัม
2.น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
3.น้ำสะอาด 10 ลิตร
4.หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร

วิธีทำ
1.นำหอยเชอรี่ หรือปลามาสับ ทุบ หรือ บด ให้พอแหลก
2.ผสมน้ำ น้ำตาล และหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันแล้วเททับลงบนหอยเชอรี่ หรือปลาในถัง
3.ใช้ไม้ไผ่ขัดกดให้หอยเชอรี่ หรือปลาจมลงในน้ำ
4.ปิดฝาให้สนิทไม่ให้แสง และอากาศเข้า บ่มทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 90 วันเป็นอย่างน้อย
หมายเหตุ : ไม่ควรใช้สูตรหอยเชอรี่ หรือสูตรปลากับพืชเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้ต้นไม้แคระแกรน ควรใช้ร่วมกับสูตรพืชผักหรือสูตรสมุนไพรด้วย

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งด้วยจุลินทรีย์ (โบกาฉิ)


การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งด้วยจุลินทรีย์ (โบกาฉิ)คืออะไร
การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งคือ การนำ EM มาหมักกับอินทรีย์วัตถุเป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพให้มีจำนวนมากขึ้นแข็งแรงขึ้น และฟักตัวอยู่ในอินทรีย์วัตถุเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก และยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย
ส่วนผสม
1. มูลสัตว์แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ
2. แกลบดิบ หรือฟางแห้ง หรือหญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง หรือผักตบชวาแห้ง หรือขี้เลื่อย 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือมันสำปะหลังป่น หรือคายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM+กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน
วิธีทำ
1. คลุกรำละเอียดกับมูลสัตว์ที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน
2. นำแกลบดิบหรือวัสดุที่ใช้แทนจุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM+กากน้ำตาลไว้ ช้อนเอามาคลุกกับรำ
และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้วคลุกส่วนผสม ทั้งหมดให้เข้ากัน
3. ความชื้นให้ได้ 40-50% สังเกตจากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกตาม
ง่ามนิ้วมือ และแตกเมื่อคลายมือออก หรือ แตกออกเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
4. นำส่วนผสมใส่ลงในกระสอบ หรือถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ที่อากาศถ่ายเทได้ ปริมาณ 3/4
ของกระสอบแล้วมัดปากกระสอบให้แน่น พลิกกระสอบทุกวันครบ 6 ด้าน วันที่ 2-3 จับ
กระสอบดูจะร้อนอุณหภูมิประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส วันที่ 4-5 จะค่อย ๆ เย็นลงจน
อุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดูจะได้ปุ๋ยแห้งร่วนนำไปใช้ได้
การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งด้วยจุลินทรีย์ (โบกาฉิ)คืออะไร
การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งคือ การนำ EM มาหมักกับอินทรีย์วัตถุเป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพให้มีจำนวนมากขึ้นแข็งแรงขึ้น และฟักตัวอยู่ในอินทรีย์วัตถุเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก และยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย
ส่วนผสม
1. มูลสัตว์แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ
2. แกลบดิบ หรือฟางแห้ง หรือหญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง หรือผักตบชวาแห้ง หรือขี้เลื่อย 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือมันสำปะหลังป่น หรือคายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM+กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน
วิธีทำ
1. คลุกรำละเอียดกับมูลสัตว์ที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน
2. นำแกลบดิบหรือวัสดุที่ใช้แทนจุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM+กากน้ำตาลไว้ ช้อนเอามาคลุกกับรำ
และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้วคลุกส่วนผสม ทั้งหมดให้เข้ากัน
3. ความชื้นให้ได้ 40-50% สังเกตจากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกตาม
ง่ามนิ้วมือ และแตกเมื่อคลายมือออก หรือ แตกออกเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
4. นำส่วนผสมใส่ลงในกระสอบ หรือถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ที่อากาศถ่ายเทได้ ปริมาณ 3/4
ของกระสอบแล้วมัดปากกระสอบให้แน่น พลิกกระสอบทุกวันครบ 6 ด้าน วันที่ 2-3 จับ
กระสอบดูจะร้อนอุณหภูมิประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส วันที่ 4-5 จะค่อย ๆ เย็นลงจน
อุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดูจะได้ปุ๋ยแห้งร่วนนำไปใช้ได้

วิธีการใช้น้ำส้มควันไม้ผสมผงถ่านในอาหารสุกร ช่วยป้องกัน และลดอาการท้องร่วงในสุกรหย่านม


ในชนบทของไทยเกษตรกรส่วนใหญ่อาศัยพลังงานในการหุงต้มในรูปแบบของถ่านไม้ ที่ได้จากการตัดและเก็บฟืนในหัวไร่ ปลายนา ทั้งจากสวนไม้ผล และสวนหลังบ้าน ผลผลิตที่ได้มีเพียงถ่านไม้ ปล่อยควันให้ระบายออกทางปล่องควันโดยไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการคิดค้นเตาเผาไม้เพื่อเก็บควัน นอกจากจะเป็นการลดปริมาณก๊าซที่เป็นทั้งมลพิษและก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ จากกระบวนการเก็บควันนี้ สามารถนำควันไปควบแน่นให้เกิดเป็นหยดน้ำ เรียกกันว่า “น้ำส้มไม้ หรือน้ำส้มควันไม้ (wood vinegar หรือ pyroligneous acid)” ซึ่งเป็นผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ในทางการเกษตรเพื่อให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีเกษตร และสามารถเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ได้อีกด้วย
ในทางปศุสัตว์ สามารถนำน้ำส้มไม้มาใช้ฉีดพ่นไล่แมลงในคอกสัตว์ และนำมาผสมอาหารเลี้ยงสัตว์เพื่อดับกลิ่นในโรงเรือนได้ นอกจากนี้ น้ำส้มไม้ ยังช่วยทำให้การย่อยและการใช้ประโยชน์จากอาหารดีขึ้น และในปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เริ่มมีการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดเป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโต ดังนั้นการเสริมน้ำส้มไม้ในอาหารสัตว์จึงเป็นทางเลือกใหม่ในการนำมาทดแทนยาปฏิชีวนะ เนื่องจากน้ำส้มไม้มีส่วนประกอบเป็นกรดอินทรีย์หลายชนิด ที่มีฤทธิ์ในการช่วยย่อยอาหารของลูกสุกรหย่านมซึ่งยังมีระบบการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ และช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโทษในระบบทางเดินอาหารได้ และช่วยทำให้สุกรหลังหย่านมสามารถใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบอาหารสัตว์หลายชนิดได้ดีขึ้น
รายงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าการนำน้ำส้มไม้ที่ผ่านการกลั่นผสมในอาหารสัตว์สามารถช่วยป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ได้ อย่างไรก็ตามยังไม่ค่อยมีการศึกษาถึงการนำน้ำส้มไม้ที่ผลิตในชุมชน ซึ่งเป็นชนิดที่ไม่ได้ผ่านการกลั่นมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้นจึงมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางการนำน้ำส้มไม้ที่ผลิตในชุมชน มาใช้ประโยชน์จากอาหารสัตว์ได้ดีขึ้น ผลการศึกษาจะเป็นข้อมูลให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจในการเลือกใช้ เลือกที่จะผลิตเองเพื่อลดการใช้สารเคมีในอาหารสัตว์ และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของน้ำส้มไม้ที่ผลิตในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง
จากการศึกษาการใช้น้ำส้มควันไม้เสริมในอาหารสุกรหลังหย่านม พบว่าระดับที่เหมาะสมสำหรับการใช้น้ำส้มควันไม้เสริมอาหารสุกรหลังหย่านมคือ 0.2 – 0.6 เปอร์เซ็นต์ หรือใช้น้ำส้มควันไม้ผสมผงถ่านในสัดส่วน 1 ต่อ 4 ที่ระดับ 1- 3 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร จะช่วยป้องกัน และลดอาการท้องร่วงในสุกรหย่านม (สังเกตจากมูลสุกรแข็งเป็นก้อน) ซึ่งจะทำให้สุกรใช้ประโยชน์จากอาหารได้มากขึ้น น่าจะส่งผลดีต่อสุขภาพของสุกรหลังหย่านมซึ่งอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการผลิตสุกรอินทรีย์ต่อไป

วิธีการใช้น้ำส้มควันไม้ผสมผงถ่านในอาหารสุกร
ดำเนินการโดยผสมน้ำส้มควันไม้กับถ่านหุงต้มที่บด หรือตำให้ละเอียด (อาจได้จากการเผาถ่านจากเตาเผาถ่าน ผลิตน้ำส้มไม้เอง) ในสัดส่วน น้ำส้มควันไม้ต่อผงถ่าน 1 : 4 (อาจใช้สัดส่วนต่ำกว่านี้ ได้ เช่น 1 : 3 โดยดูว่าอย่าใช้ส่วนผสมชื้น หรือแฉะเกินไป) โดยทำการผสมในภาชนะให้เข้ากันดีก่อน จากนั้นนำไปผสมกับอาหารสุกรสำเร็จรูป หรืออาหารที่ผสมใช้เอง โดยใช้ในระดับ 1-3 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือทำการผสมดังนี้
- ถ้าจะใช้ส่วนผสมของน้ำส้มควันไม้ร่วมกับผงถ่าน 1 เปอร์เซ็นต์สูตรอาหาร หมายถึงถ้าจะผสมอาหารจำนวน 100 กิโลกรัม จะใช้ น้ำส้มควันไม้ร่วมกับผงถ่าน 1 กิโลกรัม ผสมกับอาหารที่ผสมแล้ว 99 กิโลกรัม
หมายเหตุ : กรณีใช้สัดส่วนน้ำส้มควันไม้ต่อผงถ่าน 1:4 ใช้น้ำส้มควันไม้ 200 กรัม หรือ 2 ขีดผสมกับ ผงถ่าน 800 กรัม หรือ 8 ขีด
: กรณีใช้สัดส่วนน้ำส้มควันไม้ต่อผงถ่าน 1:3 ใช้น้ำส้มควันไม้ 250 กรัม หรือ 2.5 ขีดผสมกับ ผงถ่าน 750 กรัม หรือ 7.5 ขีด
- ถ้าจะใช้ส่วนผสมของน้ำส้มควันไม้ร่วมกับผงถ่าน 3 เปอร์เซ็นต์สูตรอาหาร หมายถึงถ้าจะผสมอาหารจำนวน 100 กิโลกรัม จะใช้ น้ำส้มควันไม้ร่วมกับผงถ่าน 3 กิโลกรัม ผสมกับอาหารที่ผสมแล้ว 97 กิโลกรัม
หมายเหตุ : กรณีใช้สัดส่วนน้ำส้มควันไม้ต่อผงถ่าน 1:4 ใช้น้ำส้มควันไม้ 600 กรัม หรือ 6 ขีดผสมกับ ผงถ่าน 2.4 กิโลกรัม
: กรณีใช้สัดส่วนน้ำส้มควันไม้ต่อผงถ่าน 1:3 ใช้น้ำส้มควันไม้ 750 กรัม หรือ 7.5 ขีดผสมกับ ผงถ่าน 2.25 กิโลกรัม

ข้อแนะนำการเลือกใช้น้ำส้มควันไม้

การใช้น้ำส้มควันไม้ดิบที่ผลิตในท้องถิ่น ซึ่งมีการผลิตที่หลากหลาย และอาจไม่ได้มีการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานชุมชนน้ำส้มควันไม้ดิบ (มผช. 659/2547) จึงทำให้ได้น้ำส้มควันไม้ที่มีคุณภาพไม่คงที่ ดังนั้นการนำมาใช้ประโยชน์ควรมีการตรวจสอบคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานดังกล่าวซึ่งแสดงในตารางที่ 1


ตารางที่ 1 สมบัติของน้ำส้มไม้ที่ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
คุณลักษณะที่ต้องการ
น้ำส้มไม้ดิบ (มผช. 659/2547)
น้ำส้มไม้กลั่น (มผช. 660/2547)
ลักษณะทั่วไป
ต้องเป็นของเหลวใส สีน้ำตาลแดงหรือสีเหลือง อมน้ำตาล เป็นเนื้อเดียวกันไม่แยกชั้น ตกตะกอน มีสิ่งแปลกปลอมหรือมีสารแขวนลอย
ต้องเป็นของเหลวใส สีน้ำตาลอ่อนหรือสีเหลืองอ่อน เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกชั้น ตกตะกอน มีสิ่งแปลกปลอมหรือมีสารแขวนลอย กลิ่นต้องมีกลิ่นเหมือนควันไฟ ต้องมีกลิ่นเหมือนควันไฟ
การเปลี่ยนสี ต้องไม่เปลี่ยนเป็นสีดำ ต้องไม่เปลี่ยนเป็นสีดำ ความเป็นกรด-ด่าง ต้องอยู่ระหว่าง 2.8-3.7
ต้องอยู่ระหว่าง 1.5-2.8 ความถ่วงจำเพาะ ต้องไม่น้อยกว่า 1.005 ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
ต้องไม่น้อยกว่า 1.001 ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สมรักสมรส

สมรัก สมรส กับ ความผิดทางอาญาฐานพรากผู้เยาว์
ในฉบับนี้คุยกันเรื่องการสมรสบ้าง ในทางกฎหมาย การสมรส คือการจดทะเบียนกันระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเท่านั้น ชายจะมาสมรสกับชายด้วยกัน หรือหญิงสมรสกับหญิง นั้นไม่ได้ การสมรสจึงมีหลักเกณฑ์
ดังนี้คือ
๑. การสมรสจะมีได้ก็ต่อเมื่อ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงอายุ ครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์ และถ้าหากว่าอายุยังไม่ถึง
๒๐ ปีบริบูรณ์ การจะจดทะเบียนสมรสต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองเสียก่อน
๒. คู่สมรสต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถ คำว่า วิกลจริต คือ จิตวิกลฟั่นเฟื่องไม่สมประกอบ หากทายาทยื่นคำร้องต่อศาลแล้วศาลมีคำสั่ง คนวิกลจริตจะเรียกว่าคนไร้ความสามารถในทางกฎหมาย
๓. ต้องไม่เป็นทายาทสืบสายโลหิตเดียวกัน ได้แก่ พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลูก หลาน เหลน และต้องไม่เป็น
พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน เพราะอาจมีผลทำให้เกิดความเสื่อมทางพันธุกรรมได้
๔. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
๕. ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนยังมีคู่สมรสไม่ได้ หรือห้ามทำการสมรสซ้อน ในเงื่อนไขนี้หมายถึง เมื่อคุณยังจดทะเบียนสมรสกับผู้ใดแล้วจะไปสมรสกับผู้อื่นอีกไม่ได้ หากจดทะเบียนสมรสซ้อน กฎหมายถือว่า การจดทะเบียนสมรสครั้งที่สองเป็นโมฆะ ตั้งแต่วันที่จดทะเบียน ผู้มีส่วนได้เสีย หรือภริยาคนที่
จดทะเบียนสมรสครั้งแรก มีสิทธิฟ้องศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสมรสครั้งหลังได้ เช่นเดียวกันหญิงที่
จดทะเบียนสมรสซ้อนก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลของเพิกถอนการจดทะเบียนซ้อนได้ ไม่ว่าในการจดทะเบียนนั้นจะรู้ว่าเป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อนหรือไม่ก็ตาม
๖. หญิงหม้ายที่สามีตาย หรือหย่ากับสามีจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อขาดจากการสมรสเดิมแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เหตุที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้เพราะ ป้องกันปัญหาว่า บุตรที่เกิดมาจะเป็นบุตรของสามีคนเดิมหรือคนใหม่ แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นให้มีการทำการสมรสได้ในระหว่าง ๓๑๐ วัน ในกรณี
· มีการคลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น เพราะเมื่อคลอดบุตร บุตรที่คลอดย่อมเป็นบุตรที่เกิดจากสามีเดิม
· สมรสกับคู่สมรสเดิม
· มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
· ศาลมีคำสั่งให้มีการสมรสกันได้
เมื่อพร้อม คู่สมรสสามารถไปจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานทะเบียน ณ เขต อำเภอ ใดก็ได้
มีคำถามมาว่าถ้าหากหญิงหรือชายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอายุต่ำกว่า ๑๗ ปี จะจดทะเบียนสมรสกันได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ได้ ถ้ามีเหตุสมควร เช่น ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ ก่อนอายุ ๑๗ ปี สามารถยื่นคำร้องต่อศาล หากศาลเห็นสมควรก็จะอนุญาตตามคำขอ ผู้ร้องก็จะนำเอาสำเนาคำสั่งศาลไปเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อขอจดทะเบียนสมรสตามคำสั่ง แต่การขอทำการสมรสก่อนอายุ ๑๗ ปี หญิงจะต้องมีอายุเกินกว่า ๑๓ ปีขึ้นไป ถ้าอายุต่ำกว่านั้นชายที่ร่วมประเวณีด้วยจะมีความผิดทางอาญาฐานพรากผู้เยาว์ แม้ว่าหญิงจะยินยอมก็ตาม
มีเรื่องราวทางกฎหมาย พบเจอคนหัวหมอ เขียนจดหมายมาจ้อกับเรายินดีตอบทุกคำถามส่งจดหมายของท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์เสรีชนนิวส์ เลขที่ ๕๗/๒๗ ถ.พระองค์ดำ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ๖๕๐๐๐ หรือ ทาง E-Mail : inn_radio@hotmail.com พบกันฉบับหน้ามีเรื่องราวดีๆ กับคนหัวหมอ ในคอลัมป์ ทนายคลายทุกข์ชาวบ้าน และสามารถติดตามรับฟังรายการสดในรายการ ร่วมด้วยช่วยกัน FM ๑๐๒.๒๕ MHz. ช่วงหมอกฎหมายทนายชาวบ้านออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น.รวมทั้งผ่านทางwww.rd1677.com/rd_pitsanulok/index.php พบกันใหม่ฉบับหน้า
สวัสดีครับ

การฟ้องคดีศาลปกครอง ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๒ การฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครอง
เมื่อฉบับที่แล้วได้พูดถึงบทบาทหน้าที่ของศาลปกครองว่าศาลปกครองคืออะไร ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่อย่างไรบ้าง ฉบับนี้เรามาทำความเข้าใจในการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครอง ว่าใครเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองและรูปแบบการเขียนคำฟ้องเป็นอย่างไร
ผู้มีสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๔๒ กำหนดว่าผู้ที่มีสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น จะต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นโดยอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือข้อยุติโต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา ๗๒
คำขอที่ประสงค์ให้ศาลออกคำบังคับตามมาตรา ๗๒ นั้น หมายถึงคำบังคับที่ศาลปกครองมีอำนาจบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
๑. สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่ง หรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
๒. สั่งหัวหน้าหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
๓. สั่งให้ใช้เงิน หรือส่งมอบทรัพย์สิน หรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการโดยจะต้องกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขอื่นๆ ไว้ด้วยก็ได้ ในกรณีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
๔. สั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือเจ้าหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่มีการฟ้อง ให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่ของสิทธิหรือหน้าที่นั้น
๕.สั่งให้บุคคลกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
คำขอที่ศาลปกครองไม่สามารถออกคำบังคับได้ เช่น ส่งให้ลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และคำขอที่ให้ศาลออกคำบังคับนั้น จะต้องสอดคล้องกับการกระทำอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีด้วย


การเตรียมคำฟ้อง
ผู้ที่ประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จะต้องเขียนคำฟ้อง ซึ่งคำฟ้องนั้นไม่มีแบบฟอร์มบังคับ แต่ต้องทำเป็นหนังสือและเขียนด้วยถ้วยคำสุภาพประกอบด้วย ๕ ส่วน ดังนี้
๑. ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีจะต้องระบุชื่อและที่อยู่ของตนให้ชัดเจน และเป็นที่อยู่ที่ศาลปกครองสามารถติดต่อกับผู้ฟ้องคดีได้ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารในกรณีต่างๆ เช่น การนัดหมายไต่สวน การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง การให้จัดทำคำคัดค้านคำให้การ การจัดส่งเอกสาร การขอเอกสารเพิ่มเติม และการนัดหมายอื่นๆ เป็นต้น
๒. ชื่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีจะต้องระบุให้ชัดเจนในคำฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นเหตุให้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายที่ตนประสงค์จะฟ้องนั้นคือหน่วยงานใด หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐคนใด(ระบุตำแหน่ง)อยู่ที่หน่วยงานใด
๓. การกระทำอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีพร้อมทั้งข้อเท็จจริงและพฤติกราณ์ที่เกี่ยวข้อง
ผู้ฟ้องคดีจะต้องเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำและข้อเท็จจริงของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำให้ตนเดือดร้อนหรือเสียหายและเป็นเหตุให้ต้องมาฟ้องคดีโดยต้องเขียนให้ชัดเจนและเรียงลำดับตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
๔. คำขอว่าประสงค์จะให้ศาลปกครองมีคำสั่งหรือพิพากษาคดี
ผู้ฟ้องคดีจะต้องเขียนคำขอท้ายคำฟ้องด้วยคำขอเป็นข้อความแสดงความต้องการของผู้ฟ้องคดีว่าประสงค์ให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาคดี หรือมีคำสั่งอย่างไร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่ได้รับซึ่งคำขอนั้นต้องเป็นคำขอที่ศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับได้ตามรายละเอียดที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น
๕. ลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีจะต้องลงลายมือชื่อของตนในคำฟ้องด้วย จะเห็นว่าการฟ้องคดีต่อศาลปกครองไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก การเขียนคำฟ้องก็ไม่เป็นรูปแบบบังคับเขียนง่ายๆ เน้นความสะดวดเรียบง่าย ตามข้อเท็จจริงที่เราได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย ฉบับหน้าจะนำตัวอย่างการเขียนคำฟ้องเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งการยื่นฟ้องคดีจะฟ้องอย่างไร และจะยื่นฟ้องที่ศาลปกครองไหน
มีเรื่องราวทางกฎหมาย พบเจอคนหัวหมอ เขียนจดหมายมาจ้อกับเรายินดีตอบทุกคำถามส่งจดหมายของท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์เสรีชนนิวส์ เลขที่ ๕๗/๒๗ ถ.พระองค์ดำ ต.ในเมือง อ.เมืองจ.พิษณุโลก ๖๕๐๐๐ หรือ ทาง E-Mail : inn_radio@hotmail.com พบกันฉบับหน้ามีเรื่องราวดีๆ กับคนหัวหมอ ในคอลัมป์ ทนายคลายทุกข์ชาวบ้าน และสามารถติดตาม รับฟังรายการสดในรายการร่วมด้วยช่วยกัน FM ๑๐๒.๒๕ MHz. ช่วงหมอกฎหมายทนายชาวบ้าน ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ น. วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. รวมทั้งผ่านทาง www.rd1677.com เลือกภาคเหนือ เลือกที่จังหวัดสุโขทัย

สวัสดีครับ
นายคดีปกครอง

ศาลปกครองคืออะไร


ฉบับประจำเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ในฉบับนี้ผมแนะนำ ผู้เขียนอีกท่านที่จะนำเรื่องราวข่าวสารทางปกครอง ในคดีปกครองมาให้ท่านได้รู้บ้างกับ นายคดีปกครอง
ศาลปกครองคืออะไร
ในปัจจุบันนี้ ประชาชนอาจจะรู้สึกสับสนว่า กรณีเกิดข้อพิพาท และจำเป็นจะต้องฟ้องคดีต่อศาลแล้วจะไปฟ้องคดีที่ศาลไหน เพราะประเทศไทยมีระบบศาล ๔ ศาล คือ ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลทหาร และระบบศาลยุติธรรม ก็ยังแบ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษอีกหลายศาล และโดยเฉพาะศาลปกครองเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่หากจะฟ้องคดีที่ศาลปกครองนั้น คดีประเภทไหนบ้างที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ “ศาลปกครอง” ซึ่งหลายๆ ท่านอาจจะรู้จักมาแล้วจากสื่อมวลชนหรืออาจจะเคยไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้ว แต่เชื่อว่าหลายๆ
ศาลปกครอง เป็นองค์กรฝ่ายตุลาการที่จัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ ศาลปกครองแบ่งออกเป็น ๒ ชั้นศาล คือ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นนั้นประกอบด้วยศาลปกครองกลางซึ่งตั้งอยู่กรุงเทพมหานคร และศาลปกครองในภูมิภาค ปัจจุบันเปิดทำการแล้ว ๗ แห่ง คือ ศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลปกครองพิษณุโลก ศาลปกครองขอนแก่น ศาลปกครองนครราชสีมา ศาลปกครองระยอง ศาลปกครองสงขลา และศาลปกครองนครศรีธรรมราช
ศาลปกครองมีหน้าที่อย่างไร
ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำ หรือการละเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและเป็นคดีปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่งแห่งราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ ดังนี้
๑.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอน หรือโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
๒.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า
๓.คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
๔.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
๕.คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำ หรือละแว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
๖.คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
มาถึงตอนนี้ เราคงจะทราบแล้ว่าศาลปกครองคืออะไร และคดีประเภทไหนบ้างที่ต้องฟ้องต่อศาลปกครอง และเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นและจำเป็นต้องฟ้องคดีต่อศาล คิดว่าคงไม่ฟ้องผิดศาลนะครับ ฉบับหน้าเรามาทำความเข้าใจถึงผู้ที่มีสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และมีขั้นตอนในการฟ้องอย่างไร
มีเรื่องราวทางกฎหมาย พบเจอคนหัวหมอ เขียนจดหมายมาจ้อกับเรายินดีตอบทุกคำถามส่งจดหมายของท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์เสรีชนนิวส์ เลขที่ ๕๗/๒๗ ถ.พระองค์ดำ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ๖๕๐๐๐ หรือ ทาง E-Mail : inn_radio@hotmail.com พบกันฉบับหน้ามีเรื่องราวดีๆ กับคนหัวหมอ ในคอลัมป์ ทนายคลายทุกข์ชาวบ้าน และสามารถติดตามรับฟังรายการสดในรายการร่วมด้วยช่วยกัน FM 92.50 MHz. ช่วงหมอกฎหมายทนายชาวบ้าน ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ น. วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. รวมทั้งผ่านทาง www.rd1677.com เลือกภาคเหนือ เลือกที่จังหวัดสุโขทัย
- สวัสดีครับ -
นายคดีปกครอง