วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552

การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย


เชื้อราบิวเวอร์เรีย เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงได้หลายชนิด โดยเฉพาะเพลี้ยต่างๆ เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน และหนอศัตรูพืช โรคเชื้อราจะสร้างเส้นใยและสปอร์สีขาวเข้าทำลายแมลงศัตรูพืช เป็นการลดต้นทุนการผลิตใช้แทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียเมื่อฉีดพ่นตกไปที่ผนังลำตัวของแมลง ที่มีความชื้นเหมาะสม สปอร์ก็จะงอกก้านชูสปอร์ แทงทะลุผ่านลำตัวแมลงเข้าไปในช่องว่างภายในลำตัวแมลง หลังจากนั้นเชื้อราจะเจริญเพิ่มปริมาณเป็นเส้นใยท่อนสั้น ๆ เซลล์เม็ดเลือดในตัวแมลงก็จะถูกทำลาย ทำให้เลือดที่อยู่ในตัวแมลงมีน้อยลง แต่เชื้อรากลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มช่องว่างของตัวแมลง ทำให้แมลงเป็นอัมพาตและตายในที่สุด หลังจากแมลงตายเชื้อราจะแทงก้านชูสปอร์ทะลุผ่านลำตัวออกมาภายนอก แล้วสร้างสปอร์ ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ในธรรมชาติ เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะ
อุปกรณ์ที่ใช้ผลิต
1. หัวเชื้อราบิวเวอร์เรีย
2. หม้อนึ่งความดันแบบลูกทุ่ง ใช้ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร
3. ถุงพลาสติกทนความร้อนขนาด 6*12 นิ้ว
4. เมล็ดข้าวโพด
5. ตู้เขี่ยเชื้อพร้อมอุปกรณ์ (เข็มเขี่ยเชื้อ, แอลกอฮอร์, สำลี, ตะเกียง, กระบอกฉีดน้ำ)
6. เตาแก๊ส
7. คอขวด
8. ยางวงเล็ก
9. ขี้ฝ้าย
10. กระดาษหนังสือพิมพ์
วิธีการผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย
1. นำเมล็ดข้าวโพดแช่น้ำค้างคืนไว้ 1 คืน (หรือประมาณ 12 ชั่วโมง)
2. นำเมล็ดข้าวโพดที่แช่น้ำแล้ว นำมาต้มเพื่อฆ่าเชื้อประมาณ 15 นาที
3. นำเมล็ดข้าวโพดที่ต้มแล้งพึ่งลมเพื่อคลายความร้อน
4. น้ำเมล็ดข้าวโพดบรรจุลงในถุงพลาสติกทนความร้อน ความจุประมาณถุงละ ½ กิโลกรัม แล้วนำคอขวดรัดถุงพลาสติกไว้ จากนั้นให้นำขี้ฝ้ายอัดรูปากถุงไว แล้วนำกระดาษปิดปากถุงรัดด้วยยางวงเล็ก
5. นำถุงเมล็ดข้าวโพดใส่ถุงหม้อนึ่ง ความดันแบบลูกทุ่ง นึ่งประมาณ 3 ชั่วโมง
6. นำถุงข้าวโพดที่นึ่งแล้วออกจากถัง เพื่อลดความร้อนให้อุ่นพอประมาณ
7. ทำความสะอาดตู้เขี่ยเชื้อโดยใช้แอลกอฮอร์ นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่ผึ่งแล้วเข้าไปในตู้เขี่ยเชื้อเพื่อจะได้ดำเนินการเขี่ยเชื้อ
8. เมื่อเขี่ยเชื้อเสร็จแล้ว ให้นำถุงเมล็ดข้าวโพดออกจากตู้เขี่ยเชื้อ นำไปวางไว้ในที่ร่ม
9. หลังจากนั้น 7 วัน เชื้อราบิวเวอร์เรียจะเจริญเติมโตเต็มถุงก็บรรจุเมล็ดข้าวโพด พร้อมที่จะนำไปใช้ได้แล้ว

การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียควบคุมศัตรูพืช
1. เชื้อราบิวเวอร์เรีย 1-2 กก./น้ำ 20 ลิตร โดยแบ่งน้ำออกเป็น 2 ส่วน
2. นำน้ำส่วนที่ 1 จำนวน 5 ลิตร พร้อมกับเชื้อราบิวเวอร์เรียจำนวน 1-2 กก. เพื่อให้เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดแล้วกรองด้วยผ้าบาง ๆ
3. นำน้ำส่วนที่ 2 จำนวน 15 ลิตร ผสมกับสารจัมโบ้ คนให้เข้ากัน
4. นำน้ำที่ได้จากข้อ 2 และ ข้อ 3 มาผสมให้เข้ากันและคน
5. นำไปฉีดพ่นในแปลงที่พบเพลี้ยหรือหนอน โดยใช้ฉีดพ่นในช่วงที่มีความชื้นสูง (ช่วงเวลาเย็นที่มีแสงแดดอ่อน ๆ หรือตอนเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น)
6. ควรปรับหัวฉีดให้พ่นอย่างละเอียดฉีดได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น
7. สามารถตรวจสอบผลการควบคุมศัตรูพืชได้หลังจากใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียไปแล้ว 1-3 วัน

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552

การทำมะนาวนอกฤดู


การผลิตมะนาวนอกฤดู

มะนาวนอกฤดูจะมีราคาช่วงเดือนธันวาคม- เมษายน ในทุกๆ ปี

เดือนพฤษภาคมเป็นระยะที่มะนาวมีการแตกกิ่งก้านออกมาใหม่

- ป้องกันกำจัดโรคแมลงอย่างสม่ำเสมอ ในระยะนี้จะมีหนอนชอนใบระบาดมาก ซึ่งจะทำให้มีการระบาดของโรคแคงเกอร์ตามมาด้วย

- ผลที่ติดอยู่ในระยะนี้จะไปแก่ในระยะที่ราคาถูก ควรทำการปลิดผลออกให้หมด

เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม- เลือกเก็บเกี่ยวผลที่แก่ตามฤดูกาลปกติไปจำหน่าย

- ป้องกันกำจัดโรคแมลงอย่างสม่ำเสมอ

- ในช่วงเดือนกรกฎาคม ให้ตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง

- ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ปริมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นต้นที่สมบูรณ์ใบจะมีขนาดใหญ่มีสีเขียวเข้ม ไม่มีอาการเหลืองซีด

เดือนสิงหาคม

- ราดสารเคมี เพื่อกระตุ้นการออกดอกนอกฤดูวิธีเตรียมสาร (สำหรับราดต้นมะนาวจำนวนมาก) เพื่อให้ได้อัตราเนื้อสาร 1.5 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร1. ตวงน้ำใส่ถัง 75 ลิตร2. ผสมสารพาโคลบิวทราโซล 1 กิโลกรัม (หรือ 1 ลิตร) ลงในน้ำที่ตวงไว้ ใช้ขวดน้ำขนาด 1 ลิตร ตวงน้ำที่ผสมสาร เพื่อนำไปราดต้นมะนาวอัตราเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มของต้นมะนาว 1 เมตร ต่อน้ำผสมสารแล้ว 1 ขวด ถ้ามีต้นมะนาวจำนวนไม่มาก ควรเตรียมสารเพื่อราดต้นมะนาวที่ละต้น เช่น ต้นมะนาวมีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร ให้ใช้สารพาโคลบิวทราโซล จำนวน 45 ซีซี หรือ 45 กรัม/น้ำ 2-3 ลิตร (เพื่อให้ได้เนื้อสารอัตรา 1.5 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร เช่นกัน) ราดสารลงที่โคนต้นมะนาวโดยรอบ หลังจากราดสารแล้วให้รดน้ำต้นมะนาวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้การดูดสารดีขึ้น เวลาราดสารควรเป็นช่วงที่ฝนไม่ตกมาแล้ว 2-3 วัน จะช่วยให้ต้นมะนาวดูดสารได้ดีขึ้นกว่าการราดสารขณะที่ฝนตกใหม่ๆ ปลิดผลมะนาวขนาดเล็กออกบ้างเพราะผลขนาดเล็กระยะนี้จะไปแก่ในช่วงที่ราคายังไม่ดี และจะทำให้การออกดอกใหม่ไม่ดีเท่าที่ควรกันยายนหลังจากราดสารแล้ว 1 เดือน ควรทำการควั่นกิ่งด้วยวิธีการเลือกกิ่งที่จะควั่น ดังนี้

1. เลือกกิ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 นิ้ว โดยใช้ลวดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 หุน (1/8 นิ้ว) รัดที่กิ่ง ใช้คีมบิดลวดจนเปลือกไม้ยุบตัวถึงเนื้อไม้

2. ควั่นกิ่งประมาณ 3-5 กิ่ง (ไม่ควั่นหมดต้น ควรเหลือไว้ 2-3 กิ่ง)

3. ใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-50 อัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น หรือพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 อัตรา 80 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อน

4. เมื่อครบ 1 เดือนแล้วให้คลายขดลวดออกทิ้งไป ซึ่งจะตรงกับระยะที่ต้นมะนาวจะเริ่มออกดอกพอดีตุลาคมเป็นระยะ 2 เดือน หลังจากราดสารหรือ 1 เดือน หลังจากควั่นกิ่ง- ต้นมะนาวจะเริ่มออกดอก สังเกตดูว่าการออกดอกสม่ำเสมอทั้งต้นหรือไม่ ถ้ายังออกไม่สม่ำเสมอทั้งต้นควรเร่งการออกดอกด้วยการพ่นสารไธโอยูเรีย อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร (อย่าใช้อัตราสูงมากกว่านี้จะทำให้ใบร่วง) ควรพ่นในระยะไม่มีฝน- ป้องกันกำจัดโรคและแมลงในระยะนี้อย่างสม่ำเสมอ เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยหอยพฤศจิกายนเป็นระยะที่ดอกบาน- ไม่ควรพ่นสารเคมีในระยะดอกบานเป็นเวลา 10-15 วัน เพราะจะทำให้การผสมเกสรไม่ดี การติดผลน้อยลง- ศัตรูที่มีการระบาดในระยะนี้ ได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรแดง โรคแคงเกอร์ธันวาคมเป็นระยะที่ติดผลขนาดเล็ก- ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของผล- หากใบมีอาการเหลืองซีด ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบจะช่วยให้มีความสมบูรณ์ดีขึ้นมกราคม-มีนาคมระยะนี้ผลมีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ จะหยุดการเจริญเติบโตหลังติดผลแล้วประมาณ 4 เดือน ผลมีน้ำหนักมากขึ้นเกษตรกรสามารถเลือกเก็บผลออกไปจำหน่ายได้- ป้องกันกำจัดศัตรูมะนาวเป็นระยะ- ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและพอเพียงเมษายนเป็นระยะหลังจากติดผลแล้วประมาณ 5 เดือน- ผลส่วนใหญ่จะโตเต็มที่ สามารถเก็บเกี่ยวไปจำหน่ายได้ บางผลจะเริ่มเปลี่ยนสีผิวเป็นสีเหลืองและร่วงในที่สุด กรณีสีผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจะจำหน่ายไม่ได้ราคา- เมื่อเก็บเกี่ยวผลออกไปจำหน่ายแล้วเกษตรกรควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปริมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น และปุ๋ยคอก จำนวน 10 กิโลกรัม/ต้น หลังตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นมีการสร้างกิ่งก้านใหม่ รวมถึงเป็นการลดปริมาณดอกและผลขนาดเล็กที่เป็นผลผลิตในฤดูปกติได้อีกด้วย- สำหรับต้นที่มีอายุ 4 ปี ขึ้นไป ควรตัดแต่งกิ่งออกประมาณ 1ใน3 ของทรงพุ่ม เพื่อลดขนาดของทรงพุ่มลงรวมถึงกิ่งกระโดง กิ่งในร่ม กิ่งที่ถูกโรคแมลงทำลาย ควรตัดออกให้หมด โดยให้ทรงพุ่มโปร่ง

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552

ประกันภัยคุ้มครองคุณได้ "จ่ายปุ๊บคุ้มครองปั๊บ"


จ่ายปุ๊บคุ้มครองปั๊บ
ฉบับนี้นำเอาข้อมูลข่าวสารด้านกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจังหวัดพิษณุโลก(คปภ.)มาฝาก เรื่องกำหนดให้บริษัทประกันภัยนำหลัก Cash before Cover มาใช้กับการประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติประกันภัยว่าด้วยการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ โดยกำหนดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป สำนักงาน คปภ. กำหนดให้ใช้ระบบ Cash before Cover เป็นระบบที่กำหนดให้สัญญาประกันภัยมีผลทันทีเมื่อบริษัทประกันภัยได้รับชำระเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้ การชำระเบี้ยประกันภัยแก่ตัวแทนประกันภัย พนักงานและนายหน้าประกันภัยผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท จะถือว่าเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแก่บริษัทแล้วเช่นกัน
การประกันภัยรถยนต์ในต่างประเทศมีการนำหลักการ Cash before Cover มาใช้กันนานแล้ว เช่น ในประเทศมาเลเซียมีการนำหลักการนี้มาใช้กับการประกันภัยรถยนต์ทุกประเภท ตั้งแต่ปี 2523 สำหรับประเทศไทย ผู้เอาประกันภัยที่ทำประกันชีวิตอยู่คงมีความคุ้นเคยกับระบบนี้เนื่องจากการประกันชีวิต ได้ใช้ระบบนี้มานานมากแล้ว
ระบบการประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบัน กรณีที่ผู้เอาประกันภัยแจ้งทำประกันภัยทางโทรศัพท์หรือการทำประกันภัยผ่านตัวแทน-นายหน้าประกันภัยซึ่งไม่ได้รับกรมธรรม์ประกันภัยหรือหลักฐานการชำระเบี้ยประกันภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นอาจเกิดข้อขัดแย้งในภายหลังจึงต้องมีการพิสูจน์ว่าบริษัทรับประกันภัยแล้วหรือไม่ ดังนั้นเมื่อนำหลัก Cash before Cover มาใช้ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจประกันภัยมีธรรมาภิบาลที่ดี มีความมั่นคง ทำให้ผู้เอาประกันภัยมั่นใจ ได้ว่าเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยด้วยความยุติธรรมและรวดเร็ว
เมื่อนำหลัก Cash before Cover มาใช้ ผู้เอาประกันภัยต้องวางแผนในการทำประกันภัยไว้ล่วงหน้า โดยต้องทำประกันภัยหรือต่ออายุการประกันภัยให้ตรงหรือก่อนวันเริ่มต้นคุ้มครองและชำระเบี้ยประกันภัยทันทีที่ทำสัญญาประกันภัย ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองทันทีตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้ตกลงไว้ และให้เก็บกรมธรรม์ประกันภัยหรือใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน กรณีการประกันภัยภาคสมัครใจบริษัทประกันภัยอาจไม่สามารถออกกรมธรรม์ประกันภัยได้ทันทีผู้เอาประกันภัยต้องเก็บใบเสร็จ รับเงินไว้เป็นหลักฐาน โดยบริษัทประกันภัยต้องจัดส่งกรมธรรม์ประกันภัย ให้ภายใน 15 วัน
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจังหวัดพิษณุโลก (สำนักงานคปภ. จังหวัดพิษณุโลก) ณ อาคารสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพิษณุโลก ชั้นที่ 3 เลขที่ 14 ถนนจ่านกร้อง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก หมายเลขโทรศัพท์ 0-5528-2385-6 สายด่วนประกันภัย 1186 www.oic.or.th
มีเรื่องราวทางกฎหมาย พบเจอคนหัวหมอ เขียนจดหมายมาจ้อกับเรายินดีตอบทุกคำถามส่งจดหมายท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์เสียงมหาชน เลขที่ 57/12 ถ.พระองค์ดำ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 หรือ ทาง E-Mail : inn_radio@hotmail.com พบกันฉบับหน้ามีเรื่องราวดีๆ กับคนหัวหมอ ในคอลัมป์ กฎหมายชาวบ้าน ที่นี่

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งด้วยจุลินทรีย์ (โบกาฉิ


การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งด้วยจุลินทรีย์ (โบกาฉิ)
การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยแห้งคือ การนำ EM มาหมักกับอินทรีย์วัตถุเป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพให้มีจำนวนมากขึ้นแข็งแรงขึ้น และฟักตัวอยู่ในอินทรีย์วัตถุเพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย มีธาตุอาหารที่สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก และยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย
ส่วนผสม
1. มูลสัตว์แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ
2. แกลบดิบ หรือฟางแห้ง หรือหญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง หรือผักตบชวาแห้ง หรือขี้เลื่อย 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
3. รำละเอียด หรือมันสำปะหลังป่น หรือคายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ
4. EM (หรือแทนด้วย พด.1จำนวน 1 ซอง)กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากัน
วิธีทำ
1. คลุกรำละเอียดกับมูลสัตว์ที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน
2. นำแกลบดิบหรือวัสดุที่ใช้แทนจุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM+กากน้ำตาลไว้ ช้อนเอามาคลุกกับรำ
และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้วคลุกส่วนผสม ทั้งหมดให้เข้ากัน
3. ความชื้นให้ได้ 40-50% สังเกตจากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกตาม
ง่ามนิ้วมือ และแตกเมื่อคลายมือออก หรือ แตกออกเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้
4. นำส่วนผสมใส่ลงในกระสอบ หรือถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ที่อากาศถ่ายเทได้ ปริมาณ 3/4
ของกระสอบแล้วมัดปากกระสอบให้แน่น พลิกกระสอบทุกวันครบ 6 ด้าน วันที่ 2-3 จับ
กระสอบดูจะร้อนอุณหภูมิประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส วันที่ 4-5 จะค่อย ๆ เย็นลงจน
อุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดูจะได้ปุ๋ยแห้งร่วนนำไปใช้ได้