วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เยี่ยมสวนเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ลุงบุญชอบ เอมอิ่ม จ.สุโขทัย

สวนบุญชอบ เอมอิ่ม แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในลักษณะสวนไม้ผลผสมผสาน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน นักท่องเที่ยวสามารถชมและชิมผลไม้ได้จากสวนอย่างจุใจ ผลไม้ที่มีชื่อเสียงของสวนนี้ คือ มะปราง และมะยงชิด ซึ่งจะให้ผลในระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ กิจกรรมท่องเที่ยวประกอบด้วย รับฟังบรรยายเกี่ยวกับการดำเนินงานของสวน หลังจากนั้น นักท่องเที่ยวจะได้ชมพรรณไม้ การจัดสวนและวิธีการปลูกไม้ผลต่างๆท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่น แวะชิมผลไม้ในสวน (เฉพาะในฤดูกาล)
การเดินทาง จากตัวเมืองสวรรคโลกใช้ทางหลวงหมายเลข 101 อ.สวรรคโลก-อ.ศรีสำโรง ระหว่าง กม.9-10 เลี้ยวซ้ายตามทางแยกไปวัดกรงทองประมาณ 2.5 กม. สวนบุญชอบ เอมอิ่ม จะอยู่ซ้ายมือ

สอบถาม สวนบุญชอบ เอมอิ่ม โทร.081-8881739 และ 081-8884639

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กลอนวันแม่

อาเศียรวาทก้มกราบแทบบาทแม่ ด้วยดวงแดสำนึกคุณแม่ฟ้าหลวง
ขอเทพไท้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วทั้งปวง ร่วมบวงสรวงเฉลิมชัยถวายพระพร
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า

เทิดไท้พระมหาราชินี คู่บุญพระบารมีมหากษัตริย์
ราชกิจกรณีจริยาวัตร ล้วนบำบัดทุกภัยราษฎร์ร่มเย็น
ก่อเกิดงานสานฝันสร้างอาชีพ เปรียบประทีปส่องนำพาให้ลูกเห็น
ลูกซาบซึ้งถึงใจแล้วที่แม่เป็น ขอบำเพ็ญความดีตอบแทนคุณ

น้อมรำลึกสำนึกคุณพระแม่เจ้า กราบแทบเท้าบาทบงสุ์พระทรงศรี
12 สิงหามหาราชินี ปวงราษฎร์น้อมสดุดีแม่ฟ้าเอย

เส้นสายไหมถักทอเป็นผืนผ้า นำดินมาปั้นรูปเป็นเครื่องเผา
เบญจรงค์เครื่องเขินที่ทรงเนา ย่านลิเภาสานแน่นเป็นหนึ่งเดียว
เกิดก่อศิลปาชีพแม่ตรองตริ แม่ดำริลูกสนองจนแน่นเหนียว
ลูกน้อมนอบกายใจผูกกลมเกลียว เป็นหนึ่งเดียวเฉลิมชัยสดุดี

ขอพรพระสยามเทวาธิราช ขออำนาจผลบุญคุณพระศรี
ขอมหากุศลดลบันดาลให้แม่มี แต่สุขีสราญรื่นเริงฤทัย

76 พรรษาราชินี ปวงราษฎร์ข้าธุลีน้อมถวาย
ความจงรักและภักดีมีรู้วาย ถวายพระพรองค์พระมิ่งขวัญปวงชน
พระมิ่งแม่มิ่งขวัญของปวงราษฎร์ ทุกรอยบาทที่แม่ยาตรยิ่งใหญ่หลวง
ทุกกิจแม่ทรงก่อเพื่อผองปวง ล้วนลุล่วงราษฎร์ซึ้งน้ำพระทัย
โอ้ว่าลุคล้ายวันพระราชสมภพ จวบมาครบบรรจบอีกสมัย
ขอองค์แม่สราญรื่นหฤทัย ขอถวายพระพรชัย มาตุ ทรงพระเจริญ

ขอพรพระรัตนตรัยอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สถิตทั่วทุกทิศถิ่นสยาม
ขอโปรดอภิรักษ์องค์พระนาง ทรงเจริญพระชนมวาลยืนนานเทอญ

แม่คือแม่ผู้ให้กำเนิดลูก แม่พันผูกทุกสิ่งที่สร้างสรรค์
ถวายใจจงรักภักดีนิรันดร์ แด่พระแม่มิ่งขวัญของแผ่นดิน

พระคือแม่ผู้ยิ่งใหญ่ของไพร่ฟ้า พระคือแม่ชาวประชาข้าทั้งหลาย
พระคือแม่ศูนย์รวมทั้งใจกาย เหล่าพสกขอถวายพระพรชัยองค์ราชินี

คือองค์ราชินีเหนือแผ่นดิน เป็นแม่พระแห่งงานศิลป์ศรีสยาม
สมพระนามสิริกิติ์ทิพยางค์ เป็นมิ่งขวัญฉัตรสยามของชาวไทย

12 สิงหามหาฤกษ์มงคล
ขออาราธนา เทพไท้เบื้องบน
ที่สถิตในสากลทั่วสยาม
อภิบาลราชินีทรงเจริญพระชนมวาล
ปวงข้าบาทน้อมศิรกานต์ด้วยภักดี

วันสิบสองสิงหาทวยราษฎร์กราบ แทบพระบาทด้วยจิตจงจำนงหมาย
ความภักดีพลีพร้อมน้อมใจกาย ร่วมถวายพระพรชัยทรงพระเจริญ

ขอพระองค์ทรงเจริญพระชันษา เป็นมิ่งขวัญชาวประชาไทยทั้งผอง
ขอองค์ราชินีพระมารดร ทรงสำราญอดิสรทุกทิวา

เฉลิมพระเกียรติอ่าองค์อนงค์นาถ เฉลิมพระราชจอมขวัญองค์พระศรี
เฉลิมพระชนมพรรษาราชินี มิ่งขวัญดวงมณีของชาวไทย


ขอเทพไท้และองค์พระอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สถิตทั่วแคว้นแดนสยาม
ขอปกปักษ์อารักษ์องค์เยาวมาลย์ ขอพระองค์เกษมสารทุกคืนวัน

มิ่งเมืองแม่มิ่งขวัญ ยิ่งนานวันราษฎร์เปรมปรีดิ์
ภูมิในพระแม่ศรี ราชินีของแผ่นดิน

พระแม่ทรงเกื้อกูลทุกแห่งหน ช่วยผ่อนแรงภูวดลองค์ภูมี
ทั่วโลกร้องสรรเสริญสดุดี แซ่ซ้ององค์ราชินีทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า

60 ล้านดวงใจของไพร่ฟ้า 60 ล้านปวงประชาร่วมเปล่งเสียง
60 ล้านคนไทยหนึ่งสำเนียง 60 ล้านเสียงเทิดไท้ราชินี ทรงพระเจริญ

วโรกาส 12 สิงหาจิรัชสมัย ทวยราษฎร์ขอกราบบังคมพระปิ่นผไท
แม่พระของปวงไทยทั้งปฐพี
เอกอนงค์องค์พระสิริกิติ์ เจ้าแห่งชีวิตไทยทั้งสยาม
ขอองค์ปิ่นมณีทรงสำราญ ราษฎร์น้อมก้มกราบกรานถวายพระพร

ทีฆายุโกโหตุมหาราชินี สดุดีมาตุศรีสยาม
ขอจงทรงสุขเกษมทุกโมงยาม ถวายความจงรักทรงพระเจริญ

เนื่องในวันพระราชสมภพ ที่เวียนมาบรรจบอีกสมัย
ผองปวงราษฎร์ข้าบาททั้งถิ่นไทย ขอถวายพระพรชัยองค์พระราชินี

องค์แม่พระสถิตใจไทยทั้งผอง
พระทรงเป็นกษัตรีนักปกครอง
ทุกแดนดินแซ่ซ้องสดุดี

จุดประทีปถวายชัยด้วยใจภักดิ์ แผ่ความรักพระมารดรองค์พระขวัญ
ขอแสงทองพระประทีปเจิดแจ่มจันทร์ ให้องค์แม่ทรงสุขสันต์ยืนนานเทอญ

พสกทั่วปฐพีถิ่นแดนไทย น้อมบังคมก้มกราบไหว้เฉลิมศรี
ขอองค์พระสิริกิติ์ราชินี สุขเกษมเปรมปรีดิ์ยิ่งยืนนาน

แจ่มจิตแจ้งเจิดจำรัส ดวงกมล ลูกไทย
เกริกเกียรติก้องเกรียงไกร ทั่วแคว้น
สิริกิติ์พระนามแม่ มากยิ่ง บารมี
กราบผคมสดุดี แทบบาทเบื้อง พระแม่ไทย

พรอันใดในหล้าล้วนพึงมี พร้อมอำนาจฤทธีแห่งสวรรค์
บันดาลดลมหาพรทุกคืนวัน แด่แม่ขวัญสราญรื่นหฤทัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า

เฉลิมพระเกียรติองค์สิริกิติ์พระราชินี จอมฉัตรศรีแห่งสยามนิรัติศัย
ขอพระนามเกริกก้องกำจรไกล ทั่วแคว้นไซร้ขอสรรเสริญเทิดพระบารมี

ด้วยพระบารมีแม่ปกหล้า ไพร่ฟ้าชาวประชาได้สุขี
น้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมี เปรียบดั่งสีน้ำทิพย์ชโลมใจ
พระแม่ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งดวงจิต ผองไทยทั่วสารทิศขอถวาย
มหาพรชัยมงคลมิเสื่อมคลาย ซึ้งในสายน้ำพระเมตตาธรรม

พระองค์แม่สิริกิติ์ผู้การุญ ผู้ค้ำจุนประชาราษฎร์เปี่ยมสุขสันต์
ผู้เป็นเหมือนเทพสถิตดวงชีวัน เทิดพระขวัญน้อมใจถวายพระพร

พระแม่คือผู้สร้างทางร่มเย็น พระแม่เป็นผู้ให้การศึกษา
พระแม่ทรงกอบเกื้อพัฒนา พระแม่ฟ้าข้าราษฎร์ไทยสดุดี


ศุภฤกษ์มหาชัยในวันแม่ ตั้งกระแสดวงจิตอธิษฐาน
ให้พระแม่เกษมสุขยั่งยืนนาน ให้สำราญเริงรื่นหฤทัย
ทั้งโรคภัยไข้เจ็บอย่าให้มี กิจกรณีที่แม่มุ่งให้สมหมาย
ขอพรพระพิทักษ์พระวรกาย ลูกถวายพระพรชัยสดุดี

สิริกิติ์พระนามนี้ ลือเลื่อง ระบือไกล
น้ำพระราชหฤทัย เปี่ยมล้น
เป็นบุญลูกไทยทั่ว แว่นแคว้น เขตคาน
ขอกราบกรานแทบบาทแม่ ด้วยจงรักและภักดี

องค์เอยราชินี ฟ้าหลวง แม่ไทย
ก่อเกื้อนำไทย สุขี
องค์แม่สิริกิติ์ พระราชินี
สดุดีเทิดไท้ ขอทรง พระเจริญ

สองมือแม่โอบอุ้ม ทุกราษฎร์ จุนเจือ
น้ำพระทัยโอบเอื้อ ทั่วแคว้น
พระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้า ล้นกระหม่อม
ลูกขอประนบน้อม แทบบาท เบื้องยุคล

กราบบังคมพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์สถิตในดวงใจไทยทั้งผอง
กรณียกิจที่ทรงครอง ล้วนสนองเพื่อลูกไทยเจริญ
วโรกาสมหาฤกษ์ขอแม่ทรง สมประสงค์หฤทัยที่มุ่งหมาย
สักการะพระกรุณามิรู้วาย ขอถวายพระพรชัยแม่ฟ้า ทรงพระเจริญ

ถึงท้องฟ้ากว้างไกลมิอาจเทียบ แม้สมุทรมิอาจเปรียบพระแม่ศรี
พระกรุณาล้นเกล้าปกชีวี พสกไทยสดุดีถวายพระพร

กราบบังคมพระแม่ฟ้ามหาราชินี สากลล้วนสดุดีแซ่ซ้อง
พระปรีชามากยิ่งครรลอง ขอพระองค์ทรงครองจตุรพิตรพระพรชัย

สองมือลูกกราบบังคม แทบบาท แม่ไทย
ลูกถวายพระพรชัย แม่ฟ้า
สองพระหัตถ์โอบอุ้ม ประชา
สำนักในพระกรุณา แม่มิ่ง ขวัญเอย

กระดาษฟ้าหมึกสมุทรสุดโลกหล้า ก็พรรณนาพระคุณแม่ไม่หมดสิ้น
วางวลัยแห่งใจราษฎร์ทั้งธานินทร์ ขอมิ่งแม่แผ่นดินทรงพระเจริญ

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ร้อยคมนักคิด ท่าน ว. วชิรเมธี

นัยอันล้ำลึกของคำว่า "ขอบคุณ"
ขอบคุณความไม่รู้ ที่ทำให้รู้วิธีลุกขึ้นสู้
ขอบคุณความยากจน ที่ทำให้เป็นคนมุมานะ
ขอบคุณความล้มเหลว ที่ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ
ขอบคุณความผิดพลาด ที่ทำให้ฉลาดยิ่งกว่าเดิม
ขอบคุณความริษยา ที่ทำให้กล้าสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ขอบคุณคำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ทำให้ผลิบานอย่างไร้ข้อตำหนิ
ขอบคุณความไม่รู้ ที่ทำให้รู้จักครูที่ชื่อประสบการณ์
ขอบคุณความผิดหวัง ที่ทำให้ตั้งสติเพื่อลุกขึ้นมาใหม่
ขอบคุณศัตรูที่แกร่งกล้า ที่ทำให้รู้ว่าเรายังไม่ใช่มืออาชีพ
ขอบคุณมหกรรมคอรัปชั่น ที่ทำให้เราอยากสร้างสรรค์การเมืองใหม่
ขอบคุณความป่วยไข้ ที่ทำให้เราตั้งใจดูแลสุขภาพ
ขอบคุณความทุกข์ที่ ทำให้เรารู้ว่าความสุขมีค่าแค่ไหน
ขอบคุณความพลัดพราก ที่ทำให้เราสละจากความยึดมั่น
ถือมั่น ขอบคุณเพลิงกิเลส ที่ทำให้เรามีเหตุอยากถึงพระนิพพาน
ขอบคุณความตาย ที่ทำให้ฉากสุดท้ายของชีวิตสมบูรณ์แบบ

เจริญพร ว วชิรเมธี

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สูตรการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด

สูตรการทำปุ๋ยอินทรีย์ สูตรที่ 1
1.มูลสัตว์ 250 กิโลกรัม
2.แร่ฟอสเฟส 150 กิโลกรัม
3.แร่โดโลไมท์ 100 กิโลกรัม
4.รำละเอียด 50 กิโลกรัม
5.เศษพืชหมักแล้ว 200 กิโลกรัม
6.มูลค้างคาว 100 กิโลกรัม
7.ปูนมาร์ล 100 กิโลกรัม
8.แร่ภูไมท์ 50 กิโลกรัม

สูตรการทำปุ๋ยอินทรีย์ สูตรที่ 2
1.มูลวัว 100 กิโลกรัม
2.แร่ฟอสเฟส 240 กิโลกรัม
3.มูลค้างคาว 80 กิโลกรัม
4.กระดูกป่น 480 กิโลกรัม
5.รำละเอียด 100 กิโลกรัม

สูตรการทำปุ๋ยอินทรีย์ สูตรที่ 3
1.แร่โดโลไมท์ 100 กิโลกรัม
2.แร่ฟอสเฟส 100 กิโลกรัม
3.มูลสัตว์ 300 กิโลกรัม
4.รำละเอียด 100 กิโลกรัม
5.เศษพืชหมักแล้ว 400 กิโลกรัม

สอบถามเพิ่มเติมแหล่งข้อมูล : วิธีการทำหรือต้องการวัตถุดิบในการทำ อุปกรณ์ในการผลิต
ติดต่อได้ที่ คุณวิษณุ นึกอนันต์ โทร.081-5339770

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แบบฉบับการเลี้ยงปลาในนาข้าว

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรนานาชนิดสมดังคำ กล่าวของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ว่า “ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว” แต่ปัจจุบันคำ กล่าวนี้กำลังจะสูญสิ้นความหมายไป ทั้งนี้เพราะสภาพบ้านเมืองได้พัฒนาขึ้นตามกาลสมัย ทำให้สภาพของแหล่งนํ้าธรรมชาติ เช่น แม่นํ้า ลำ คลอง หนอง บึง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของปลาและสัตว์นํ้าเปลี่ยนสภาพเสื่อมโทรมและตื้นเขินยิ่งขึ้นทุกวัน อันเป็นสาเหตุหนึ่งทำ ให้ปริมาณปลาลดน้อยลงไม่เพียงพอแก่ความต้องการของพลเมืองที่เพิ่มจำ นวนขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปลายังเป็นอาหารจำ พวกเนื้อที่สำ คัญประจำ มื้อประจำ วันของคนไทยควบคู่ไปกับข้าวทั้งยังเป็นอาหารโปรตีนจำ พวกเดียวเท่านั้นที่พี่น้องชาวไทยได้พึ่งพาอาศัยเป็นอาหารหลักอยู่ เพราะอาหารประเภทเนื้อสัตว์อื่นๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัวและเป็ด ไก่ นับวันจะหายากและทั้งราคาแพงยิ่งขึ้น หากเปรียบเทียบในด้านคุณค่าของอาหารประเภทเนื้อสัตว์แล้ว เนื้อปลามีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งเป็นอาหารที่ย่อยง่ายที่สุด นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบบางอย่าง เช่น กรดอะมิโน ซึ่งจำ เป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายสูงกว่าอาหารในจำ พวกโปรตีนชนิดอื่นอีกด้วย
ลิ้งเว็ปแหล่งข้อมูล :
http://www.phanom.ru.ac.th/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/fish/planakow.pdf

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สูตรการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

การทำปุ๋ยอินทรีย์เป็นการปรับโครงสร้างดินทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการนำวัสดุเหลือใช้จากแปลงไร่นา เช่นเศษหญ้า ต้นพืชต่างๆ และปุ๋ยคอกมูลสัตว์ นำมาหมักเป็นปุ๋ย
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มาดำเนินกิจกรรมเกษตรปลอดสารพิษ และส่งเสริมเกษตรกรนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มาผสมผสานในการดำเนินกิจกรรมเกษตร ในการใช้ปุ๋ยเคมีนานๆจะมีผลต่อโครงสร้างของดินทำให้ดินแน่น ดินไม่ร่วนชุ่ยรากพืชหาอาหารได้ยากทำให้พืชไม่เจริญงอกงาม และในปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก
การทำปุ๋ยอินทรีย์
น้ำหมักหอยเชอรี่
วัสดุอุปกรณ์
1.ถังพลาสติก 1 ใบ
2. หอยเชอรี่ 3 กก.
3. กากน้ำตาล 1 กก.
4. น้ำสะอาด 10 ลิตร
ขั้นตอนการหมักหอยเชอรี่
1. นำหอยเชอรี่ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย น้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. บรรจุในถังพลาสติกหรือโอ่งมังกร หาอิฐบล็อกทับบนหอย
3. ปิดฝาถังที่หมักให้สนิท หมักทิ้งไว้ 1 เดือน ก็จะได้ปริมาณ น้ำหมักที่ต้องการ
4. กรองเอาน้ำบรรจุใส่ขวดพลาสติกเก็บในที่ร่ม นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

การทำปุ๋ยหมัก
วัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก
1. มูลสัตว์แห้ง !00 กก.
2.เปลือกถั่วเขียว 100 กก.
3.น้ำหมักหอยเชอรี่ 10 ชต. กากน้ำตาล 10 ชต. น้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน
วิธีการทำ
1. นำวัสดุต่าง ๆ มาเทรวมกันเป็นกองแล้วคลุกเคล้าจนเข้ากัน
2. นำส่วนผสมในข้อ 3 ที่เตรียมไว้ ราดบนกองวัสดุให้ชุ่มแล้วผสมคลุกเข้าให้เข้ากัน
3. สังเกตโดยการนำมากำให้แน่น ถ้าจับตัวเป็นก้อนหมาด ๆ ก็ใช้ได้
4. จากนั้นนำมาหมักโดยนำมากองเอาผ้าพลาสติกคลุมทับ ทิ้งไว้ 1 เดือนนำมาใช้ประโยชน์ได้ (เมื่อกองปุ๋ยหมักเย็น)

การทำปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยรองพื้นจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้อัตราส่วน 25 -30 กก./ไร่
วัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยรองพื้น
1. ปุ๋ยหมักบดละเอียดแล้ว 70 กก.
2. ปุ๋ยเคมีสูตร 18 -46- 0 10 กก.
3. ปุ๋ยเคมีสูตร 46 – 0 – 0 15 กก.
4. ปุ๋ยเคมีสูตร 0 – 0 – 60 5 กก.
5. น้ำหมักชีวภาพ(หอยเชอรี่) 20 ลิตร
สูตรเร่งการเจริญเติบโต

เป็นสูตรปุ๋ยเร่งการเจริญเติบติดดอกออกผล โดยใช้ในอัตราส่วน 25 – 30 กก.
วัสดุที่ใช้
1. ปุ๋ยหมัก (บดละเอียดแล้ว) 65 กก .
2. ปุ๋ยเคมีสูตร 18 – 46 – 0 10 กก.
3. ปุ๋ยเคมีสูตร 0 – 0 – 60 5 กก.
4. ปุ๋ยเคมีสูตร 46 – 0 – 0 20 กก.
5. น้ำหมักชีวภาพ (หอยเชอรี่) 10 ลิตร
วิธีการทำ
1. นำปุ๋ยหมักตามอัตราส่วนมากอง
2. แล้วนำปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 , 0-0-60 ,18-46-0 นำมาผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมัก
3. นำน้ำหมักหอยเชอรี่ที่เตรียมไว้ราดบนวัสดุให้ชุ่ม แล้วผสมคลุกเคล้า ให้เข้ากันโดยใช้เครื่องผสมปุ๋ย สังเกตโดยการนำมากำให้แน่น ถ้าจับตัวเป็นก้อนหมาดก็ใช้ได้
4. นำปุ๋ยที่ผสมเสร็จแล้วไปใส่ในเครื่องอัดเม็ดแล้วนำไปตากแดด เมื่อแห้งแล้วนำไปบรรจุกระสอบก็ไว้ในที่ร่ม

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สูตรบำรุงพืช เร่งโต ขั้วเหนียว

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ ดังนี้
วัสดุส่วนผสมจากสัตว์ที่ไม่มีกระดูสันหลัง
เช่น กุ้ง กระดองปู ปลาหมึก ไส้เดือน กิ้งกือ ไข่อ่อน ไข่หอยเชอรี่ แมลงทุกชนิด หนอนต่างๆ รกสัตว์ นมสด
วัสดุผสมผสมจากพืช
เช่น หัวไช่เท้าแก่ๆ ข้าว-ข้าวโพดที่กำลังเป็นน้ำนม โสมไทย ยอดผักปรัง น้ำมะพร้าว ผลตำลึง ผลไข่กา มันแกว (วัสดุที่มาใช้จะต้อง สด ใหม่ สมบูรณ์ ไม่มีโรค)
วิธีการทำ
1. นำพืชผักมาสับให้ละเอียดใส่ถังหมักโดยใช้อัตราส่วนพืช-ผัก 3 กิโลกรัม ต่อกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
2.นำสัตว์มาบดหรือสับให้ละเอียดใส่ถังหมัก โดยใช้อัตรา สัตว์ 1 กิโลกรัมต่อกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
3.นำส่วนผสมตามข้อ 1 และ ข้อ 2 มาใส่ถังหมัก 200 ลิตร รวมกันเติมน้ำมะพร้าวอ่อนหรือแก่ ใส่ลงไปให้มากๆ ใส่จุลินทรีย์ต่างๆ ลงไปเท่าที่จะหาได้ คนให้เข้ากัน ปิดฝาเก็บไว้ในร่ม คนวันละ 1-2 ครั้ง หมักประมาณ 3 เดือน จะได้ธาตุมาหารหลัก 6 เดือนจะได้ธาตุรอง 6-12 เดือน จะได้ธาตุอาหารเสริม
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น ให้กรอกเอาแต่น้ำ นำมากลั่นจนได้น้ำกลั้น 20 ลิตร แล้วเติมด้วย แคลเซียม 1.2 กิโลกรัม โบรอน 4 ขีด และจีบเบอร์ลีนผสมใส่ถังคนให้เข้ากันเก็นไว้ใช้ได้เลย ประโยชน์ที่ได้ - ช่วยบำรุง ยึดช่อดอก ทำให้ขั้วเหนียว ติดผลดก เร่งผลให้โต วิธีการใช้ - ใช้ฉีดพ่นทางใบ 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 5-7 วัน/ครั้ง
แหล่งข้อมูล : นายณัฐพงษ์ แก้วนวล ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานบ้านหนองขอน129 หมู่ 9 บ้านหนองขอน ตำบลเนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก โทร.087-3172974

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ติดอาวุธทางปัญญาแก่เกษตรกรไทย *1677


บริการข้อมูลทางด่วนเพื่อการเกษตร ผ่าน SMS กด *1677 กด 1 ทุ่งร่วงทอง กด 2 สวนเงินไร่ทอง กด 3 ปศุสัตว์เศรษฐี สมัครและใช้บริการฟรี! ( เฉพาะลูกค้า ดีแทค ทั้งแบบเติมเงินและรายเดือน )
สอบถาม โทร.055-212445

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การทำน้ำยาจับใบ

ส่วนประกอบ
1. เกลือ 1 กก.
2. N 70 1 กก.
3. น้ำเปล่า 14 ลิตร
วิธีทำ
นำ N 70 ใส่ถังเรียบ ใช้ไม้พาย กวนไปในทางเดียวกันให้นานประมาณ 5-7 นาที แล้ค่อยๆ เติมน้ำเกลือสลับกับน้ำที่ละน้อย กวนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดและให้เกิดฟองละเอียดจากนั้นทิ้งไว้ให้ฟองยุบ แล้ว จึงนำไปใส่ขวด หลังจากนั้นนำไปใช้ได้

การผลิตเชื้อ บี ที และ เชื้อบีเอส (บาซิลัส ซับทีลิส)

บีที เป็นจุลินทรีย์มีฤทธิ์ทำลายแมลง เมื่อหนอนกินเชื้อ บีที เข้าไป สารพิษที่ บีทีสร้างขึ้น จะมีผลทำให้ระบบย่อยอาหารเสีย หยุดกินอาหาร เคลื่อนไหวช้าเซื่องซึม สลึมสลือ ชักกระตุก โลหิตเป็นพิษ เป็นอัมพาต และตายใน 1-2 วัน และหลังตายซากหนอนคงรูปร่างเดิมแต่สีเปลี่ยนเป็นน้ำตาลหรือดำ เชื้อบีที ควบคุมหนอนได้หลายชนิดที่ดื้อต่อสารเคมี ไม่เป็นพิษต่อ คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
การใช้เชื้อบีที มีทั้งรูปผงแห้งและน้ำเข็มข้น การใช้ตามคำแนะนำ ฉลากข้างขวด
1. ควรผสมสารจับใบทุกครั้งที่พ่น
2. ควรพ่นเชื้อบีทีทุก 3-5 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ในช่วงระบาด 4
3. ควรปรับหัวฉีดให้เกิดละอองน้ำมากที่สุด
4. ควรใช้เชื้อบีทีในขณะหนอนยังเล็ก
ชนิดของหนอนที่เชื้อบีที ควบคุมได้
- พืชผัก หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนผีเสื้อขาว หนอนกินใบ
- พืชไร่ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนบุ้ง หนอนคืบละหุ้ง
- ไม้ผล หนอนประกบใบส้ม หนอนกินใบชมพู่ หนอนร่าน หนอนแก้วส้ม หนอนไหมป่า หนอนแปะใบองุ่น

วิธีการขยายเชื้อบีที เก็บไว้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นำไปใช้ตามคำแนะนำข้างขวด
1. ใช้เชื้อบีที 250 ซี.ซี. + น้ำ 20 ลิตร + นมขนหวาน 1 กระป๋อง คนให้เข้ากันทุกวัน(ปิดฝา 3 วัน)
2. เติมนมข้นหวานอีก 1 กระป๋อง + กากน้ำตาล 1 ลิตร คนให้เข้ากันทุกวัน(ปิดฝา 3 วัน)
3. เติมนมข้นหวานอีก 1 กระป๋อง + กากน้ำตาล 1 ลิตร คนให้เข้ากันทุกวัน(ปิดฝา 3 วัน)
อายุการเก็บรักษาเชื้อบีที
1. ชนิดผงแห้ง จะมีอายุ 5 ปี นับจากวันผลิต
2. ชนิดน้ำเข้มข้น จะมีอายุ 3 ปี นับจากวันผลิต
3. ชนิดน้ำเข้มข้นมาขยายเชื้อ จะมีอายุ 6 เดือน นับจากวันขยายเชื้อ
เทคนิคการใช้เชื้อ บี ที
1. ควรใช้เชื้อ บี ที ในขณะที่หนอนยังตัวเล็ก
2. ควรพ่น บี ที ในตอนเย็นเพื่อเลี่ยงแสงแดด และมีความชื้นสูง
3. ควรผสมสารจับใบทุครั้ง เพื่อช่วยให้ บี ที ติดกับส่วนต่าง ๆ ของพืชได้นานยิ่งขึ้น
4. ควรปรับหัวฉีดให้เกิดละอองน้ำให้มากที่สุด เพื่อพ่นตัวให้มากที่สุด
5. ควรพ่น บี ที ทุก 3-5 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ในช่างที่หนอนเกิดการระบาด
6. ไม่ควรผสมเชื้อ บี ที กับสารป้องกันกำจัดโรคพืช โดยเฉพาะสารที่ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น สารปฏิชีวนะ และคอปเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น และไม่ควรผสมเชื้อ บี ที ในน้ำที่เป็นด่าง

ข้อดีของการใช้เชื้อ บี ที
· เฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย ไม่มีผลกระทบต่อแมลงชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการกำจัด เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน
· ปลอดภัยต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ ทั้งผู้บริโภคและผู้ใช้
· ไม่มีฤทธิ์ตกค้าง เมื่อพ่น บี ที แล้วสามารถนำพืชมาบริโภคได้โดยไม่ต้องทิ้งระยะก่อนเก็บเกี่ยว
· มีประสิทธิภาพสูง เมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ
ข้อควรจำ
ไม่ควรใช้เชื้อ บี ที กับแปลงหม่อนสำหรับเลี้ยงไหมและไม่ควรฉีดพ่น บี ที ใกล้กับ แหล่งที่เลี้ยงไหม เพราะ บี ที มีฤทธิ์ทำลายไหมสูง บี ที ช่วยอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ
การผลิตขยายเชื้อ
Bacillus thuringiensis
เกษตรกรสามารถขยายการผลิตเชื้อ Bacillus thuringiensis ได้ด้วยตัวเองโดยอุปกรณ์ที่ใช้
1. ถังพลาสติกมีฝาปิด ขนาดความจุ 40-50 ลิตร
2. เชื้อ Bacillus thuringiensis (สายพันธุ์ aizawai , kurstaki)
3. นมข้นหวาน 4 กระป๋อง
4. กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม
ขั้นตอนการผลิตขยายเชื้อ
แบคทีเรียบาซิลัส ทูริงเยนซิส
1.เติมน้ำสะอาดในถังพลาสติกปริมาตร 40 ลิตร
2. เติมนมข้นหวาน 2 กระป๋อง
3. เติมเชื้อ Bacillus thuringiensis 500 ลิตร
4.คนให้เข้ากัน จากนั้น ให้อากาศด้วยตัวเป่าอากาศตู้ปลา เป็นเวลา 3 วัน (หากไม่มีตัวเป่าอากาศ ให้ใช้ไม้คนเช้า เย็น)
5. เติมนมข้นหวาน 2 กระป๋อง และกากน้ำตาล 2 กิโลกรัม ให้อากาศอีก 3-5 วัน จึงนำไปฉีดพ่นหนอนต่อไป

1.4 เชื้อบีเอส (บาซิลัส ซับทีลิส)
เชื้อบีเอส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับพืชโดยไม่ทำความเสียหายให้กับพืช มีความสามารถในการแย่งธาตุอาหารได้ดีกว่าเชื้อจุลินทรีย์อื่น และสร้างสารปฏิชีวนะได้หลายชนิด ทำให้เชื้อโรคพืชลดการทำลายพืช และทำลายเชื้อโรคพืชทำให้ลดปริมาณเชื้อโรคพืช
เชื้อบีเอสสามารถควบคุมโรคพืชได้หลายชิดทั้งเชื้อรา เช่น โรคเหี่ยว โรครากเน่าโคนเน่า โรคแอนแทรกโนส และเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าแลโรคแดงเกอร์ การใช้เชื้อบีเอสให้ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลากข้าวภาชนะ และฉีดพ่นในตอนเย็น การเลือกซื้อต้องดูวันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ เป็นเชื้อที่เก็บในที่แห้งไม่ถูกแสงแดด
การผลิตการขยายเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัสซับทีลิส (บีเอส)
เกษตรกรสามารถขยายการผลิตเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส (บีเอส) ได้ด้วยตนเองโดย
อุปกรณ์ที่ใช้
1. ถังพลาสติกมีฝาปิด ขนาดความจุ 40-50 ลิตร
2. เชื้อบีเอส
3. นมข้นหวาน 4 กระป่อง
4. กากน้ำตาล 2 กก.
ขั้นตอนการผลิตการขาย
1. เติมน้ำสะอาดในถังพลาสติก 40 ลิตร
2. เติมนมข้นหวาน 2 กระป๋อง
3. เติมเชื้อบีเอส 500 มิลลิลิตร
4. คนให้เข้ากัน จากนั้นให้อากาศด้วยตัวเป่าอากาศตู้ปลา เป็นเวลา 3 วัน (หากไม่มีตัวเป่าอากาศให้ใช้ไม้คนเช้า เย็น)
5. เติมนมข้นหวานอีก 2 กระป๋อง และกากน้ำตาล 2 กก. ให้อากาศอีก 2-3 วัน จึงนำไปฉีดพ่น
ต่อไป

การผลิตเชื้อราบิววาเรีย (เพชฌาตขาว/ราขาว)

เชื้อราบิววาเรีย (Beauveria) ทำให้เกิดโรคกับแมลง เพลี้ยต่างๆ เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นเพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยอ่อนส้ม ไรขาว แมลงหวี่ข้าว บั่ว หนอนห่อใบ แมลงค่อมทองในอ้อยหนอนผีเสื้อ ด้วง ยุง แมลงวัน(ปลวก มดคันไฟ ตายยกรังได้)
กลไกการทำลายแมลง คือ สปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวแมลงในความชื้นที่เหมาะสม(ความชื้นสัมพันธ์ 50%ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาที่ต่างกัน ตามชนิด ขนาด อายุ และวัย โดยทั่วไป 3-14 วัน
การผลิตเชื้อราบิววาเรีย (เพชฌาตขาว/ราขาว)
1. เตรียมถุงเชื้อ ใช้เมล็ดข้าวฟ่าง เมล็ดข้าวโพด(แป้ง) ดีที่สุด
1.1 แช่น้ำ 1 คืน นำมาผึ่งให้หมาด
1.2 บรรจุถุง(ร้อน) ถุงละ ½ กก.(ตวงในกระบอกที่วัดขนาดมาแล้ว)
1.3 ใส่คอขวด พับชายลงมา อุดสำลีให้แน่น หุ้มด้วยกระดาษกันน้ำเปียก รัดหนังยาง
2. นึ่งฆ่าเชื้อ ใช้อุณหภูมิ 121๐C ที่ความดัน 15 lb/นิ้ว2 ใช้เวลา 30 นาที ถ้าใช้หม้อลูกทุ่ง โดยใส่ถุงอาหารเลี้ยงเชื้อได้ประมาณ 140-150 ถุง ฝาถังมีเข็มรัด ด้านบนมีก๊อกน้ำระบายแรงดันเปิด ½ ของวาวส์ใช้เวลา 3 ช.ม.
3. การเขี่ยเชื้อ
- ต้องทิ้งให้อาหารเลี้ยงเชื้อเย็นก่อน
- ฉีดแอลกอร์ฮอร์ 70% ให้ทั่วอบและมือ หรือใช้ผ้าชุบเช็ดให้ทั่วทั้งตู้อบและมือ
- ถุงอาหารเลี้ยงเชื้อสาไว้ด้านซ้าย ตะเกียงอยู่กลาง
- เข้มเขี่ยปลายงอเชื้อลนไฟครั้งแรกให้แดง เอาเข็มมาเขี่ยเชื้อใส่ ¼ ซ.ม. 2/ถุง
- ขวดเชื้อเมื่อเขี่ยเชื้อแล้ว รนไฟปิดจุก
4. การบ่มเชื้อ เชื้อจะเดินในถุงใช้เวลา 2-3 อาทิตย์ มีอายุได้ 3-4 เดือน
5. วิธีการใช้
5.1 เชื้อค่อนข้างอ่อนแอต่อแสงแดดและอุณหภูมิสูง ควรใช้ในช่วงเย็นถึงค่ำ(ในฤดูฝน)
5.2 อัตราการใช้ก้อนเชื้อ 3 ก้อน / น้ำ 200 ลิตร (นำก้อนเชื้อมาใส่ในตาข่ายเขียว มายีหรือขยี้ในน้ำ)ให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดลงในน้ำ นำเมล็ดข้าวโพดทิ้ง นำน้ำไปฉีดพ่น
5.3 ระหว่างฉีด ให้กวนน้ำเป็นระยะๆ และปรับหัวฉีดให้พ่นฝอยละเอียด
5.4 เชื้อจะทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติบางชนิดด้วย ถ้ามีอยู่มากควรงดฉีด
5.5 เชื้อจะทำลายแมลงได้ในสภาพชื้นสูง ดังนั้น ในหน้าแล้ง ก่อนและหลังใช้เชื้อควรพ่นละอองน้ำ

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

เชื้อราไตรโคเดอร์มา
ลักษณะทั่วไป (เพชฌาตเขียว/ราเขียว)

1. สามารถควบคุมเชื้อราไฟท๊อปเทอร่า ที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำลายเส้นใยเชื้อราโรคพืชด้วยการพัดรัดหรือแทงเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราในโรคพืช
2. สามารถทำลายเชื้อราอีกหลายชนิด เช่น สเคอโรเทียม พิเทียม ไรช๊อคโทเนีย ฟิวซาเรียม
3. พบทั่วไปในดินทั่วโลก เจริญได้ดีและมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาว ในดินที่มีความชื้นสูงแต่มาแฉะ มี p.H.5.3-6.5
4. มีคนนำไปใช้ใน ข้าวกับโรคไหม้ข้าว ใช้ได้ดี

วิธีการผลิต
1. นำเมล็ดข้าวโพดแป้ง(ดี)เมล็ดข้าวฟ่าง เมล็ดข้าวเปลือก อย่างใดอย่างหนึ่ง มาแช่น้ำก่อน 1 คืน แล้วนำมาผึ่งพอหมาดๆ บรรจุถุงพลาสติก(ร้อน)ขนาด ½ ก.ก. รัดปากถุงด้วยหนังยาง หรือเย็บด้วยรวดเย็บ
2. นำมานึ่งฆ่าเชื้อ ที่หม้อนึ่งลูกทุ่ง 3 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็น
3. วิธีขยายเชื้อ เขี่ยเชื้อใส่ในถุง เลี้ยงเชื้อขนาด ½ กก. จำนวน ½ ช้อนชา/ถุง ใช้พื้นที่ร่มสงบ(ห้องมิดชิด) มาจำเป็นต้องใช้ ตู้เขี่ยเชื้อ เข็มเขี่ยเชื้อ ตะเกียง แอลกอร์ฮอร์

ส่วนผสมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก. (2ถุง) : รำ 5-10 กก.: ปุ๋ยน้ำหมัก 40 กก. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
1. การคลุกเมล็ด นำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ที่ผสมแล้ว อัตรา 2 % โดยน้ำหนัก
2. การใส่ลงในดิน รองก้นหลุม 300-500 กรัม/ต้น (หรือ 3-5 ช้อนโต๊ะ)
3. โรยรอบบริเวณทรงพุ่ม คลุกด้วยเศษใบไม้แห้ง รดน้ำตามให้ความชื้น แต่ไม่แฉะ

วิธีการเก็บเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
เมื่อผสมแล้วควรใช้ให้หมด ถ้าไม่หมดให้เก็บไว้ในที่ร่ม และใช้ผ้าคลุมไว้
ข้อควรระวัง เชื้อเดินในถุง 7 วัน มีอายุไม่เกิน 1 เดือน (ยืดอายุให้ใส่ในตู้เย็น) ถ้าเชื้อแก่ จะมีใยข้าวเต็มก้อน
1. ไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ควบคุมโรคพืชในบริเวณที่ดินแฉะ
2. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า อย่างน้อยปีหรือฤดูละ 2 ครั้ง
ขั้นตอนการผลิต/ขยายเชื้อด้วยข้าวสุก (ข้าวสาร 3 ส่วน น้ำ 2 ส่วน)
1. พอข้าวสุก ให้รีบตักข้าวใส่ถุงขณะร้อนๆ ถุงละ 2.5 ขีด (3ทับพี)
รอให้เย็น (อุ่นนิดๆ) ใส่หัวเชื้อ ½ ช้อนชา
2. พับเย็บปากถุงด้วยMax 3 ครั้ง หรือรัดหนังยาง ขยี้เขย่าให้เข้ากัน เจาะรู ปากถุง 20 ที(40รู) เกลี่ยข้าวบางๆ อย่างให้ถึงปากรูที่เจาะ ทิ้งไว้ 7 วัน เชื้อเดินเต็ม

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สูตรสมุนไพรกำจัดโรคและแมลง

ผลิตพืชอินทรีย์ / สมุนไพรกำจัดโรคและแมลง
หลักการผลิตพืชอินทรีย์
• ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต
• มีการพัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์
• มีการพัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม
• มีการฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง
• โดยใช้ทรัพยากรในฟาร์ม หมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
• ส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายชนิดของสัตว์และแมลงที่มีประโยชน์ (ตัวห้ำ ตัวเบียน) เช่น การปลูกพืชให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ และแมลงที่เป็นประโยชน์ เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์ม และลดปัญหาการระบาดศัตรูพืช
• เลือกใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและมีความต้านทานต่อโรคและแมลง
เจ้าของไร่นา หรือผู้ทำการผลิต มีความพยายามอย่างเต็มที่ในการป้องกันและหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารเคมี และมลพิษจากภายนอก
• สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม ควรได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมตามพฤติกรรมธรรมชาติ ไม่ควรเลี้ยงในที่คับแคบแออัด
• การแปรรูปผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ควรเลือกวิธีการแปรรูปที่คงคุณค่าทางโภชนาการให้มากที่สุด โดยไม่ต้องใช้สารปรุงแต่งหรือใช้น้อยที่สุด
• การผลิตและการจัดการผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ควรคำนึงถึงวิธีที่ประหยัดพลังงานและควรพยายามเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

สมุนไพรกำจัดโรค-แมลง
กระเทียม ดีปรี พริก มันแกว
ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม พริกไทย ยี่โถ
ข่า น้อยหน่า ไพล ละหุ่ง
คูณ บอระเพ็ด มะรุม ลางสาด
ดาวเรือง ผกากรอง มะละกอ เลี่ยน

กระเทียม
เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยไฟ
หนอนกระทู้ผัก
ด้วยปีกแข็ง
ราน้ำค้าง
ราสนิม
1. ใช้กระเทียม 1 กิโลกรัม โขลกให้เป็นชิ้นเล็กๆ แช่ในน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันเบนซิน 200 ซีซี ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นน้ำสบู่ ละลายน้ำเล็กน้อยเติมลงไป คนให้เข้ากัน แล้วกรองเอาแต่น้ำใส ก่อนนำไปใช้เติมน้ำลงไปอีก 20 เท่า หรือประมาณ 5 ปี๊บ (100 ลิตร)
2. บดกระเทียม 3 หัวใหญ่ให้ละเอียด แช่ลงในน้ำมันก๊าดประมาณ 2 วัน แล้วกรองเอาสารละลายมาผสมกับน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ก่อนนำไปใช้ให้เติมน้ำลงไปอีก ครึ่งปี๊บ (10 ลิตร)
3. ใช้กระเทียม 1 กำมือ โขลกให้ละเอียด เติมน้ำร้อนครึ่งลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำ ผสมน้ำ 4 ลิตร เติมสบู่ครึ่งช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน ในตอนเช้า
4. บดกระเทียมแกะกลีบ 1 กำมือ ตากแดดให้แห้งเพื่อนำไปโขลกให้เป็นผง ใช้โรยบนพืชผักที่มีปัญหา โดยโรยตอนพืชผักไม่เปียก

ขมิ้นชัน
• หนอนกระทู้ผัก
• หนอนผีเสื้อ
• ด้วงงวงช้าง
• ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว
• มอด
• ไรแดง

เหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ขับไล่และกำจัดแมลงได้หลายชนิด
1. ขมิ้นครึ่งกิโลกรัม ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 1 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1-2 วัน กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง
2. ตำขมิ้นให้ละเอียด ผสมกับน้ำปัสสาวะวัว (ใช้ว่านน้ำตำละเอียดแทนได้) อัตราส่วน 1 ต่อ 2
3. กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง ถ้าจะใช้กำจัดหนอนให้เติมน้ำผสมลงไปอีก 6 เท่า
4. บดขมิ้นให้เป็นผง ผสมเมล็ดถั่วในอัตรา ขมิ้น 1 กก. ต่อเมล็ดถั่ว 50 กก.
5. เพื่อช่วยในการเก็บรักษาเมล็ดถั่วป้องกันไม่ให้แมลงมาทำลายเม็ดถั่ว

ข่า
• แมลงวันทอง

น้ำคั้นจากเหง้า มีสารดึงดูด สารไล่แมลง สารฆ่าแมลง สามารถไล่แมลงวันทองไม่ให้วางไข่ได้ 99.21% และทำให้โรคใบจุดสีน้ำตาลในนาข้าวหายไป
1. นำเหง้าแก่สดหรือแห้ง มาบดเป็นผง ละลายน้ำ
2. กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง

คูน
• หนอนกระทู้ผัก
• หนอนกระทู้หอม
• ด้วง

เนื้อฝักคูนจะมีสารประเภท Antraquinounes เช่น Aloin, Rhein Sennoside A, B และมี Organic acid
สาร Antra quinone มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง
1. นำฝักคูนมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร
2. หมักทิ้งไว้ 3 – 4 วัน นำมากรองเอาแต่น้ำ ฉีดพ่นกำจัดแมลง

ดาวเรือง
• เพลี้ยกระโดด
• เพลี้ยจักจั่น
• เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน
• เพลี้ยไฟ
• แมลงหวี่ขาว
• แมลงวันผลไม้
• หนอนใยผัก
• หนอนผีเสื้อ
• หนอนกะหล่ำ
• ด้วยปีกแข็ง
• ไส้เดือนฝอย

1. นำดอกมาคั้นเอาน้ำผสมน้ำ 3 ต่อ 1 ส่วน สามารถกำจัดหนอนใยผักได้ดี
2. นำดอกมาคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำ 1 ต่อ 1 ส่วน สามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้ผลดี
3. นำดอกดาวเรือง 500 กรัม ต้มในน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาแต่น้ำ ไปผสมน้ำเปล่าอีก 4 ลิตร น้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 2 วัน

ดีปรี
• แมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ

1. นำดีปลีไปอบในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส จำนวน 450 กรัม
2. แล้วนำไปบดให้ละเอียด แช่ในแอลกอฮอล์ 1,500 ซีซี หมักทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่น

ตะไคร้หอม
• หนอนกระทู้ผัก
• หนอนไยผัก
• ไล่ยุง / แมลงสาป

มีสาร Verbena oil, Lemon oil, Indian molissa oil มีฤทธิ์ในการไล่แมลง
1. ** สูตรกำจัดหนอน ** นำตะไคร้หอมทั้งต้น มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ บดหรือตำให้ละเอียด
2. ** สูตรสำหรับไล่แมลงและยุง ** นำตะไคร้หอมมาบดหรือตำให้ละเอียด นำไปวางไว้ตามมุม
ห้องหรือตู้เสื้อผ้า

น้อยหน้า
• ตั๊กแตน
• เพลี้ยอ่อน
• เพลี้ยจักจั่น
• เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
• เพลี้ยหอย
• ด้วยเต่า
• หนอนใยผัก มวน

มีพิษต่อแมลงทางสัมผัสและทางกระเพาะอาหาร
1. นำเมล็ดน้อยหน่าแห้ง 1 กก. ตำให้ละเอียด ผสมน้ำ 10 ลิตร หมักไว้นาน 24 ชม.
2. ใช้ใบสด 2 กก. ตำให้ละเอียด ผสมน้ำ 10 ลิตร หมักนาน 24 ชม. นำมากรองเอาแต่น้ำ
3. แล้วนำมาผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นทุก 6 - 10 วัน ช่วงเวลาเย็น

บอระเพ็ด
• เพลี้ยกระโดดน้ำตาล
• เพลี้ยจักจั่น
• หนอนกอ
• โรคข้าวตายพราย
• โรคยอดเหี่ยว
• โรคข้าวลีบ

ใช้ได้ดีกับนาข้าวรสขมเมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในพืช จะทำให้แมลงไม่ชอบ


1. ใช้เถาหนัก 5 กก. สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทุบให้แหลก แช่ในน้ำ 12 ลิตร นาน 1 - 2 ชม. กรองเอาแต่น้ำฉีดพ่นแปลงเพาะกล้า
2. ใช้เถา 1 กก. สับหว่านลงไปในแปลงเพาะกล้าขนาด 4 ตารางเมตร
3. ใช้เถาตัดเป็นท่อน ๆ ขนาด 6 - 10 นิ้ว ประมาณ 10 กก. หว่านในนาข้าวพื้นที่ 1 ไร่ หลังปักดำหรือหว่านข้าวแล้ว 7 วัน ควรทำอีกครั้งหลังข้าวอายุ 2 เดือน

ผกากรอง
• หนอนกระทู้ผัก

เมล็ดมีสาร Lantadene มีผลต่อระบบประสาทของแมลง
1. บดเมล็ด 1 กก. ผสมกับน้ำ 2 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชม. กรองเอาแต่น้ำนำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง
ไม่ให้มาวางไข่ในแปลงผัก
2. ใช้ดอกและใบบดละเอียด หนัก 50 กรัม ผสมน้ำ 400 ซีซี แช่ทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำ
นำมาผสมน้ำ 1 : 5 ส่วน ใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลง

พริก
• มด
• เพลี้ยอ่อน
• หนอนผีเสื้อกะหล่ำ
• ไวรัส
• ด้วงงวงช้าง
• แมลงในโรงเก็บ

ผลสุกมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง เมล็ดมีสารฆ่าเชื้อรา ใบและดอกมีสารยับยั้งการขยายตัวของไวรัส
1. นำพริกแห้งป่นละเอียด 100 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน
2. กรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมน้ำสบู่ 1 : 5 ส่วน ใช้ฉีดพ่นทุก 7 วัน
3. ควรทดลองแต่น้อย ๆ ก่อน และให้ใช้อย่างระมัดระวังเพราะอาจระคายเคืองต่อผิวหนังของ
ผู้ใช้
4. ใบและดอกของพริก นำมาคั้นผสมน้ำไปฉีดพ่น เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส โดยฉีดก่อนที่จะมีการระบาดของไวรัส

พริกไทย
• มด
• เพลี้ยอ่อน
• หนอนผีเสื้อกะหล่ำ
• ด้วยปีกแข็ง
• หนอนกะหล่ำปลี
• ด้วงในข้าวไวรัส

น้ำมันหอมระเหย และอัลกาลอยด์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท
1. ใช้เมล็ด 100 กรัม บดละเอียด ผสมน้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากัน
2. หมักทิ้งไว้ 24 ชม. กรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมแชมพูซันไลต์ 1 หยด
3. ใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลง ทุกๆ 7 วัน

ไพร
• เชื้อรา

ใช้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อราในข้าวบาร์เลย์
1. บดไพลแห้งให้ละเอียด แล้วละลายในแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วนร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก แล้วนำไปฉีดพ่น

มะรุม
• เชื้อรา
• แบคทีเรีย
• โรคเน่า

ในใบจะสารพวกผลึกของอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง Pythium debangemum กำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย ได้แก่ โรคโคนต้น และผลเน่าของตระกูลแตง โรคผลเน่าใกล้พื้นดินของมะเขือเทศ โรคเน่าคอดินของคะน้ โรงแง่งขิงเน่า
1. นำใบมะรุมรูดเอาแต่ใบมาคลุกเคล้ากับดินที่เตรียมไว้ สำหรับเพาะกล้าหรือปลูกพืชผัก
2. ทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ เพื่อให้ใบมะรุมย่อยสลายไปกับดิน
3. สารที่อยู่ในใบของมะรุมจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี

มะละกอ
• โรคราสนิม
• โรคราแป้ง

ใบของมะละกอมีสารออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา เช่น โรคราสนิม และโรคราแป้ง
1. นำใบมะละกอมาหั่นประมาณ 1 กก. แล้วนำไปผสมกับน้ำ 1 ลิตร
2. จากนั้นให้คั้นเอาน้ำและกรองโดยใช้ผ้าขาวบาง แล้วเติมน้ำ 4 ลิตร
3. เติมสบู่ลงไปประมาณ 16 กรัม ละลายให้เข้ากัน แล้วนำไปฉีดพ่น

มันแกว
• เพลี้ยอ่อน
• หนอนกระทู้
• หนอนกะหล่ำ
• หนอนใยผัก
• ด้วงหมัดกระโดด
• มวนเขียว
• หนอนผีเสื้อ
• แมลงวัน

เมล็ดแก่มีสาร Pachyrrhrgin เป็นพิษต่อแมลงทางสัมผัสและทางกระเพาะอาหาร
1. นำเมล็ดมาบดให้เป็นผง ประมาณ 0.5 กก. ละลายในน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 – 2 วัน
2. ใช้เมล็ดมันแกว 2 กก. บดให้ละเอียด ละลายกับน้ำ 400 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 วัน
3. กรองเอาแต่น้ำ ใช้ฉีดพ่นกำจัดเพลี้ยและหนอน

ยี่โถ
• มด
• แมลงผลไม้
• หนอน

เปลือกและเมล็ดจะมีสาร glycocid, neriodorin ซึ่งมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลง
1. ใช้ดอกและใบมาบดให้ละเอียด นำมาผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 10 หมักทิ้งไว้ 2 วัน
2. นำมากรองเอาแต่น้ำ ฉีดพ่นกำจัดแมลง ใช้ใบและเปลือกไม้ ไปแช่น้ำนาน 30 นาที
3. นำมากรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง


ละหุ่ง
• ปลวก
• แมงกะชอน
• ไส้เดือนฝอย
• หนู

มีประสิทธิภาพในการป้องกันศัตรูพืช
1. เพียงแค่ปลูกละหุ่งเป็นแนวรอบสวนก็สามารถป้องกันหรือขับไล่ศัตรูพืช เช่น แมลกะชอน หนู
ปลวก และไส้เดือนฝอย
2. หรือปลูกหมุนเวียนในไร่ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอย

ลางสาด
• หนอนหลอดลม

เมล็ดมีสาร Acid Alkaloid ซึ่งเป็นพิษกับแมลงและหนอน
1. นำเมล็ดครึ่ง กก. บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชม. นำมากรองเอาแต่น้ำ
ไปฉีดพ่นกำจัดแมลง

เลี่ยน
• หนอนกระทู้
• หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
• หนอนเจาะผลโกโก้
• ด้วงงวง
• เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
• ไรแดงส้ม
• เพลี้ยอ่อนกะหล่ำ
• หนอนผีเสื้อกะหล่ำ

เปลือกของต้น ใบ ผล เมล็ด มีสารที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง ขับไล่แมลง ยับยั้งการดูดกิน
การเจริญเติบโต
1. นำใบเลี่ยนสด 150 กรัม หรือใบแห้ง 50 กรัม นำมาแช่น้ำ 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 24 ชม.
2. นำมากรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง

ว่านน้ำ
• ด้วงหมัดผัก
• หนอนกระทู้ผัก
• แมลงวันทอง
• แมลงในโรงเก็บ
• ด้วงงวงช้าง
• ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว

เหง้าจะมีน้ำมันหอมระเหย ชนิด Calamol aldehyde มีพิษต่อระบบประสาทของแมลง
1. นำเหง้ามาบดเป็นผง 30 กรัม ผสมกับน้ำ 4 ลิตร หมักทิ้งไว้ 24 ชม. หรือต้มนาน 45 นาที
2. นำมาผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ นำไปฉีดพ่น 2 วัน ๆ ละ 1 ครั้ง

เศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฏีใหม่

เศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฏีใหม่
“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด รวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ
การปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง
แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงสำหรับเกษตรกร ตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้น คือ
ขั้นที่หนึ่ง มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัด ขจัดการใช้จ่าย
ขั้นที่สอง รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม ฯลฯ
ขั้นที่สาม สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ
ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคราชการ ในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการ และข่าวสารข้อมูล นัยสำคัญของแนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ประการ ได้แก่

ประการแรก เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือหลักการที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” โดยมุ่งเน้นการผลิตพืชผลให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรกเมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้ว จึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้าเป็นอันดับรองลงมา ผลผลิตส่วนเกินที่ออกสู่ตลาดก็จะเป็นกำไรของเกษตรกร ในสภาพการณ์เช่นนี้เกษตรกรจะกลายสถานะเป็นผู้กำหนดหรือเป็นผู้กระทำต่อตลาด แทนที่ว่าตลาดจะเป็นตัวกระทำหรือเป็นตัวกำหนดเกษตรกรดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และหลักใหญ่สำคัญยิ่ง คือ การลดค่าใช้จ่าย โดยการสร้างสิ่งอุปโภคบริโภคในที่ดินของตนเอง เช่น ข้าว น้ำ ปลา ไก่ ไม้ผล พืชผัก ฯลฯ

ประการที่สอง เศรษฐกิจแบบพอเพียงให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ทั้งนี้ กลุ่มชาวบ้านหรือองค์กรชาวบ้านจะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้หลากหลาย ครอบคลุมทั้งการเกษตรแบบผสมผสาน หัตถกรรมการแปรรูปอาหาร การทำธุรกิจค้าขาย และการท่องเที่ยวระดับชุมชน ฯลฯ เมื่อองค์กรชาวบ้านเหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง และมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นแล้วเกษตรกรทั้งหมดในชุมชนก็จะได้รับการดูแลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้รับการแก้ไขปัญหาในทุก ๆ ด้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก็จะสามารถเติบโตไปได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจสามารถขยายตัวไปพร้อม ๆ กับสภาวการณ์ด้านการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น

ประการที่สาม เศรษฐกิจแบบพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีของสมาชิกในชุมชนในการร่วมแรงร่วมใจเพื่อประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจึงมิได้หมายถึงรายได้แต่เพียงมิติเดียว หากแต่ยังรวมถึงประโยชน์ในมิติอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน ความสามารถในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของไทยให้คงอยู่ตลอดไป
*****************
ที่มาของ “การเกษตรทฤษฎีใหม่” ตามแนวพระราชดำริ

ประเทศไทย เป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้นฝนตกค่อนข้างชุก มีค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ ประมาณ 1,500 มิลลิเมตร และมีฤดูฝนนานประมาณ 5 - 6 เดือน ในอดีตเมื่อป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ น้ำฝนส่วนหนึ่งจะถูกดูด ซับไว้ในป่า ส่วนหนึ่งจะไหลลงสู่ใต้ดินอีกส่วนหนึ่งจะถูกเก็บกักไว้ตามที่ลุ่ม เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง ตามธรรมชาติ ส่วนที่เหลือจะระเหยสู่บรรยากาศและไหลลงสู่ลำห้วย ลำธาร แม่น้ำ และออกสู่ทะเล น้ำที่ถูกเก็บกักไว้ในป่า และในแหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้จะค่อยๆ ไหลซึมซับออกมาทีละน้อยตลอดปี ส่วนที่ขังอยู่ในหนอง คลอง บึง และแอ่งน้ำต่างๆ ก็จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในช่วงฤดูแล้ง
ต่อมาระบบนิเวศน์เปลี่ยนไปป่าไม้ถูกทำลายถูกถากถางเพื่อการเกษตรและกิจกรรมต่างๆ ห้วย หนอง คลอง บึงสาธารณะจะตื้นเขิน และถูกบุกรุกเข้าถือครองกรรมสิทธิ์ บริเวณทางระบายน้ำออกสู่ทะเลตามธรรมชาติถูกใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคาร ถนน ทางรถไฟ บ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา และอื่น ๆ เมื่อฝนตกลงมาน้ำไหลสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีที่เก็บกัก แต่เมื่อกระทบสิ่งกีดขวางก็ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันอย่างรุนแรง เมื่อน้ำท่าไหลลงทะเลหมดและไม่มีน้ำจากป่ามาเติม แหล่งน้ำตามธรรมชาติก็เหือดแห้ง จึงทำให้เกิดแห้งแล้งและขาดน้ำอุปโภคบริโภคอยู่เสมอ
เกษตรกรที่อยู่ในสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวนาที่อยู่ในเขตใช้น้ำฝนจึงได้รับความเดือดร้อน ผลิตผลเสียหายเป็นประจำและไม่พอเลี้ยงชีพ ต้องอพยพทิ้งถิ่นฐานไปหารายได้ในเมืองใหญ่ ๆ และเกิดปัญหาด้านสังคมตามมา
นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติเมื่อปีพุทธศักราช 2489 เป็นต้นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จแปรพระราชฐานและเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกรทั่วราชอาณาจักรเรื่อยมา พระองค์ได้ประสบกับสภาพดิน ฟ้า อากาศและภูมิประเทศในภูมิภาคต่างๆ และทอดพระเนตรความทุกข์ยากแร้นแค้น ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการดำรงชีวิตของประชาชนทั่วประเทศด้วยพระองค์เอง ทรงตระหนักถึงปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้อย่างถ่องแท้ และได้ทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไข เพื่อบรรเทาปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะ โครงการอนุรักษ์ ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดต่างๆ จำนวนมาก
สำหรับในด้านการพัฒนาอาชีพของประชาชนในชนบท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานแนวทางครั้งสำคัญเมื่อปี พ.ศ.2532 ซึ่งต่อมาประชาราษฎร์ได้รู้จักกันอย่างดีในนามเกษตร "ทฤษฎีใหม่"
แนวทางการพัฒนาชีวิตและอาชีพตามแนวทฤษฎีใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทาน พระราชดำริไว้ 3 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 การผลิต ขั้นที่ 2 การรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ และขั้นที่ 3 การร่วมมือกับแหล่งเงิน (ธนาคาร) และกับแหล่งพลังงาน
ข้อมูลจากเวป.. สภาที่ปรึกษาฯ
-----------------------------
หมายเหตุ.. ท่านสามารถลงทะเบียนเพื่อเรียนรู้ "เศรษฐกิจพอเพียง" ได้ที่..
เวปไซด์นี้.. http://longlivetheking.kpmax.com/
หรือ ... http://www.sufficiencyeconomy.org/

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ชาวบ้านอำเภอทุ่งเสลี่ยมถูกหลวกตุ่นเงินแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 นางเอื้อมดาว ทิพย์นาวา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย ประสานงานจากกลุ่มเกษตรกรอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย หลังถูก นายเสน่ห์ เขื่อนทา แกนนำกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯเรียกเก็บเงิน หลอกลวงโดยอ้างเหตุผลว่าแลกกับการให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเข้าไปช่วยรับซื้อหนี้ โดยเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ณ สถานีตำรวภูธรทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย

นายบุญโฮม อ้วนแพง หนึ่งในเกษตรกร จังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า ตนและเพื่อนเกษตรกร ใน อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ถูกเรียกเก็บเงินจากนายเสน่ห์ มาตั้งแต่เดือน กันยายน 2551 ถึง เมษายน 2552 รวม 16 ครั้ง ครั้งละประมาณ 500, 200 และ 150 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินของตนเอง และถ้าหากใครไม่จ่าย ก็จะถูกขู่ว่าจะไม่ลงชื่อรับรองการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ ทั้งนี้ การเรียกเก็บเงินครั้งแรกต้องจ่ายคนละ 500 บาท เป็นค่าสมัครสมาชิก ต่อมาครั้งที่ 2 อีก 500 บาท เป็นค่าลงทะเบียนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรครั้งต่อมาอีก 300 บาท เป็นค่าไปส่งเอกสารที่กองทุนฟื้นฟูฯ กรุงเทพฯ จากนั้นก็ยังมีการเรียกเก็บเงินเรื่อยๆ 200 บาทบ้าง 400 บาทบ้าง โดยบอกว่าเป็นค่าเขียนเอกสาร หรือบางครั้งไม่รู้สาเหตุหรือก็บอกว่าเก็บไปให้กองทุนฟื้นฟูฯ รวมทั้งมีการเก็บเงินไปทำบัตร เอาไปขึ้นทะเบียน ธ.ก.ส.

"เกษตรกรที่ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย แต่ละคนได้จ่ายเงินไปจนถึงขณะนี้ คนละประมาณ 5,000 กว่าบาท แต่ไม่เคยได้รับความชัดเจนเลยว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้ เพราะเกษตรกรแต่ละรายมีหนี้ประมาณ 400,000-500,000 บาทต่อคน แต่ไม่เคยมีชื่ออยู่ในบัญชีแก้ไขหนี้สินจากภาครัฐอย่างเช่นที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีการจ่ายเช็คเงินสดในครั้งนี้ 414 ล้านบาท เพื่อแก้ไขหนี้สินให้กับเกษตรกร ก็ไม่มีรายชื่อพวกของตนเองรวมอยู่ด้วย จนกระทั่งรู้ว่าถูกหลอกลวงชัดเจนแล้วพวกผมเลยต้องมายื่นเรื่องต่อกองทุนฯให้ช่วยเหลืออะไรจะเกิดก็ให้เกิดไป ใครจะทำร้ายอะไรผมก็ทำไป เพราะรู้สึกว่าทนไม่ได้แล้วกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะฝีมือของคนที่ฉวยโอกาสเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากพวกผม มาทำนาบนหลังคน"
ขณะที่ รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวว่า ปัญหาการถูกเรียกเก็บเงินค่าหัวคิวจากเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาเดือดร้อนจากเรื่องหนี้สิน เกิดขึ้นมาโดยตลอด และเกิดขึ้นกับเกษตรกรหลายจังหวัด ซึ่งเกษตรกรใน อ.ทุ่งเสลี่ยม เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่ง ที่อดทนกับการถูกเก็บค่านายหน้าไม่ไหว จึงได้เข้ามาร้องเรียนส่วนกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายหนี้สินชาวนา ไม่ใช่กลุ่มแรกที่มีพฤติกรรมในการเข้าไปเรียกเก็บเงินแบบนี้บอกว่าจะมาเลี้ยงโต๊ะจีนตนเองบ้าง และมีอีกหลายกลุ่มทั่วประเทศที่ดำเนินการแบบนี้เช่นกัน

"กลุ่มคนพวกนี้มันจะเอาชื่อกองทุนฯไปแอบอ้าง ว่าสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินให้ได้ และก็ไปเรียกเก็บเงินมา รายละไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ทั้งที่ในข้อเท็จจริงแล้ว ในการติดต่อเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สิน กองทุนฯจะไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว ปัญหาการเรียกเก็บหัวคิวแบบนี้ คิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการล้างบางกลุ่มคนที่มาแอบอ้างชื่อกองทุนฯไปหาผลประโยชน์ให้หมดไปเร็วที่สุด ส่วนกรณีของนายเสน่ห์ ซึ่งเป็นแกนนำของกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายหนี้สินชาวนาในต่างจังหวัดล่าสุดได้รับแจ้งว่าผู้กำกับ สภ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ได้มีการออกหมายจับ และควบคุมตัวนายเสน่ห์ ซึ่งเป็นผู้หลอกลวงเกษตรกรได้แล้ว" ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายหนี้สินชาวนาเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศ มีเจ้าหน้าที่ในกองทุนฯเข้าไปร่วมอยู่ด้วย จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่ากลุ่มนี้ไปจดทะเบียนเป็นพรรคการเมือง และได้รับเงินสนับสนุนจากคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก และมักจะใช้ข้ออ้างในการแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สิน เป็นช่องทางในการรับสมัครสมาชิก ซึ่งเป็นเกษตรกรที่เดือดร้อน ซึ่งตนอาจต้องเดินทางไปหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เกี่ยวกับปัญหานี้ด้วย สำหรับข้อมูลการชำระหนี้สินเกษตรกรตั้งแต่ปี 2549 จนถึง 31 มี.ค.สำนักงานกองทุนฯรับชำระหนี้แทนเกษตรกร 6,515 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 1,056 ล้านบาท

นางเอื้อมดาว ทิพย์นาวา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า หากเกษตกรรายใดถูกหลอกลวงในกรณีดังกล่าวให้รีบแจ้งความร้องทุกข์ได้ และประสานงานมยังสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสุโขทัยเพื่อตรวจสอบรายชื่อการเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ที่สาขาทุกจังหวัด หรือที่จังหวัดสุโขทัย ตั้งอยู่ที่ถนนสิงหวัฒน์ ตำบลธานี อำเภอเมืองสุโขทัย สุโขทัย โทร 055-616405-6

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เครือข่ายภาคประชาชน และองค์กรสาธารณะประโยชน์แถลงการเพื่อยกเลิกประกาศวัตถุอันตราย(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552

เครือข่ายภาคประชาชน และองค์กรสาธารณะประโยชน์ 12 องค์กร ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยกเลิกคำประกาศให้พืชสมุนไพรซึ่งใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชรวม 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 1 นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้นายกรัฐมตรี ตรวจสอบการบริหารงานของรัฐมตรีที่เกี่ยวข้อง และข้าราชการที่ผลักดันเรื่องดังกล่าว ว่าได้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในขณะนี้ หรือไม่

คำแถลงระบุว่า มีการร่างประกาศให้ผู้ใดก็ตามที่ผลิต นำเข้า หรือส่งออกเพื่อขายพืชสมุนไพรดังกล่าวต้องแจ้งล่วงหน้าต่อเจ้าพนักงานตามแบบฟอร์มที่กรมวิชาเกษตรเป็นผู้กำหนด ซึ่งการออกกฎระเบียบดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การควบคุมเกษตรกร ชุมชน หรือผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องจากประกาศควบคุมเฉพาะ “ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี” และ “เฉพาะที่นำไปใช้ในการป้องกันกำจัด ทำลาย ควบคุมแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช” ทั้งนี้หากไม่ดำเนินการจะมีความผิดตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

“พืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดเป็นพืชที่เกษตรกรได้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสารควบคุมแมลงเพื่อทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมานาน เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเลย จนถึงมีผลน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดผลตกค้างที่เป็นอันตรายต่อทั้งเกษตรกรเองและผู้บริโภค สามารถหาได้เองจากในชุมชนหรือจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง หรือซื้อได้ในราคาไม่แพงจากชาวบ้าน หรือผู้ประกอบการในท้องถิ่นซึ่งในระยะหลังมีการรวมกลุ่มกันทำการผลิตเพื่อขายกันอย่างแพร่หลาย”

“การดำเนินการของกรมวิชาการเกษตรจะสร้างผลกระทบอย่างสำคัญต่อเกษตรกรและคนในท้องถิ่นรวมจนถึงผู้ประกอบการรายย่อยที่เริ่มดำเนินการเพื่อพัฒนาสมุนไพรควบคุมศัตรูพืช เป็นการสร้างภาระ และอุปสรรคในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรทั้งในด้านการเกษตร การสาธารณสุขและอื่นๆ เป็นการสร้างเงื่อนไขให้กับเจ้าหน้าที่ส่วนน้อยที่ไม่สุจริตเรียกร้องผลประโยชน์จากเกษตรกรและผู้ประกอบการ และสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถหาสมุนไพรมาผลิตเองใช้เองต้องหันไปซื้อสารเคมีซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศแทน”

“แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอ้างว่า การประกาศดังกล่าวเป็นไปเพื่อคุ้มครองผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และคุ้มครองเกษตรกร แต่การดำเนินดังกล่าวซึ่งรวบรัดดำเนินการ และไม่ได้ฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ทำงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืน สิ่งแวดล้อม คุ้มครองผู้บริโภค และจัดการปัญหาวัตถุอันตรายในท้องถิ่น รวมทั้งเกษตรกรและองค์กรท้องถิ่นเป็นจำนวนมากที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบโดยตรงนั้น นอกจากเป็นการดำเนินการที่ปราศจากธรรมาภิบาลแล้ว ยังตั้งคำถามว่า คำประกาศดังกล่าวนั้นมีเจตนาเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเคมีเกษตร และบรรษัทข้ามชาติหรือไม่ ?” คำแถลงระบุ

คำแถลงของเครือข่ายภาคประชาชน และองค์กรสาธารณะประโยชน์
เรียกร้องให้ยกเลิกคำประกาศให้พืชอาหารและสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย

1. สาระสำคัญของเรื่อง
1.1 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง และมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 โดยดำเนินการตามข้อเสนอของกรมวิชาการเกษตร และความเห็นชอบของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้ประกาศ [1] ให้พืชสมุนไพรซึ่งใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชรวม 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 1

1.2 ขณะนี้กรมวิชาการเกษตร ได้ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [2] โดยให้ผู้ใดก็ตามที่ผลิต นำเข้า หรือส่งออกเพื่อขายพืชสมุนไพรดังกล่าวต้องแจ้งล่วงหน้าต่อเจ้าพนักงานตามแบบฟอร์มที่กรมวิชาเกษตรเป็นผู้กำหนด [3] การออกกฎระเบียบดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การควบคุมเกษตรกร ชุมชน หรือผู้ประกอบการรายย่อยโดยแท้ เนื่องจากประกาศควบคุมเฉพาะ “ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี” และ “เฉพาะที่นำไปใช้ในการป้องกันกำจัด ทำลาย ควบคุมแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช” ทั้งนี้หากไม่ดำเนินการจะมีความผิดตามกฎหมาย

1.3 ตามความในมาตรา 18 วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 นั้น ผู้ใดที่ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามความในมาตรา 71 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ผลกระทบ
2.1 พืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดเป็นพืชที่เกษตรกรได้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสารควบคุมแมลงเพื่อทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมานาน เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเลย จนถึงมีผลน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดผลตกค้างที่เป็นอันตรายต่อทั้งเกษตรกรเองและผู้บริโภค สามารถหาได้เองจากในชุมชนหรือจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง หรือซื้อได้ในราคาไม่แพงจากชาวบ้าน หรือผู้ประกอบการในท้องถิ่นซึ่งในระยะหลังมีการรวมกลุ่มกันทำการผลิตเพื่อขายกันอย่างแพร่หลาย เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ คาดว่ามีจำนวนผู้ใช้สมุนไพรดังกล่าวในการควบคุมแมลงหลายแสนครอบครัว และทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลายร้อยล้านบาทจนถึงพันล้านบาท [4] ทั้งนี้ไม่นับไปถึงคุณค่าในการเกื้อกูลต่อสุขภาวะต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสังคมไทยโดยรวม

2.2 การดำเนินการของกรมวิชาการเกษตรจะสร้างผลกระทบอย่างสำคัญต่อเกษตรกรและคนในท้องถิ่นรวมจนถึงผู้ประกอบการรายย่อยที่เริ่มดำเนินการเพื่อพัฒนาสมุนไพรควบคุมศัตรูพืช เป็นการสร้างภาระ และอุปสรรคในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรทั้งในด้านการเกษตร การสาธารณสุขและอื่นๆ เป็นการสร้างเงื่อนไขให้กับเจ้าหน้าที่ส่วนน้อยที่ไม่สุจริตเรียกร้องผลประโยชน์จากเกษตรกรและผู้ประกอบการ และสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถหาสมุนไพรมาผลิตเองใช้เองต้องหันไปซื้อสารเคมีซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศแทน

ในยุคของวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งขณะนี้ยังไม่มีนโยบายใดๆ ของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร การดำเนินการของกรมวิชาการเกษตรยังเป็นการสร้างปัญหาให้เพิ่มขึ้นอีก ทั้งๆ ที่เกษตรกรเผชิญปัญหาด้านต่างๆ มากเกินพออยู่แล้ว

3. ข้อสังเกตบางประการ
แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอ้างว่า การประกาศดังกล่าวเป็นไปเพื่อคุ้มครองผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และคุ้มครองเกษตรกร แต่การดำเนินดังกล่าวซึ่งรวบรัดดำเนินการ และไม่ได้ฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ทำงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืน สิ่งแวดล้อม คุ้มครองผู้บริโภค และจัดการปัญหาวัตถุอันตรายในท้องถิ่น [5] รวมทั้งเกษตรกรและองค์กรท้องถิ่นเป็นจำนวนมากที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบโดยตรงนั้น นอกจากเป็นการดำเนินการที่ปราศจากธรรมาภิบาลแล้ว ยังตั้งคำถามว่า คำประกาศดังกล่าวนั้นมีเจตนาเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเคมีเกษตร และบรรษัทข้ามชาติหรือไม่ ?

4. ข้อเสนอ
เครือข่ายของภาคประชาชน ตามท้ายคำแถลงนี้ ขอเรียกร้องต่อผู้เกี่ยวข้องให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
4.1 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการให้มีการยกเลิกคำประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 และยกเลิกการดำเนินการของกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ....” โดยให้ยกเลิกภายใน 30 วัน

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สูตรการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ

วัสดุที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ มีดังนี้
มูลวัว 1,000 กิโลกรัม
อินทรีย์จากหมูลหมูลหลุม 500 กิโลกรัม
มูลค้างค้าว 200 กิโลกรัม
แกลบดำ 100 กิโลกรัม
แกลบดิบ 100 กิโลกรัม
กากน้ำตาล 50 กิโลกรัม
น้ำหมักชีวภาพ 100 ลิตร
รำอ่อน รำแก่ 100 กิโลกรัม
แร่แอนริช 100 กิโลกรัม
แร่ซีโอไร้ 100 กิโลกรัม
แร่โดโรไมด์ 100 กิโลกรัม
สารเร่ง พ.ด. 1 จำนวน 2 ซอง
แหนแดง 100 กิโลกรัม

สำหรับวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสามารถติดต่อ ได้ที่
คุณวิษณุ นึกอนันต์ โทร.081-5339770

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำชีวภาพ

วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1.ผสมวัสดุพืช ผลไม้ หรือสัตว์ เช่น ปลา หอยเชอรี่ กล้วยสุก มะละกอ ฟักทองแก่ ใบผักสีเขียว สับปะรด จำนวน 30 กิโลกรัม สับให้เล็กก่อนหมัก
2.ใช้กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง น้ำมะพร้าว น้ำอ้อย จำนวน 10 กิโลกรัมใส่ลงถังหมักคนให้เข้ากัน
3.นำสารเร่งจุลินทรีย์ พด.2 จำนวน 1 ซอง ผสมในน้ำ 10 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที เทลงถังในหมัก
4.นำน้ำสะอาด จำนวน 10 ลิตร เติมลงไปในถัง และปิดฝาไม่ต้องสนิทให้คน ระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทุก 2 วัน ใช้เวลาหมัก 120 วัน ถึงจะสมบูรณ์ดี
อัตราที่ใช้
ใช้ 3-5 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ราด หรือรดโคนต้น ทุกๆ 7-10 วัน
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
1.เร่งการเจริญเติมโตของรากพืช
2.เพิ่มการขยายตัวของใบและยืดตัวของลำต้น
3.ชักนำให้เกิดการออกดอกติดผลดีขึ้น
4.ส่งเสริมการออกดอกติดผลดีขึ้น
5.ให้ธาตุอาหารพืช ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ จากหอยเชอรี่ ปลา ผลไม้สุกที่มีสีเหลืองจะให้ไนโตรเจนสูง
แหล่งข้อมูล : คุณประดิษฐ์ สารีคำ เกษตรกรไร่นาสวนผสม
อยู่ที่ 97/1 หมู่ที่ 6 บ้านเนินมะคึก อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก
โทร.081-4749349

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

งานเทศกาลผลไม้ มะเฟืองหวาน ผสมผสานผลไม้ของดีเมืองพิษณุโลก ประจำปี 2552

งานมะเฟืองหวาน ผสมผสานผลไม้ของดีเมืองพิษณุโลก ประจำปี 2552

มะเฟือง หรือ สตาร์ฟรุต เป็นผลไม้มหัศจรรย์ที่มีรสชาติอร่อยราวกับรวมเอาสับปะรด มะนาว ลูกพลัม มารวมกัน กินแล้วสดชื่นและยังมีประโยชน์ในเชิงการแพทย์เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอะซิน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเส้นใยอาหาร ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่มะเฟืองจะเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้รักษาสุขภาพทั้งในและต่างประเทศ...อย่างมาก

จากการที่พิษณุโลกเป็นแหล่งปลูกมะเฟืองและผลไม้นานาชนิดหมุนเวียนตลอดทั้งปี การนี้ นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้สนับสนุนการจัดงานเทศกาลผลไม้มะเฟืองหวาน ผสมผสานผลไม้ของดีเมืองพิษณุโลก ประจำปี 2552 เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางประชาสัมพันธ์และเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคของตลาดไม้ผลพื้นบ้านและผลผลิตท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลกให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ที่จะเกิดกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้โดยตรง

การนี้นายสุรพล จารุพงศ์ เกษตรจังหวัดพิษณุโลก ได้กล่าวว่า ในทุกปีจังหวัดพิษณุโลกจะมีผลไม้นานาชนิดออกตามฤดูกาลตลอดทั้งปี จึงควรสนับสนุนที่จะนำเอาผลไม้ดีที่มีคุณภาพ ให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนในจังหวัดและเป็นการช่วยสนับสนุนเกษตรกรในการเพาะปลูกผลไม้คุณภาพ ในงานจึงได้จัดให้มีเวทีในการนำผลผลิตพืชท้องถิ่นที่หลากหลายมาประชันความอร่อยและคุณภาพผ่านการประกวดที่จะจัดขึ้นในงาน ดังนั้นจังหวัดพิษณุโลก โดยสำนักงานจังหวัดพิษณุโลกร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก จึงกำหนดจัดงานวันมะเฟืองหวาน ประจำปี 2552 ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2552 ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก
แหล่งข้อมูลข่าว :
นางสาวณัชชา ลี้วิศิษฏ์พัฒนา
งานข่าวและประชาสัมพันธ์ ฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศสำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก
โทร.089-4619118 e-mail : nuchchal@hotmail.com

สัมมนากำหนดพืช 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายฯ

จังหวัดพิษณุโลกได้รับการประสานงานกรมวิชาการเกษตร จัดสัมมนา เรื่อง การกำหนดพืช 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ สะเดา กากเมล็ดชา ข่า ขิง ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม สาบเสือ ดาวเรือง พริก คึ่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนองตายหยาก ซึ่งได้มอบหมายให้ บริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้ล จำกัด เป็นผู้จัดสัมมนาเพื่อชี้แจงข้อมูลที่เป็นความจริง เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรและความเข้าใจต่อผู้บริโภค ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นของเกษตรกร นักวิชาการ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน นักการเมืองท้องถิ่น และสื่อมวลชน ประมาณ 400 - 500 คน ในวันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2552 เวลา 08.00 น. - 13.00 น. ณ โรงละครเฉลิมพระเกียรติ(Qs) ตึกคณะแพทย์ศาสตร์ติดกับหอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร ม.นเรศวร(หนองอ้อ) จ.พิษณุโลก

การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น
“การกำหนดพืช 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1”

23 พฤษภาคม 2552 ภาคเหนือพิษณุโลกโรงละครเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร
30 พฤษภาคม 2552 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุบลราชธานี ศูนย์วัฒนธรรมกาญจนาภิเษก ห้องพิมานทิพย์มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
7 มิถุนายน 2552 ภาคกลาง นนทบุรี ฮอลล์ 4 อิมแพ็คอารีนา เมืองทองธานี
13 มิถุนายน 2552ภาคใต้สุราษฎร์ธานีห้องประชุมใหญ่ โรงเรียนเทพนิมิตศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

กำหนดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น
“การกำหนดพืช 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1”

08.30 น. ลงทะเบียนผู้ร่วมสัมมนา (ตอบแบบสอบถามชุดที่ 1 ก่อนสัมมนา)
09.30 น. พิธีเปิดโดย อธิบดีกรมวิชาการเกษตร หรือผู้แทน
09.45 น. นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้พืช 13 ชนิดในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดย ดร. รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ
สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
10.30 น. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
11.15 น. อภิปรายเรื่อง “การกำหนดพืช 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1” ผู้ดำเนินรายการ: สร้อยฟ้า โอสถานนท์ และผู้ร่วมอภิปราย:ผู้แทนเกษตรกร ดร.รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา (ผู้แทนนักวิชาการ) ผู้แทนสื่อมวลชน นายวิชา ธิติประเสริฐ (ผู้แทนกรมวิชาการเกษตรร) ผู้แทนนักการเมืองท้องถิ่น
12.00 น. เปิดเวทีความคิดเห็นตอบข้อซักถามผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามชุดที่ 2 หลังฟังสัมมนา
13.00 น. ปิดการสัมมนา คืนแบบสอบถาม และรับของที่ระลึก รับประทานอาหารกลางวัน
คำแถลงของเครือข่ายภาคประชาชน และองค์กรสาธารณะประโยชน์ เรียกร้องให้ยกเลิกคำประกาศให้พืชอาหารและสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย

1. สาระสำคัญของเรื่อง
1.1 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง และมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 โดยดำเนินการตามข้อเสนอของกรมวิชาการเกษตร และความเห็นชอบของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้ประกาศ [1] ให้พืชสมุนไพรซึ่งใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชรวม 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ขิง ข่า ดาวเรือง สาบเสือ กากเมล็ดชา พริก คื่นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 1

1.2 ขณะนี้กรมวิชาการเกษตร ได้ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [2] โดยให้ผู้ใดก็ตามที่ผลิต นำเข้า หรือส่งออกเพื่อขายพืชสมุนไพรดังกล่าวต้องแจ้งล่วงหน้าต่อเจ้าพนักงานตามแบบฟอร์มที่กรมวิชาเกษตรเป็นผู้กำหนด [3] การออกกฎระเบียบดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การควบคุมเกษตรกร ชุมชน หรือผู้ประกอบการรายย่อยโดยแท้ เนื่องจากประกาศควบคุมเฉพาะ “ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี” และ “เฉพาะที่นำไปใช้ในการป้องกันกำจัด ทำลาย ควบคุมแมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช” ทั้งนี้หากไม่ดำเนินการจะมีความผิดตามกฎหมาย

1.3 ตามความในมาตรา 18 วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 นั้น ผู้ใดที่ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามความในมาตรา 71 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ผลกระทบ
2.1 พืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดเป็นพืชที่เกษตรกรได้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสารควบคุมแมลงเพื่อทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมานาน เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเลย จนถึงมีผลน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดผลตกค้างที่เป็นอันตรายต่อทั้งเกษตรกรเองและผู้บริโภค สามารถหาได้เองจากในชุมชนหรือจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง หรือซื้อได้ในราคาไม่แพงจากชาวบ้าน หรือผู้ประกอบการในท้องถิ่นซึ่งในระยะหลังมีการรวมกลุ่มกันทำการผลิตเพื่อขายกันอย่างแพร่หลาย เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ คาดว่ามีจำนวนผู้ใช้สมุนไพรดังกล่าวในการควบคุมแมลงหลายแสนครอบครัว และทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลายร้อยล้านบาทจนถึงพันล้านบาท [4] ทั้งนี้ไม่นับไปถึงคุณค่าในการเกื้อกูลต่อสุขภาวะต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสังคมไทยโดยรวม

2.2 การดำเนินการของกรมวิชาการเกษตรจะสร้างผลกระทบอย่างสำคัญต่อเกษตรกรและคนในท้องถิ่นรวมจนถึงผู้ประกอบการรายย่อยที่เริ่มดำเนินการเพื่อพัฒนาสมุนไพรควบคุมศัตรูพืช เป็นการสร้างภาระ และอุปสรรคในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรทั้งในด้านการเกษตร การสาธารณสุขและอื่นๆ เป็นการสร้างเงื่อนไขให้กับเจ้าหน้าที่ส่วนน้อยที่ไม่สุจริตเรียกร้องผลประโยชน์จากเกษตรกรและผู้ประกอบการ และสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถหาสมุนไพรมาผลิตเองใช้เองต้องหันไปซื้อสารเคมีซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศแทน

ในยุคของวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งขณะนี้ยังไม่มีนโยบายใดๆ ของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร การดำเนินการของกรมวิชาการเกษตรยังเป็นการสร้างปัญหาให้เพิ่มขึ้นอีก ทั้งๆ ที่เกษตรกรเผชิญปัญหาด้านต่างๆ มากเกินพออยู่แล้ว

3. ข้อสังเกตบางประการ
แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอ้างว่า การประกาศดังกล่าวเป็นไปเพื่อคุ้มครองผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และคุ้มครองเกษตรกร แต่การดำเนินดังกล่าวซึ่งรวบรัดดำเนินการ และไม่ได้ฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ทำงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืน สิ่งแวดล้อม คุ้มครองผู้บริโภค และจัดการปัญหาวัตถุอันตรายในท้องถิ่น [5] รวมทั้งเกษตรกรและองค์กรท้องถิ่นเป็นจำนวนมากที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบโดยตรงนั้น นอกจากเป็นการดำเนินการที่ปราศจากธรรมาภิบาลแล้ว ยังตั้งคำถามว่า คำประกาศดังกล่าวนั้นมีเจตนาเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเคมีเกษตร และบรรษัทข้ามชาติหรือไม่ ?

4. ข้อเสนอ
เครือข่ายของภาคประชาชน ตามท้ายคำแถลงนี้ ขอเรียกร้องต่อผู้เกี่ยวข้องให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
4.1 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการให้มีการยกเลิกคำประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 และยกเลิกการดำเนินการของกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ....” โดยให้ยกเลิกภายใน 30 วัน

4.2 ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ตรวจสอบการบริหารงานของรัฐมตรีที่เกี่ยวข้อง และข้าราชการที่ผลักดันเรื่องดังกล่าว ว่าได้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในขณะนี้

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
เครือข่ายสุขภาพวิถีไทย
เครือข่ายหมอพื้นบ้าน
โรงเรียนชาวนา จ.สุพรรณบุรี
มูลนิธิชีววิถี
มูลนิธิสุขภาพไทย
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
มูลนิธิชีวิตไทย
มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย)
สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน จ.เชียงใหม่
โครงการรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.)

แถลง ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552

เชิงอรรถ
[1] ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 18 ง หน้า 4 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552
[2] โปรดดู ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ....
[3] แบบ วอ./กษ./กวก.16
[4] จากการประมาณการของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
[5] ในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่3) พ.ศ.2551 บัญญัติให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่าง 5 คน แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นตัวแทนขององค์กรสาธารณประโยชน์และมีประสบการณ์ การดำเนินการคุ้มครองสุขอนามัย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน ด้านการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายในท้องถิ่น หรือด้านสิ่งแวดล้อม อ้างอิงจาก อังคณา สุวรรณกูฐ “เจาะลึกพ.ร.บ.วัตถุอันตรายฉบับใหม่” ในจดหมายข่าวผลิใบ, กรมวิชาการเกษต

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประวัติจังหวัดนครสวรรค์

ประวัติจังหวัดนครสวรรค์
นครสวรรค์เป็นเมืองโบราณซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีปรากฏชื่อในศิลาจารึกเรียกว่า เมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำศึกสงครามมาทุกสมัย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวเมืองดั้งเดิมตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาขาด(เขาฤาษี) จรดวัดหัวเมือง(วัดนครสวรรค์) ยังมีเชิงเทินดินเป็นแนวปรากฏอยู่ เมืองพระบาง ต่อมาได้เป็น เมืองชอนตะวัน เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และหันหน้าเมืองไปทางแม่น้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกทำให้แสงอาทิตย์ส่องเข้าหน้าเมืองตลอดเวลา แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น เมืองนครสวรรค์ เป็นศุภนิมิตอันดี

นครสวรรค์ มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาแต่เดิมว่า ปากน้ำโพ โดยปรากฏเรียกกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติศาสตร์ในคราวที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กองทัพเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกไปรับทัพข้าศึกที่ปากน้ำโพ แต่ด้านทัพข้าศึกไม่ไหว จึงล่าถอยกลับไป
ที่มาของคำว่า ปากน้ำโพ สันนิษฐานได้ 2 ประการ คือ อาจมาจากคำว่า ปากน้ำโผล่ เพราะเป็นที่ปากน้ำปิง ยม และน่าน มาโผล่รวมกันเป็น ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา หรืออีกประการหนึ่ง คือ มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่อยู่ตรงปากน้ำในบริเวณวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อกวนอูในปัจจุบัน จึงเรียกกันว่า ปากน้ำโพธิ์ ก็อาจเป็นได้

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงนำพระพุทธรูป ชื่อ พระบาง มาค้างไว้ที่เมืองนี้ ต่อมาไทยรบทัพจับศึกกับพม่าและปราบหัวเมืองฝ่ายเหนือที่แข็งเมืองยกมาตีกรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงเทพฯ กองทัพไทยได้ยกเคลือนที่ขึ้นมาเลือกนครสวรรค์ที่เคยเป็นโรงทหารเก่าหลังโรงเหล้าปัจจุบัน เป็นที่ตั้งทัพหลวงแล้วดัดแปลงขุดคูประตูหอรบจากตะวันตกตลาดสะพานดำ ไปบ้านสันคู ไปถึงทุ่งสันคู เดี๋ยวนี้ ยังปรากฏแนวคูอยู่ เมื่อข้าศึกยกลงมาจากทุ่งหนองเบน หนองสังข์ สลกบาตร และตะวันออกเฉียงใต้ของลาดยาวมาเหนือทุ่งสันคุ เมื่อฤดูแล้งเป็นที่ดอนขาดน้ำ ถ้าฝนตกน้ำก็หลากเข้ามาอย่างแรงท่วมข้าศึก ไทยยกทัพตีตลบหลัง พม่าวิ่งหนีผ่านช่องเขานี้จึงได้ชื่อว่า เขาช่องขาด มาจนบัดนี้
อาณาเขตทิศเหนือ
ติดต่อกับ จังหวัดกำแพงเพชร และ พิจิตร ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดอุทัยธานี สิงห์บุรี ชัยนาท ลพบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดตาก และ อุทัยธานี ทิศตะวันนออก ติดต่อกับ จังหวัดเพชรบูรณ์การปกครองจังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ 9597.7 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ มีป่าไม้อยู่ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออก แบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอลาดยาว อำเภอตาคลี อำเภอชุมแสง อำเภอบรรพตพิสัย อำเภอท่าตะโก อำเภอ พยุหะคีรี อำเภอไพศาล อำเภอหนองบัว อำเภอตากฟ้า อำเภอโกรกพระ อำเภอเก้าเลี้ยวและ กิ่งอำเภอแม่วงก์

แจ้งข่าวเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ประจำปี พ.ศ.2552

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร แจ้งสมาชิกให้มาตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ประจำปี พ.ศ.2552 ด้วยวาระการดำรงตำแหน่งของผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจะหมดวาระในวันที่ 24 กรกฎาคม 2552 นั้น เพื่อให้การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในครั้งนี้เป็นไปโดยสุจริตยุติธรรม และสมเจตนารมณ์ ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานจึงได้ประกาศรายชื่อสมาชิกผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ประจำปี พ.ศ.2552 ครั้งที่ 1 ให้สมาชิกองค์กรเกษตรกรทำการตรวจสอบความถูกต้องต้องของรายชื่อ ณ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดอันเป็นที่ตั้งขององค์กร ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม-5 มิถุนายน 2552 นี้

แหล่งข้อมูลข่าว : สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพิษณุโลก ประกาศที่ กฟก ๐๓๐๐ ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2552
โทร.02-2700588 , ฝ่ายอำนวยการ โทร.02-6187877 ต่อ 110

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวจากแม่น้ำสายหลักสองสายทางภาคเหนือ คือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ไหลมารวมตัวกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นสายเดียวโดยเรียกรวมทั้งหมดว่า "แม่น้ำเจ้าพระยา" และไหลออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำน่านและแม่น้ำปิง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีขนาดถึง 160,000 ตารางกิโลเมตรและมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดชัยนาท
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำเก่าในยุคไพลสโตซีน เป็นหนึ่งแควหลักของแม่น้ำซุนดาเหนือ ร่วมสมัยกับแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ต่อมาในต้นยุคโฮโลซีน น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็ง ทำให้ขอบเขตแม่น้ำเจ้าพระยาหายไป เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเกือบทั้งหมดจมอยู่ใต้อ่าวไทยโบราณ จากนั้นจึงเริ่มการทับถมของดินตะกอนใหม่อีกครั้ง เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน

อ้างอิงข้อมูลจาก : http://th.wikipedia.org/wiki

การทำฝนเทียม

การทำฝนเทียม
การทำฝนเทียม อาศัยเทคนิคจากการศึกษาค้นคว้าว่ากรรมวิธีของฝนในธรรมชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงได้พยายามเลียนแบบธรรมชาติโดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะ พอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ การทำฝนเทียมมักทำใน 2 สภาวะ คือ การทำฝนเทียมในเขตอบอุ่นซึ่งมีเมฆที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า องศาเซลเซียส และ การทำฝนเทียมในเขตร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 0
การทำฝนเทียมแบบแรก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการทำฝนเมฆเย็น จะทำเมื่อยอดเมฆสูงเฉลี่ย 21,500 ฟุต หรือประมาณ 6,450 เมตรมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เป็นเมฆคิวมูลัส จะเกิดเฉพาะช่วงต้นและปลายฤดูฝน การทำฝนเทียมในเมฆชนิดนี้ใช้โปรยหรือหว่านด้วยเม็ดน้ำแข็งแห้งเล็ก ๆ (dry ice) หรือ ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (silver iodide) จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เร่งเร้าให้เม็ดน้ำเย็นยิ่งยวดเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นผลึกหรือเกล็ดน้ำแข็งทันทีแล้วคายความร้อนแฝงออกมา พลังงานความร้อนดังกล่าวทำให้มวลอากาศภายในก้อนเมฆลอยตัวขึ้นเบื้องบนมีผลทำให้เกิดแรงดึงดูดใต้ฐานเมฆ ซึ่งจะดูดเอาความชื้นเข้ามาหล่อเลี้ยงทำให้ก้อนเมฆเจริญเติบโตและมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันแรงยกตัวจะหอบเอาเกล็ดน้ำแข็งเล็ก ๆ ขึ้นไปข้างบนทำให้เกล็ดน้ำแข็งเหล่านี้มีขนาดใหญ่ขึ้นพอมีน้ำหนักมากกว่าที่แรงยกตัวจะพยุงไว้ได้ก็ตกลงมา จนผ่านชั้นอากาศที่อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก้อนน้ำแข็งก็จะละลายกลายเป็นน้ำฝน
ส่วนการทำฝนเทียมแบบที่สอง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการทำฝนเมฆอุ่น มีลักษณะของเมฆก่อตัวขึ้นเป็นแนวตั้งฉากเป็นเมฆคิวมูลัส (Cumulus) ซึ่งสังเกตได้จากกลุ่มเมฆจะมีลักษณะฐานเมฆสีดำ ก้อนเมฆก่อตัวขึ้นคล้ายดอกกะหล่ำปลีอยู่ที่ระดับความสูงของฐานเมฆไม่เกิน 16,000 ฟุต มีอุณหภูมิภายในก้อนเมฆสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส การทำฝนเทียมในเมฆชนิดนี้จะใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการชนและรวมตัวกันของเม็ดเมฆขนาดต่าง ๆ

คลิกดูข้อมูลการทำฝนเทียมโดยละเอียด ได้ที่นี่

ชนิดบัว การปลูก การขยายพันธุ์ และการดูแลรักษา

บัวเป็นไม้ดอกที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ก่อนสมัยพุทธกาลตามพุทธประวัติ พบว่าบัวมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่เมื่อพระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พุทธศาสนิกชนจึงมีการใช้ดอกบัวเพื่อการบูชาพระ ตลอดทั้งในพิธีการทางศาสนาพุทธ บัวจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ ของความบริสุทธิ์และคุณงามความดี ในพุทธ - ศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัวเป็น 4 ระดับ คือ บัวในโคลนตม บัวใต้น้ำ บัวปิ่มน้ำ และบัวเหนือน้ำ ซึ่งเปรียบเสมือนว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ที่มีคุณค่าสูงสุด นอกจากนั้นการเขียนวรรณคดีหรือบทนิพนธ์ต่างๆ ยังได้มีการนำดอกบัวสายพันธุ์ต่างๆ มาเรียบเรียงลงในเอกสารอีกด้วย ในปัจจุบันมีเกษตรกรและผู้สนใจจำนวนมากมีการปลูกบัวเพื่อเป็นอาชีพมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากบัวนั้นมีความหลากหลายในการใช้ประโยชน์ในส่วนต่างๆ ของบัวได้มากมาย ดังนั้นจึงมีการปลูกบัวเพื่อตอบสนองความต้องการต่างๆ เช่น การปลูกเพื่อตัดดอก เก็บไหล เก็บผัก เก็บเมล็ดจำหน่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ของตลาดในแต่ละท้องถิ่นตลอดจนบัวบางสายพันธุ์ยังนำมาปลูกในกระถาง เพื่อเป็นไม้ประดับ

ชนิดสายพันธุ์ บัว คลิกที่นี่

การขยายพันธุ์บัว มีวิธีการดังนี้
การแยกเหง้า บัวในเขตอบอุ่นและเขตหนาวที่มีลำต้นเป็นแบบเหง้าสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีแยกหน่อหรือต้นอ่อนจากเหง้าต้นแม่ไปปลูก โดยตัดแยกเหง้าที่มีหน่อหรือต้นอ่อนยาว 5-8 ซม. ตัดรากออกให้หมด ถ้าเป็นต้นอ่อนสามารถนำไปปลูกยังที่ต้องการได้เลย ถ้าเป็นหน่อให้นำไปปลูกในกระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-25 ซม. ฝังดินให้ลึกประมาณ 3-5 ซม. กดดินให้แน่น เทน้ำให้ท่วมประมาณ 8-10 ซม. ดินที่ใช้ควรเป็นดินเหนียวเพื่อช่วยจับเหง้าไม้ให้ลอยขึ้นเหนือผิวน้ำ เมื่อหน่อเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่จึงย้ายไปปลูกยังที่ต้องการการแยกไหล บัวในเขตร้อนโดยเฉพาะบัวหลวงจะสร้างไหลจากหัวหรือเหง้าของต้นแม่แล้วไปงอกเป็นต้นใหม่ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีตัดเอาไหลที่มีหน่อหรือปลิดต้นใหม่จากไหลไปปลูก การตัดไหลที่มีหน่อไปปลูกควรตัดให้มีขนาดความยาวประมาณ 2-3 ข้อ และมีตาประมาณ 3 ตา นำไหลที่ตัดฝังดินให้ลึก 3-5 ซม. กดดินให้แน่นต้นอ่อนจะขึ้นจากตาและเจริญเป็นต้นใหม่ต่อไป

การแยกต้นอ่อนที่เกิดจากใบ บัวในเขตร้อนสกุลบัวสายบางชนิดจะแตกต้นอ่อนบนใบบริเวณกลางใบตรงจุดที่ต่อกับก้านใบหรือขั้วใบ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยตัดใบที่มีต้นอ่อนโดยตัดให้มีก้านใบติดอยู่ 5-8 ซม. เสียบก้านลงในภาชนะที่ใช้ปลูกให้ขั้วใบที่มีต้นอ่อนติดกับผิวดิน ใช้อิฐหรือหินทับแผ่นใบไม่ให้ลอย เติมน้ำให้ท่วมยอด 6-10 ซม. ประมาณ 2 สัปดาห์ ต้นอ่อนจะแตกรากยึดติดกับผิวดินและเจริญเติบโตต่อไปการเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมปฏิบัติเนื่องจากยุ่งยากและต้องใช้เวลานาน ยกเว้นบัวกระด้งที่ต้องขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดเท่านั้น นอกจากนี้การเพาะเมล็ดมักนิยมใช้กับเมล็ดบัวที่ได้จากการผสมพันธุ์บัวขึ้นมาใหม่แล้วเก็บเอาเมล็ดนำมาเพาะ เพื่อสะดวกในการคัดแยกพันธุ์ วิธีการเพาะเมล็ดมีดังนี้ เตรียมดินเหนียวที่ไม่มีรากพืช ใส่ลงในภาชนะปากกว้างที่มีความลึกประมาณ 25-30 ซม. โดยไส่ดินให้สูงอย่างน้อย 10 ซม. ปรับแต่งหน้าดินให้เรียบและแน่น เติมน้ำให้สูงจากหน้าดินประมาณ 7-8 ซม. นำเมล็ดที่จะใช้เพาะโรยกระจายบนผิวน้ำให้ทั่ว เมล็ดจะค่อยๆ จมลงใต้น้ำ สำหรับเมล็ดบัวหลวงและบัวกระด้งเมล็ดมีขนาดใหญ่ ให้กดเมล็ดให้จมลงไปในดินแล้วเติมน้ำให้สูงจากผิวดินประมาณ 15 ซม. นำภาชนะที่เพาะไปไว้ในที่มีแดดรำไร ประมาณ 1 เดือน เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นต้นอ่อน เมื่อต้นอ่อนแข็งแรงและมีใบประมาณ 2-3 ใบ จึงแยกนำไปปลูกยังที่ต้องการ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พาณิชย์ชงครม.ขอระบายข้าวโพด 6.6แสนตัน

พาณิชย์ชงครม.ขอระบายข้าวโพด6.6แสนตันพาณิชย์ชงครม.ระบายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 6.6 แสนตัน ด้วยการจำหน่ายต่างประเทศ แบบ "จีทูจี" หรือ "จีทูพี" พร้อมขอยกเลิกคกก.ระบายข้าวโพด
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่ากระทรวงพาณิชย์ได้เสนอให้ที่ประชุม ครม.วันพุธที่ 13 พ.ค. พิจารณาแนวทางการระบายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่รับจำนำในปี 51/52 จำนวน 6.6 แสนตัน ด้วยการจำหน่ายแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือจีทูจี หรือรัฐบาลกับเอกชนต่างประเทศ หรือจีทูพี ว่าต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 190 หรือไม่ นอกจากนี้ ขอให้ยกเลิกคณะกรรมการระบายข้าวโพดที่ประกอบด้วยกรมการค้าภายใน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และองค์การคลังสินค้า (อคส.) ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 ต.ค.51 โดยให้คงคณะกรรมการนโยบายอาหาร คณะกรรมการกำกับการรับจำนำโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 51/52 คณะกรรมการ บูรณาการการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตร คณะกรรมการตรวจสอบโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 51/52 (เพิ่มเติม) และโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 51/52 และคณะกรรมการนโยบายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไว้ก่อน นอกจากนี้เสนอให้ที่ประชุมรับทราบผลการรับจำนำตามโครงการแทรกแซงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 51/52 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มี.ค.52 รวมทั้งสิ้น 1.11 ล้านตัน และรับทราบการอนุมัติการจำหน่ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี51/52 เพื่อส่งออกต่างประเทศโดยวิธีการประมูลให้กับผู้ซื้อในประเทศ ปริมาณ 449,342.856 ตัน มูลค่า 2,041.052 ล้านบาท ตามมติคณะอนุกรรมการด้านการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมื่อวันที่ 31 มี.ค.52ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่าวัตถุประสงค์ของโครงการรับจำนำ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากราคาสินค้าตกต่ำ และเมื่อรับจำนำเข้ามาเป็นจำนวนมากจึงเป็นภาระของรัฐบาลที่ต้องแบกรับดังนั้นเพื่อเป็นการลดภาระในการเก็บรักษาดังกล่าว รัฐจึงมีความจำเป็นต้องเร่งระบายสินค้าออกไป และในช่วงเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับจำนำจะมีหน้าที่ในการระบายสินค้าครบวงจรของการรับจำนำ เช่น สินค้าข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผู้รับผิดชอบคือกระทรวงพาณิชย์ สินค้าผลไม้ผู้รับผิดชอบจะเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


แหล่งข่าว
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพิษณุโลก 12 พ.ค. 2552
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ฟ้าทลายโจร สมุนไพรกู้วิกฤตโรคระบาดในไก่

ฟ้าทลายโจร สมุนไพรกู้วิกฤตโรคระบาดในไก่
ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคที่เกี่ยวกับไก่รุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ เป็นอันมาก เกษตรกรบางรายสงสัยว่า ทำวัคซีนแล้วแต่ไก่ก็ยังตายหมดทั้งฟาร์ม ซึ่งกระแสข่าวที่ผ่านมาทำให้คนไทยกลัวที่จะรับประทานไก่ เพราะกลัวโรคระบาดนั้นจะติดต่อมาสู่คน ส่วนใหญ่การรักษาโรคไก่มักจะใช้กลุ่มยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะกลุ่มของไก่พื้นเมือง ซึ่งอาจมีผลให้เกิดสารตกค้างถึงมนุษย์ และการรักษาดังกล่าวก็อาจทำให้ไก่ที่เหลืออยู่เป็นพาหะของโรคต่อไปหรือส่งผลให้เชื้อโรคที่ยังอยู่มีพัฒนาการต่อก็ได้ ซึ่งล้วนเป็นปัญหาหรือก่อให้เกิดความหวาดกลัวต่อไป

การแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยพืชสมุนไพรเป็นอีกลู่ทางหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจและมีการสนับสนุน เช่น การใช้สมุนไพรฟ้าทลายโจร (Andrographis paniculata Wall. Ex Nees) เป็นพืชสมุนไพรทางการแพทย์ มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นสารพวก diterpene lactones ออกฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น Esherichia coli และ Salmonella typhi ยับยั้งเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจ เช่น Staphylococcus aureus และมีสรรพคุณแก้ไข้ แก้หวัด แก้โรคบิด โรคท้องร่วง และแก้แผลบวมอักเสบ ซึ่งสรรพคุณที่ดีเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นในด้านการป้องกันรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับไก่ เช่น โรคอุจจาระขาว ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียพวก Salmonella pullorum และในปัจจุบัน (ปี 2547) ได้มีโรคระบาดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่าเป็นโรคนิวคาสเซิล สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ระบุว่า เกิดจากโรค แซลโมเนลลา (Salmonellasis) หรือโรคขี้ขาว และโรคอหิวาห์เป็ดไก่ที่ชื่อ Fowl Cholera ผู้รายงานได้มีโอกาสเข้าศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร และทำการศึกษาหาระดับที่เหมาะสมและศึกษาผลของสมุนไพรฟ้าทลายโจร (Andrographis paniculata) ในสูตรอาหารไก่ ต่อประสิทธิภาพการผลิตและลดปัญหาโรคอุจจาระขาวในไก่พื้นเมือง โดยใช้ไก่พื้นเมืองคละเพศ อายุแรกเกิด จำนวน 160 ตัว

โดยมี ดร.โอภาส พิมพา และ รศ.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร ในการทดลองเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 14 สัปดาห์ ซึ่งในช่วงการทดลองนั้นไก่จะถูกสุ่มแบ่งออกเป็นกลุ่ม จำนวน 16 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว แต่ละกลุ่มจะถูกสุ่มแบบอิสระ ให้ได้รับอาหารทดลองที่มีสมุนไพรฟ้าทลายโจรในส่วนประกอบมากขึ้น 4 ระดับ คือ 0% 0.5% 1.0% และ 1.5% ในสูตรอาหารตามลำดับ ไก่แต่ละกลุ่มที่ได้รับอาหารในแต่ละสูตรจะให้กินได้อย่างเต็มที่ เพื่อวัดปริมาณการกินได้ ในแต่ละคอกจะมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา ในช่วงสัปดาห์ที่ 8 ครึ่งหนึ่งของไก่ที่ได้รับอาหารทดลองแต่ละสูตร จะถูกสุ่มให้ได้รับเชื้อ Salmonella pullorum ซึ่งเชื้อจะถูกฉีดเข้าปากสู่ทางเดินอาหารโดยตรง วัดอัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ศึกษาอาการเครียดและเหงาซึม ตลอดทั้งวัดคุณภาพซากเมื่อเลี้ยงครบ 14 สัปดาห์ ซึ่งไก่จะมีอายุ 16 สัปดาห์ จากการศึกษาพบว่าระดับของฟ้าทลายโจรที่เหมาะสมในสูตรอาหารคือ 1.0% เพราะมีผลให้ไก่กินอาหารได้มากที่สุด และมีแนวโน้มให้ไก่มีน้ำหนักตัวสูงที่สุด ตลอดทั้งอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันผลเสียอันเกิดจากเชื้อ Salmonella pullorum ที่มีต่อไก่ เช่น อาการเครียด ส่งผลต่อการกินอาหารที่ลดลงและอัตราการเจริญเติบโตที่ลดลง ซึ่งระดับฟ้าทลายโจร 1.0% ในสูตรอาหารยังสามารถทำให้อัตราการแลกเนื้อดีที่สุดในช่วงที่ไก่ได้รับเชื้อ Salmonella pullorum สมุนไพรฟ้าทลายโจรในสูตรอาหารจะช่วยทำให้เปอร์เซ็นต์ซากดีขึ้น และมีผลให้เปอร์เซ็นต์เนื้อหน้าอกมากด้วย ซึ่งในไก่พื้นเมืองสามารถย่อยสมุนไพรได้ดีกว่าไก่พันธุ์เนื้อในระบบฟาร์ม หลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาในเดือนพฤศจิกายน 2546 จึงได้ใช้อาหารที่มีระดับฟ้าทลายโจรในสูตรอาหารระดับ 1% เรื่อยมา และหลังจากนั้นไก่ในฟาร์มที่เลี้ยงไม่มีอาการป่วยแสดงให้เห็น รวมทั้งในช่วงที่มีการระบาดที่รุนแรงและเฉียบพลันยังได้นำฟ้าทลายโจรน้ำหนักแห้งจำนวน 10 กรัม ผสมน้ำ 2.5 ลิตร ให้ไก่กินทุกวันอย่างสม่ำเสมอ พบว่าสามารถลดอัตราการตายของไก่พื้นเมืองลูกผสม 5 สายพันธุ์ ลงได้ (มีอัตราการตายประมาณ 7%) ทั้งนี้ไก่ทุกตัวต้องได้รับการทำวัคซีนตรงตามโปรแกรมที่กรมปศุสัตว์กำหนด จึงได้ทดสอบง่ายๆ ในช่วงที่ 2 โดยเริ่มจากแบ่งไก่ออกเป็น 16 คอก คอกละ 6 ตัว ซึ่งไก่ทุกตัวมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง หลังจากนั้น ได้นำไก่ชาวบ้านที่ป่วยเป็นโรคระบาดดังกล่าว มาใส่รวมไว้ในคอกที่ 2 ให้น้ำเปล่าตามปกติ หลังจากนั้นสังเกตอาการป่วย ปรากฏว่าไก่คอกที่ 2 มีอาการป่วยอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงเริ่มให้ฟ้าทลายโจรน้ำหนักแห้ง 10 กรัม ผสมน้ำ 2.5 ลิตร ให้ไก่กินตั้งแต่คอกที่ 5-16 ปรากฏว่า ไก่คอกที่ 1-4 ตายหมด คอกที่ 5-16 ไม่ตายและยังมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์ หยุดให้ฟ้าทลายโจร และนำน้ำฉีดลงที่พื้นคอกให้เปียกแฉะ (พื้นคอกปูด้วยแกลบ) สังเกตอาการของไก่ที่เหลือพบว่ามีไก่ป่วยแต่อาการไม่รุนแรง จึงให้ฟ้าทลายโจรอีกครั้งหนึ่งผสมลงในน้ำอัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 2.5 ลิตร พบว่าสามารถลดอัตราการตายของไก่พื้นเมืองลูกผสม 5 สายพันธุ์ ลงได้ ซึ่งถ้าหากได้มีการทดลอง วิจัยในระดับที่ละเอียดและชัดเจน อาจจะมีประโยชน์ต่อวงการปศุสัตว์ได้มากขึ้น ดังนั้น การให้อาหารที่มีพืชสมุนไพรฟ้าทลายโจร 1.0% ในสูตรอาหารจึงยังคงสร้างกำไรและลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคในฟาร์มได้ และหากเกษตรกรมีการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทลายโจรใช้เองจะทำให้การเลี้ยงไก่ได้กำไรมากยิ่งขึ้น เพราะสมุนไพรฟ้าทลายโจรมีราคาแพง หากจะจัดซื้อมาผสมอาหารไก่เอง ซึ่งมีราคาประมาณ 200 บาท ต่อกิโลกรัม

หากมีข้อสงสัยหรือข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
สถาบันการศึกษาคือ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร หรือผู้ทำการศึกษาตามที่อยู่นี้
นายนพรัตน์ ทองนุ้ย 5/3 หมู่ 2 ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก 65160
โทรศัพท์ (01) 953-2019

การทำสับปะรดนอกฤดู


ชนิดของสารที่ใช้บังคับให้สับปะรดออกดอก
วิธีการใช้ดังนี้
1.การใช้ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด์ เป็นสารเคมีที่ชาวสวนนิยมใช้กันมากเพราะหาง่ายและราคาไม่แพง มีวิธีการใช้ด้วยกัน 3 วิธีคือวิธีที่ 1 ป่นถ่านแก๊สให้เป็นเม็ดขนาดเท่าปลายก้อย แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรด จากนั้นจึงหยอดน้ำตามลงไปประมาณ 50 ซี.ซี. (ประมาณ ¼ กระป๋องนม) หรืออาจจะดัดแปลงโดยป่นถ่านแก๊สป่นประมาณ 0.5-1.0 กรัมต่อต้น (ใน 1 ไร่จะใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1-2 กิโลกรัม) วิธีนี้มักจะทำให้ช่วงหลังฝนตก เพราะมีความสะดวกและประสิทธิภาพการใช้ถ่ายแก๊สจะดีกว่าช่วงอื่น อย่างไรก็ตามวิธีที่ 1 นี้ มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเวลาและแรงงานมากเพราะต้องมีคนใส่ถ่านแก๊สคนหนึ่ง และหยอดน้ำตามอีกคนหนึ่งวิธีที่ 2 ใช้ถ่านแก๊สละลายน้ำ โดยใช้ถ่านแก๊สประมาณ 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 1-2 ปี๊บ แล้วหยอดลงไปที่ยอดสับปะรดต้นละ 50 ซี.ซี. (1 กระป๋องนม หยอดได้ 4 ต้น) วิธีนี้เหมาะมากถ้าทำในช่วงฤดูแล้ง เพราะสามารถทำได้รวดเร็วแต่วิธีนี้มีข้อเสียอยู่บ้างคือ สิ้นเปลืองถ่านแก๊สมากวิธีที่ 3 ใช้ถ่านแก๊สใส่ลงไปในกรวย แล้วเทน้ำตามลงไปเพื่อให้น้ำไหลผ่านถ่านแก๊สในกรวย ลงไปยังยอดสับปะรด วิธีนี้ไม่ค่อยปฏิบัติกันเนื่องจากให้ผลไม่แน่นอนและไม่สะดวกในการปฏิบัติหลังจากหยอดถ่านแก๊สไปแล้วประมาณ 45-50 วัน จะสังเกตเห็นดอกสีแดง ๆ โผล่ขึ้นมาจากยอดสับปะรด นับจากนั้นไปอีก 4-5 เดือน จะสามารถตัดสับปะรดแก่ไปขายหรือนำไปบริโภคได้ ซึ่งผลสับปะรดที่เก็บเกี่ยวนี้จะแก่ก่อนกำหนดประมาณ 2 เดือน ดังนั้นถ้านำไปขายก็จะได้ราคาที่สูงกว่าปกติ***การใช้ถ่านแก๊สบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูกาลนี้มีผู้ปลูกบางรายลงความเห็นว่า การใช้ถ่านแก๊สนอกจากจะสิ้นเปลืองแรงงานหรือต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นแล้ว ยังมีผลทำให้การเกิดหน่อของสับปะรดมีน้อยกว่าปกติหรืออาจจะไม่มีหน่อเลย และที่เห็นได้ชัดเจนก็คือขนาดของผลเล็กลง ทำให้น้ำหนักผลสับปะรดเฉลี่ยต่อไร่ลดลงด้วย นอกจากนี้แล้วสับปะรดที่ใช้ถ่านแก๊สนี้จะเก็บผลไว้ได้ไม่นานคือเพียง 3-5 วันเท่านั้น หากเก็บไว้นานกว่านี้สับปะรดจะไส้แตก เนื้อจะเน่า รสชาติจะเปลี่ยนไป และหากมีการใช้ถ่านแก๊สมากเกินไปจะทำให้ยอดสับปะรดเหี่ยว ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ต้นตายได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพียงการตั้งข้อสังเกตและลงความเห็นของเกษตรกรบางรายเท่านั้น และคิดว่าปัญหาเหล่านี้คงจะหมดไป ถ้าหากนักวิชาการเกษตรหันมาให้ความสนใจและหาวิธีป้องกันหรือวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป
2. การใช้สารเอทธิฟอน เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติในการปล่อยก๊าซเอทธิลีนออกมาโดยตรง เมื่อเอทธิฟอนเข้าไปในเนื้อเยื่อสับปะรดจะแตกตัวปล่อยเอทธิลีนออกมาเอทธิลีนจะเป็นตัวชักนำให้เกิดการสร้างตาดอกขึ้น ที่จำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ 2 ชนิด คือ1. ชนิดเข้มข้น มีสารออกฤทธิ์ 39.5% บรรจุในถุงพลาสติกขนาด 1 แกลลอนโดยใช้อัตรา 17-30 ซี.ซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บและปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้หยอดต้นละ 60 ซี.ซี. (กระป๋องนมละ 4 ต้น)2. ชนิดที่ผสมให้เจือจางแล้วบรรจุในขวดพลาสติกขนาด 1 ลิตร มีชื่อการค้าว่า อีเทรล ใช้ในอัตรา 60-120 ซี.ซี. ผสมน้ำ 1 ปี๊บและปุ๋ยยูเรีย 350-500 กรัมให้หยอดต้นละ 60 ซี.ซี. (กระป๋องนมละ 4 ต้น)***ปริมาณการใช้เอทธิฟอนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดของต้นสับปะรดด้วยกล่าวคือ ถ้าหยอดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมหรือต้นสมบูรณ์มากให้ใช้ในปริมาณมากขึ้น หรือหากจำเป็นต้องหยอดยอดในตอนกลางคืน ช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวให้ใช้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
3. ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ. หรือที่มีขายกันตามท้องตลาดในชื่อการค้าว่า แพลนโนฟอกซ์ใช้ในอัตรา 50 ซี.ซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และปุ๋ยยูเรีย 4-5 กิโลกรัม หยอดไปที่ยอดสับปะรด อัตรา 60 ซี.ซีต่อต้น สามารถบังคับให้สับปะรดออกดอกก่อนฤดูได้เช่นกันข้อควรคำนึงในการบังคับให้สับปะรดออกดอกนอกฤดูกาล : 1. การบังคับให้สับปะรดออกดอก ควรทำในตอนเช้าหรือตอนเย็นหรือในเวลากลางคืน ซึ่งจะทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกมีมากขึ้น2. เตรียมสารและผสมสารไว้ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อใช้ในครั้งหนึ่ง ๆ นั้นควรผสมสารไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ตัวยาบางชนิดเสื่อมคุณภาพ3. ถ้าหากฝนตกในขณะที่ทำการหยอดสารหรือภายใน 6 ชั่วโมง หลังจากหยอดสาร จะต้องหยอดสารใหม่
4. ควรทำการบังคับหรือหยอดสารซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่หยอดครั้งแรกไปแล้ว 7 วัน ทั้งนี้เพื่อให้การหยอดสารได้ผลแน่นอนขึ้น
5. หลังจากหยอดสารไปแล้ว ถ้าสับปะรดต้นไหนเป็นโรคโคนเน่าหรือไส้เน่าก็ให้ใช้ยา อาลีเอท หยอดหรือฉีดพ่นที่ต้นในอัตรา 30 ซี.ซี. ต่อต้นซึ่งสามารถรักษาโรคนี้ได้ดี
6. ถ้าต้องการเร่งให้ผลสับปะรดโต ควรใช้ฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์อัตรา 50 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 จำนวน 50 กรัม ราดหรือฉีดพ่นให้ทั่วทั้งผล ในขณะที่ผลมีขนาดเท่ากำปั้น และกระทำทุก ๆ 30-45 วัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผล ทำให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น
7. กรณีที่ต้องการยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไปอีก ก็ให้ฉีดพ่นฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์ อัตรา 100 ซี.ซี. ผสมน้ำ 200 ลิตร และผสมปุ๋ยเกล็ดสูตร 20-20-20 จำนวน 500 กรัม ฉีดพ่นให้ทั่วผลสับปะรดก่อนที่ผลสับปะรดจะแก่หรือสุกประมาณ 15 วัน ทำให้ผู้ปลูกทยอยเก็บเกี่ยวผลสับปะรดได้ทันทั้งไร่ ทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดและปรับปรุงคุณภาพของสับปะรดที่เก็บเกี่ยวล่าช้านี้ให้ดียิ่งขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจาก
ส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
โทร.053-873938-9
http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit043.htm