วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การทำฝนเทียม

การทำฝนเทียม
การทำฝนเทียม อาศัยเทคนิคจากการศึกษาค้นคว้าว่ากรรมวิธีของฝนในธรรมชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงได้พยายามเลียนแบบธรรมชาติโดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะ พอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ การทำฝนเทียมมักทำใน 2 สภาวะ คือ การทำฝนเทียมในเขตอบอุ่นซึ่งมีเมฆที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า องศาเซลเซียส และ การทำฝนเทียมในเขตร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 0
การทำฝนเทียมแบบแรก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการทำฝนเมฆเย็น จะทำเมื่อยอดเมฆสูงเฉลี่ย 21,500 ฟุต หรือประมาณ 6,450 เมตรมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เป็นเมฆคิวมูลัส จะเกิดเฉพาะช่วงต้นและปลายฤดูฝน การทำฝนเทียมในเมฆชนิดนี้ใช้โปรยหรือหว่านด้วยเม็ดน้ำแข็งแห้งเล็ก ๆ (dry ice) หรือ ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (silver iodide) จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เร่งเร้าให้เม็ดน้ำเย็นยิ่งยวดเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นผลึกหรือเกล็ดน้ำแข็งทันทีแล้วคายความร้อนแฝงออกมา พลังงานความร้อนดังกล่าวทำให้มวลอากาศภายในก้อนเมฆลอยตัวขึ้นเบื้องบนมีผลทำให้เกิดแรงดึงดูดใต้ฐานเมฆ ซึ่งจะดูดเอาความชื้นเข้ามาหล่อเลี้ยงทำให้ก้อนเมฆเจริญเติบโตและมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันแรงยกตัวจะหอบเอาเกล็ดน้ำแข็งเล็ก ๆ ขึ้นไปข้างบนทำให้เกล็ดน้ำแข็งเหล่านี้มีขนาดใหญ่ขึ้นพอมีน้ำหนักมากกว่าที่แรงยกตัวจะพยุงไว้ได้ก็ตกลงมา จนผ่านชั้นอากาศที่อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก้อนน้ำแข็งก็จะละลายกลายเป็นน้ำฝน
ส่วนการทำฝนเทียมแบบที่สอง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการทำฝนเมฆอุ่น มีลักษณะของเมฆก่อตัวขึ้นเป็นแนวตั้งฉากเป็นเมฆคิวมูลัส (Cumulus) ซึ่งสังเกตได้จากกลุ่มเมฆจะมีลักษณะฐานเมฆสีดำ ก้อนเมฆก่อตัวขึ้นคล้ายดอกกะหล่ำปลีอยู่ที่ระดับความสูงของฐานเมฆไม่เกิน 16,000 ฟุต มีอุณหภูมิภายในก้อนเมฆสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส การทำฝนเทียมในเมฆชนิดนี้จะใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการชนและรวมตัวกันของเม็ดเมฆขนาดต่าง ๆ

คลิกดูข้อมูลการทำฝนเทียมโดยละเอียด ได้ที่นี่

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณนะคะที่ทำให้หนูเข้าใจเรื่องฝนเทียมเพราะหนูสงศัยมานานแล้วตั้วแต่เด็กๆ อ่านไปก็ได้ความรู้ไปคะ
    ขอบคุณที่ให้ความรู้นะคะ😊🙏👍📖

    ตอบลบ