วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แบบฉบับการเลี้ยงปลาในนาข้าว

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรนานาชนิดสมดังคำ กล่าวของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ว่า “ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว” แต่ปัจจุบันคำ กล่าวนี้กำลังจะสูญสิ้นความหมายไป ทั้งนี้เพราะสภาพบ้านเมืองได้พัฒนาขึ้นตามกาลสมัย ทำให้สภาพของแหล่งนํ้าธรรมชาติ เช่น แม่นํ้า ลำ คลอง หนอง บึง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของปลาและสัตว์นํ้าเปลี่ยนสภาพเสื่อมโทรมและตื้นเขินยิ่งขึ้นทุกวัน อันเป็นสาเหตุหนึ่งทำ ให้ปริมาณปลาลดน้อยลงไม่เพียงพอแก่ความต้องการของพลเมืองที่เพิ่มจำ นวนขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปลายังเป็นอาหารจำ พวกเนื้อที่สำ คัญประจำ มื้อประจำ วันของคนไทยควบคู่ไปกับข้าวทั้งยังเป็นอาหารโปรตีนจำ พวกเดียวเท่านั้นที่พี่น้องชาวไทยได้พึ่งพาอาศัยเป็นอาหารหลักอยู่ เพราะอาหารประเภทเนื้อสัตว์อื่นๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัวและเป็ด ไก่ นับวันจะหายากและทั้งราคาแพงยิ่งขึ้น หากเปรียบเทียบในด้านคุณค่าของอาหารประเภทเนื้อสัตว์แล้ว เนื้อปลามีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งเป็นอาหารที่ย่อยง่ายที่สุด นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบบางอย่าง เช่น กรดอะมิโน ซึ่งจำ เป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายสูงกว่าอาหารในจำ พวกโปรตีนชนิดอื่นอีกด้วย
ลิ้งเว็ปแหล่งข้อมูล :
http://www.phanom.ru.ac.th/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/fish/planakow.pdf

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สูตรการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

การทำปุ๋ยอินทรีย์เป็นการปรับโครงสร้างดินทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากการนำวัสดุเหลือใช้จากแปลงไร่นา เช่นเศษหญ้า ต้นพืชต่างๆ และปุ๋ยคอกมูลสัตว์ นำมาหมักเป็นปุ๋ย
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มาดำเนินกิจกรรมเกษตรปลอดสารพิษ และส่งเสริมเกษตรกรนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มาผสมผสานในการดำเนินกิจกรรมเกษตร ในการใช้ปุ๋ยเคมีนานๆจะมีผลต่อโครงสร้างของดินทำให้ดินแน่น ดินไม่ร่วนชุ่ยรากพืชหาอาหารได้ยากทำให้พืชไม่เจริญงอกงาม และในปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก
การทำปุ๋ยอินทรีย์
น้ำหมักหอยเชอรี่
วัสดุอุปกรณ์
1.ถังพลาสติก 1 ใบ
2. หอยเชอรี่ 3 กก.
3. กากน้ำตาล 1 กก.
4. น้ำสะอาด 10 ลิตร
ขั้นตอนการหมักหอยเชอรี่
1. นำหอยเชอรี่ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย น้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. บรรจุในถังพลาสติกหรือโอ่งมังกร หาอิฐบล็อกทับบนหอย
3. ปิดฝาถังที่หมักให้สนิท หมักทิ้งไว้ 1 เดือน ก็จะได้ปริมาณ น้ำหมักที่ต้องการ
4. กรองเอาน้ำบรรจุใส่ขวดพลาสติกเก็บในที่ร่ม นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

การทำปุ๋ยหมัก
วัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก
1. มูลสัตว์แห้ง !00 กก.
2.เปลือกถั่วเขียว 100 กก.
3.น้ำหมักหอยเชอรี่ 10 ชต. กากน้ำตาล 10 ชต. น้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน
วิธีการทำ
1. นำวัสดุต่าง ๆ มาเทรวมกันเป็นกองแล้วคลุกเคล้าจนเข้ากัน
2. นำส่วนผสมในข้อ 3 ที่เตรียมไว้ ราดบนกองวัสดุให้ชุ่มแล้วผสมคลุกเข้าให้เข้ากัน
3. สังเกตโดยการนำมากำให้แน่น ถ้าจับตัวเป็นก้อนหมาด ๆ ก็ใช้ได้
4. จากนั้นนำมาหมักโดยนำมากองเอาผ้าพลาสติกคลุมทับ ทิ้งไว้ 1 เดือนนำมาใช้ประโยชน์ได้ (เมื่อกองปุ๋ยหมักเย็น)

การทำปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยรองพื้นจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้อัตราส่วน 25 -30 กก./ไร่
วัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยรองพื้น
1. ปุ๋ยหมักบดละเอียดแล้ว 70 กก.
2. ปุ๋ยเคมีสูตร 18 -46- 0 10 กก.
3. ปุ๋ยเคมีสูตร 46 – 0 – 0 15 กก.
4. ปุ๋ยเคมีสูตร 0 – 0 – 60 5 กก.
5. น้ำหมักชีวภาพ(หอยเชอรี่) 20 ลิตร
สูตรเร่งการเจริญเติบโต

เป็นสูตรปุ๋ยเร่งการเจริญเติบติดดอกออกผล โดยใช้ในอัตราส่วน 25 – 30 กก.
วัสดุที่ใช้
1. ปุ๋ยหมัก (บดละเอียดแล้ว) 65 กก .
2. ปุ๋ยเคมีสูตร 18 – 46 – 0 10 กก.
3. ปุ๋ยเคมีสูตร 0 – 0 – 60 5 กก.
4. ปุ๋ยเคมีสูตร 46 – 0 – 0 20 กก.
5. น้ำหมักชีวภาพ (หอยเชอรี่) 10 ลิตร
วิธีการทำ
1. นำปุ๋ยหมักตามอัตราส่วนมากอง
2. แล้วนำปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 , 0-0-60 ,18-46-0 นำมาผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมัก
3. นำน้ำหมักหอยเชอรี่ที่เตรียมไว้ราดบนวัสดุให้ชุ่ม แล้วผสมคลุกเคล้า ให้เข้ากันโดยใช้เครื่องผสมปุ๋ย สังเกตโดยการนำมากำให้แน่น ถ้าจับตัวเป็นก้อนหมาดก็ใช้ได้
4. นำปุ๋ยที่ผสมเสร็จแล้วไปใส่ในเครื่องอัดเม็ดแล้วนำไปตากแดด เมื่อแห้งแล้วนำไปบรรจุกระสอบก็ไว้ในที่ร่ม

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สูตรบำรุงพืช เร่งโต ขั้วเหนียว

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ ดังนี้
วัสดุส่วนผสมจากสัตว์ที่ไม่มีกระดูสันหลัง
เช่น กุ้ง กระดองปู ปลาหมึก ไส้เดือน กิ้งกือ ไข่อ่อน ไข่หอยเชอรี่ แมลงทุกชนิด หนอนต่างๆ รกสัตว์ นมสด
วัสดุผสมผสมจากพืช
เช่น หัวไช่เท้าแก่ๆ ข้าว-ข้าวโพดที่กำลังเป็นน้ำนม โสมไทย ยอดผักปรัง น้ำมะพร้าว ผลตำลึง ผลไข่กา มันแกว (วัสดุที่มาใช้จะต้อง สด ใหม่ สมบูรณ์ ไม่มีโรค)
วิธีการทำ
1. นำพืชผักมาสับให้ละเอียดใส่ถังหมักโดยใช้อัตราส่วนพืช-ผัก 3 กิโลกรัม ต่อกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
2.นำสัตว์มาบดหรือสับให้ละเอียดใส่ถังหมัก โดยใช้อัตรา สัตว์ 1 กิโลกรัมต่อกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
3.นำส่วนผสมตามข้อ 1 และ ข้อ 2 มาใส่ถังหมัก 200 ลิตร รวมกันเติมน้ำมะพร้าวอ่อนหรือแก่ ใส่ลงไปให้มากๆ ใส่จุลินทรีย์ต่างๆ ลงไปเท่าที่จะหาได้ คนให้เข้ากัน ปิดฝาเก็บไว้ในร่ม คนวันละ 1-2 ครั้ง หมักประมาณ 3 เดือน จะได้ธาตุมาหารหลัก 6 เดือนจะได้ธาตุรอง 6-12 เดือน จะได้ธาตุอาหารเสริม
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น ให้กรอกเอาแต่น้ำ นำมากลั่นจนได้น้ำกลั้น 20 ลิตร แล้วเติมด้วย แคลเซียม 1.2 กิโลกรัม โบรอน 4 ขีด และจีบเบอร์ลีนผสมใส่ถังคนให้เข้ากันเก็นไว้ใช้ได้เลย ประโยชน์ที่ได้ - ช่วยบำรุง ยึดช่อดอก ทำให้ขั้วเหนียว ติดผลดก เร่งผลให้โต วิธีการใช้ - ใช้ฉีดพ่นทางใบ 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 5-7 วัน/ครั้ง
แหล่งข้อมูล : นายณัฐพงษ์ แก้วนวล ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานบ้านหนองขอน129 หมู่ 9 บ้านหนองขอน ตำบลเนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก โทร.087-3172974

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ติดอาวุธทางปัญญาแก่เกษตรกรไทย *1677


บริการข้อมูลทางด่วนเพื่อการเกษตร ผ่าน SMS กด *1677 กด 1 ทุ่งร่วงทอง กด 2 สวนเงินไร่ทอง กด 3 ปศุสัตว์เศรษฐี สมัครและใช้บริการฟรี! ( เฉพาะลูกค้า ดีแทค ทั้งแบบเติมเงินและรายเดือน )
สอบถาม โทร.055-212445

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การทำน้ำยาจับใบ

ส่วนประกอบ
1. เกลือ 1 กก.
2. N 70 1 กก.
3. น้ำเปล่า 14 ลิตร
วิธีทำ
นำ N 70 ใส่ถังเรียบ ใช้ไม้พาย กวนไปในทางเดียวกันให้นานประมาณ 5-7 นาที แล้ค่อยๆ เติมน้ำเกลือสลับกับน้ำที่ละน้อย กวนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดและให้เกิดฟองละเอียดจากนั้นทิ้งไว้ให้ฟองยุบ แล้ว จึงนำไปใส่ขวด หลังจากนั้นนำไปใช้ได้

การผลิตเชื้อ บี ที และ เชื้อบีเอส (บาซิลัส ซับทีลิส)

บีที เป็นจุลินทรีย์มีฤทธิ์ทำลายแมลง เมื่อหนอนกินเชื้อ บีที เข้าไป สารพิษที่ บีทีสร้างขึ้น จะมีผลทำให้ระบบย่อยอาหารเสีย หยุดกินอาหาร เคลื่อนไหวช้าเซื่องซึม สลึมสลือ ชักกระตุก โลหิตเป็นพิษ เป็นอัมพาต และตายใน 1-2 วัน และหลังตายซากหนอนคงรูปร่างเดิมแต่สีเปลี่ยนเป็นน้ำตาลหรือดำ เชื้อบีที ควบคุมหนอนได้หลายชนิดที่ดื้อต่อสารเคมี ไม่เป็นพิษต่อ คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
การใช้เชื้อบีที มีทั้งรูปผงแห้งและน้ำเข็มข้น การใช้ตามคำแนะนำ ฉลากข้างขวด
1. ควรผสมสารจับใบทุกครั้งที่พ่น
2. ควรพ่นเชื้อบีทีทุก 3-5 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ในช่วงระบาด 4
3. ควรปรับหัวฉีดให้เกิดละอองน้ำมากที่สุด
4. ควรใช้เชื้อบีทีในขณะหนอนยังเล็ก
ชนิดของหนอนที่เชื้อบีที ควบคุมได้
- พืชผัก หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนผีเสื้อขาว หนอนกินใบ
- พืชไร่ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนบุ้ง หนอนคืบละหุ้ง
- ไม้ผล หนอนประกบใบส้ม หนอนกินใบชมพู่ หนอนร่าน หนอนแก้วส้ม หนอนไหมป่า หนอนแปะใบองุ่น

วิธีการขยายเชื้อบีที เก็บไว้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นำไปใช้ตามคำแนะนำข้างขวด
1. ใช้เชื้อบีที 250 ซี.ซี. + น้ำ 20 ลิตร + นมขนหวาน 1 กระป๋อง คนให้เข้ากันทุกวัน(ปิดฝา 3 วัน)
2. เติมนมข้นหวานอีก 1 กระป๋อง + กากน้ำตาล 1 ลิตร คนให้เข้ากันทุกวัน(ปิดฝา 3 วัน)
3. เติมนมข้นหวานอีก 1 กระป๋อง + กากน้ำตาล 1 ลิตร คนให้เข้ากันทุกวัน(ปิดฝา 3 วัน)
อายุการเก็บรักษาเชื้อบีที
1. ชนิดผงแห้ง จะมีอายุ 5 ปี นับจากวันผลิต
2. ชนิดน้ำเข้มข้น จะมีอายุ 3 ปี นับจากวันผลิต
3. ชนิดน้ำเข้มข้นมาขยายเชื้อ จะมีอายุ 6 เดือน นับจากวันขยายเชื้อ
เทคนิคการใช้เชื้อ บี ที
1. ควรใช้เชื้อ บี ที ในขณะที่หนอนยังตัวเล็ก
2. ควรพ่น บี ที ในตอนเย็นเพื่อเลี่ยงแสงแดด และมีความชื้นสูง
3. ควรผสมสารจับใบทุครั้ง เพื่อช่วยให้ บี ที ติดกับส่วนต่าง ๆ ของพืชได้นานยิ่งขึ้น
4. ควรปรับหัวฉีดให้เกิดละอองน้ำให้มากที่สุด เพื่อพ่นตัวให้มากที่สุด
5. ควรพ่น บี ที ทุก 3-5 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ในช่างที่หนอนเกิดการระบาด
6. ไม่ควรผสมเชื้อ บี ที กับสารป้องกันกำจัดโรคพืช โดยเฉพาะสารที่ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น สารปฏิชีวนะ และคอปเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น และไม่ควรผสมเชื้อ บี ที ในน้ำที่เป็นด่าง

ข้อดีของการใช้เชื้อ บี ที
· เฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย ไม่มีผลกระทบต่อแมลงชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการกำจัด เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน
· ปลอดภัยต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ ทั้งผู้บริโภคและผู้ใช้
· ไม่มีฤทธิ์ตกค้าง เมื่อพ่น บี ที แล้วสามารถนำพืชมาบริโภคได้โดยไม่ต้องทิ้งระยะก่อนเก็บเกี่ยว
· มีประสิทธิภาพสูง เมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ
ข้อควรจำ
ไม่ควรใช้เชื้อ บี ที กับแปลงหม่อนสำหรับเลี้ยงไหมและไม่ควรฉีดพ่น บี ที ใกล้กับ แหล่งที่เลี้ยงไหม เพราะ บี ที มีฤทธิ์ทำลายไหมสูง บี ที ช่วยอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ
การผลิตขยายเชื้อ
Bacillus thuringiensis
เกษตรกรสามารถขยายการผลิตเชื้อ Bacillus thuringiensis ได้ด้วยตัวเองโดยอุปกรณ์ที่ใช้
1. ถังพลาสติกมีฝาปิด ขนาดความจุ 40-50 ลิตร
2. เชื้อ Bacillus thuringiensis (สายพันธุ์ aizawai , kurstaki)
3. นมข้นหวาน 4 กระป๋อง
4. กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม
ขั้นตอนการผลิตขยายเชื้อ
แบคทีเรียบาซิลัส ทูริงเยนซิส
1.เติมน้ำสะอาดในถังพลาสติกปริมาตร 40 ลิตร
2. เติมนมข้นหวาน 2 กระป๋อง
3. เติมเชื้อ Bacillus thuringiensis 500 ลิตร
4.คนให้เข้ากัน จากนั้น ให้อากาศด้วยตัวเป่าอากาศตู้ปลา เป็นเวลา 3 วัน (หากไม่มีตัวเป่าอากาศ ให้ใช้ไม้คนเช้า เย็น)
5. เติมนมข้นหวาน 2 กระป๋อง และกากน้ำตาล 2 กิโลกรัม ให้อากาศอีก 3-5 วัน จึงนำไปฉีดพ่นหนอนต่อไป

1.4 เชื้อบีเอส (บาซิลัส ซับทีลิส)
เชื้อบีเอส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับพืชโดยไม่ทำความเสียหายให้กับพืช มีความสามารถในการแย่งธาตุอาหารได้ดีกว่าเชื้อจุลินทรีย์อื่น และสร้างสารปฏิชีวนะได้หลายชนิด ทำให้เชื้อโรคพืชลดการทำลายพืช และทำลายเชื้อโรคพืชทำให้ลดปริมาณเชื้อโรคพืช
เชื้อบีเอสสามารถควบคุมโรคพืชได้หลายชิดทั้งเชื้อรา เช่น โรคเหี่ยว โรครากเน่าโคนเน่า โรคแอนแทรกโนส และเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าแลโรคแดงเกอร์ การใช้เชื้อบีเอสให้ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลากข้าวภาชนะ และฉีดพ่นในตอนเย็น การเลือกซื้อต้องดูวันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ เป็นเชื้อที่เก็บในที่แห้งไม่ถูกแสงแดด
การผลิตการขยายเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัสซับทีลิส (บีเอส)
เกษตรกรสามารถขยายการผลิตเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส (บีเอส) ได้ด้วยตนเองโดย
อุปกรณ์ที่ใช้
1. ถังพลาสติกมีฝาปิด ขนาดความจุ 40-50 ลิตร
2. เชื้อบีเอส
3. นมข้นหวาน 4 กระป่อง
4. กากน้ำตาล 2 กก.
ขั้นตอนการผลิตการขาย
1. เติมน้ำสะอาดในถังพลาสติก 40 ลิตร
2. เติมนมข้นหวาน 2 กระป๋อง
3. เติมเชื้อบีเอส 500 มิลลิลิตร
4. คนให้เข้ากัน จากนั้นให้อากาศด้วยตัวเป่าอากาศตู้ปลา เป็นเวลา 3 วัน (หากไม่มีตัวเป่าอากาศให้ใช้ไม้คนเช้า เย็น)
5. เติมนมข้นหวานอีก 2 กระป๋อง และกากน้ำตาล 2 กก. ให้อากาศอีก 2-3 วัน จึงนำไปฉีดพ่น
ต่อไป

การผลิตเชื้อราบิววาเรีย (เพชฌาตขาว/ราขาว)

เชื้อราบิววาเรีย (Beauveria) ทำให้เกิดโรคกับแมลง เพลี้ยต่างๆ เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นเพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยอ่อนส้ม ไรขาว แมลงหวี่ข้าว บั่ว หนอนห่อใบ แมลงค่อมทองในอ้อยหนอนผีเสื้อ ด้วง ยุง แมลงวัน(ปลวก มดคันไฟ ตายยกรังได้)
กลไกการทำลายแมลง คือ สปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวแมลงในความชื้นที่เหมาะสม(ความชื้นสัมพันธ์ 50%ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาที่ต่างกัน ตามชนิด ขนาด อายุ และวัย โดยทั่วไป 3-14 วัน
การผลิตเชื้อราบิววาเรีย (เพชฌาตขาว/ราขาว)
1. เตรียมถุงเชื้อ ใช้เมล็ดข้าวฟ่าง เมล็ดข้าวโพด(แป้ง) ดีที่สุด
1.1 แช่น้ำ 1 คืน นำมาผึ่งให้หมาด
1.2 บรรจุถุง(ร้อน) ถุงละ ½ กก.(ตวงในกระบอกที่วัดขนาดมาแล้ว)
1.3 ใส่คอขวด พับชายลงมา อุดสำลีให้แน่น หุ้มด้วยกระดาษกันน้ำเปียก รัดหนังยาง
2. นึ่งฆ่าเชื้อ ใช้อุณหภูมิ 121๐C ที่ความดัน 15 lb/นิ้ว2 ใช้เวลา 30 นาที ถ้าใช้หม้อลูกทุ่ง โดยใส่ถุงอาหารเลี้ยงเชื้อได้ประมาณ 140-150 ถุง ฝาถังมีเข็มรัด ด้านบนมีก๊อกน้ำระบายแรงดันเปิด ½ ของวาวส์ใช้เวลา 3 ช.ม.
3. การเขี่ยเชื้อ
- ต้องทิ้งให้อาหารเลี้ยงเชื้อเย็นก่อน
- ฉีดแอลกอร์ฮอร์ 70% ให้ทั่วอบและมือ หรือใช้ผ้าชุบเช็ดให้ทั่วทั้งตู้อบและมือ
- ถุงอาหารเลี้ยงเชื้อสาไว้ด้านซ้าย ตะเกียงอยู่กลาง
- เข้มเขี่ยปลายงอเชื้อลนไฟครั้งแรกให้แดง เอาเข็มมาเขี่ยเชื้อใส่ ¼ ซ.ม. 2/ถุง
- ขวดเชื้อเมื่อเขี่ยเชื้อแล้ว รนไฟปิดจุก
4. การบ่มเชื้อ เชื้อจะเดินในถุงใช้เวลา 2-3 อาทิตย์ มีอายุได้ 3-4 เดือน
5. วิธีการใช้
5.1 เชื้อค่อนข้างอ่อนแอต่อแสงแดดและอุณหภูมิสูง ควรใช้ในช่วงเย็นถึงค่ำ(ในฤดูฝน)
5.2 อัตราการใช้ก้อนเชื้อ 3 ก้อน / น้ำ 200 ลิตร (นำก้อนเชื้อมาใส่ในตาข่ายเขียว มายีหรือขยี้ในน้ำ)ให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดลงในน้ำ นำเมล็ดข้าวโพดทิ้ง นำน้ำไปฉีดพ่น
5.3 ระหว่างฉีด ให้กวนน้ำเป็นระยะๆ และปรับหัวฉีดให้พ่นฝอยละเอียด
5.4 เชื้อจะทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติบางชนิดด้วย ถ้ามีอยู่มากควรงดฉีด
5.5 เชื้อจะทำลายแมลงได้ในสภาพชื้นสูง ดังนั้น ในหน้าแล้ง ก่อนและหลังใช้เชื้อควรพ่นละอองน้ำ

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

เชื้อราไตรโคเดอร์มา
ลักษณะทั่วไป (เพชฌาตเขียว/ราเขียว)

1. สามารถควบคุมเชื้อราไฟท๊อปเทอร่า ที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำลายเส้นใยเชื้อราโรคพืชด้วยการพัดรัดหรือแทงเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราในโรคพืช
2. สามารถทำลายเชื้อราอีกหลายชนิด เช่น สเคอโรเทียม พิเทียม ไรช๊อคโทเนีย ฟิวซาเรียม
3. พบทั่วไปในดินทั่วโลก เจริญได้ดีและมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาว ในดินที่มีความชื้นสูงแต่มาแฉะ มี p.H.5.3-6.5
4. มีคนนำไปใช้ใน ข้าวกับโรคไหม้ข้าว ใช้ได้ดี

วิธีการผลิต
1. นำเมล็ดข้าวโพดแป้ง(ดี)เมล็ดข้าวฟ่าง เมล็ดข้าวเปลือก อย่างใดอย่างหนึ่ง มาแช่น้ำก่อน 1 คืน แล้วนำมาผึ่งพอหมาดๆ บรรจุถุงพลาสติก(ร้อน)ขนาด ½ ก.ก. รัดปากถุงด้วยหนังยาง หรือเย็บด้วยรวดเย็บ
2. นำมานึ่งฆ่าเชื้อ ที่หม้อนึ่งลูกทุ่ง 3 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็น
3. วิธีขยายเชื้อ เขี่ยเชื้อใส่ในถุง เลี้ยงเชื้อขนาด ½ กก. จำนวน ½ ช้อนชา/ถุง ใช้พื้นที่ร่มสงบ(ห้องมิดชิด) มาจำเป็นต้องใช้ ตู้เขี่ยเชื้อ เข็มเขี่ยเชื้อ ตะเกียง แอลกอร์ฮอร์

ส่วนผสมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก. (2ถุง) : รำ 5-10 กก.: ปุ๋ยน้ำหมัก 40 กก. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
1. การคลุกเมล็ด นำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ที่ผสมแล้ว อัตรา 2 % โดยน้ำหนัก
2. การใส่ลงในดิน รองก้นหลุม 300-500 กรัม/ต้น (หรือ 3-5 ช้อนโต๊ะ)
3. โรยรอบบริเวณทรงพุ่ม คลุกด้วยเศษใบไม้แห้ง รดน้ำตามให้ความชื้น แต่ไม่แฉะ

วิธีการเก็บเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
เมื่อผสมแล้วควรใช้ให้หมด ถ้าไม่หมดให้เก็บไว้ในที่ร่ม และใช้ผ้าคลุมไว้
ข้อควรระวัง เชื้อเดินในถุง 7 วัน มีอายุไม่เกิน 1 เดือน (ยืดอายุให้ใส่ในตู้เย็น) ถ้าเชื้อแก่ จะมีใยข้าวเต็มก้อน
1. ไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ควบคุมโรคพืชในบริเวณที่ดินแฉะ
2. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า อย่างน้อยปีหรือฤดูละ 2 ครั้ง
ขั้นตอนการผลิต/ขยายเชื้อด้วยข้าวสุก (ข้าวสาร 3 ส่วน น้ำ 2 ส่วน)
1. พอข้าวสุก ให้รีบตักข้าวใส่ถุงขณะร้อนๆ ถุงละ 2.5 ขีด (3ทับพี)
รอให้เย็น (อุ่นนิดๆ) ใส่หัวเชื้อ ½ ช้อนชา
2. พับเย็บปากถุงด้วยMax 3 ครั้ง หรือรัดหนังยาง ขยี้เขย่าให้เข้ากัน เจาะรู ปากถุง 20 ที(40รู) เกลี่ยข้าวบางๆ อย่างให้ถึงปากรูที่เจาะ ทิ้งไว้ 7 วัน เชื้อเดินเต็ม