วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

เชื้อราไตรโคเดอร์มา
ลักษณะทั่วไป (เพชฌาตเขียว/ราเขียว)

1. สามารถควบคุมเชื้อราไฟท๊อปเทอร่า ที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำลายเส้นใยเชื้อราโรคพืชด้วยการพัดรัดหรือแทงเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราในโรคพืช
2. สามารถทำลายเชื้อราอีกหลายชนิด เช่น สเคอโรเทียม พิเทียม ไรช๊อคโทเนีย ฟิวซาเรียม
3. พบทั่วไปในดินทั่วโลก เจริญได้ดีและมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาว ในดินที่มีความชื้นสูงแต่มาแฉะ มี p.H.5.3-6.5
4. มีคนนำไปใช้ใน ข้าวกับโรคไหม้ข้าว ใช้ได้ดี

วิธีการผลิต
1. นำเมล็ดข้าวโพดแป้ง(ดี)เมล็ดข้าวฟ่าง เมล็ดข้าวเปลือก อย่างใดอย่างหนึ่ง มาแช่น้ำก่อน 1 คืน แล้วนำมาผึ่งพอหมาดๆ บรรจุถุงพลาสติก(ร้อน)ขนาด ½ ก.ก. รัดปากถุงด้วยหนังยาง หรือเย็บด้วยรวดเย็บ
2. นำมานึ่งฆ่าเชื้อ ที่หม้อนึ่งลูกทุ่ง 3 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็น
3. วิธีขยายเชื้อ เขี่ยเชื้อใส่ในถุง เลี้ยงเชื้อขนาด ½ กก. จำนวน ½ ช้อนชา/ถุง ใช้พื้นที่ร่มสงบ(ห้องมิดชิด) มาจำเป็นต้องใช้ ตู้เขี่ยเชื้อ เข็มเขี่ยเชื้อ ตะเกียง แอลกอร์ฮอร์

ส่วนผสมเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก. (2ถุง) : รำ 5-10 กก.: ปุ๋ยน้ำหมัก 40 กก. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
1. การคลุกเมล็ด นำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ที่ผสมแล้ว อัตรา 2 % โดยน้ำหนัก
2. การใส่ลงในดิน รองก้นหลุม 300-500 กรัม/ต้น (หรือ 3-5 ช้อนโต๊ะ)
3. โรยรอบบริเวณทรงพุ่ม คลุกด้วยเศษใบไม้แห้ง รดน้ำตามให้ความชื้น แต่ไม่แฉะ

วิธีการเก็บเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
เมื่อผสมแล้วควรใช้ให้หมด ถ้าไม่หมดให้เก็บไว้ในที่ร่ม และใช้ผ้าคลุมไว้
ข้อควรระวัง เชื้อเดินในถุง 7 วัน มีอายุไม่เกิน 1 เดือน (ยืดอายุให้ใส่ในตู้เย็น) ถ้าเชื้อแก่ จะมีใยข้าวเต็มก้อน
1. ไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ควบคุมโรคพืชในบริเวณที่ดินแฉะ
2. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า อย่างน้อยปีหรือฤดูละ 2 ครั้ง
ขั้นตอนการผลิต/ขยายเชื้อด้วยข้าวสุก (ข้าวสาร 3 ส่วน น้ำ 2 ส่วน)
1. พอข้าวสุก ให้รีบตักข้าวใส่ถุงขณะร้อนๆ ถุงละ 2.5 ขีด (3ทับพี)
รอให้เย็น (อุ่นนิดๆ) ใส่หัวเชื้อ ½ ช้อนชา
2. พับเย็บปากถุงด้วยMax 3 ครั้ง หรือรัดหนังยาง ขยี้เขย่าให้เข้ากัน เจาะรู ปากถุง 20 ที(40รู) เกลี่ยข้าวบางๆ อย่างให้ถึงปากรูที่เจาะ ทิ้งไว้ 7 วัน เชื้อเดินเต็ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น