วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

การขยายพันธุ์กบด้วยวิธีธรรมชาติ

ช่วงฤดูผสมพันธุ์กบอยู่ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน โดยเกษตรกรต้องคัดพ่อแม่พันธุ์กบที่มีความพร้อม ใส่ลงในบ่อที่เตรียมไว้ในอัตราส่วน 1 คู่ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้จับคู่และวางไข่ หลังจากที่พบว่ากบไข่แล้วในเช้าของวันต่อมาให้จับพ่อแม่พันธุ์ออก จากนั้นค่อยๆ เติมน้ำในบ่อให้สูงเป็น 10 เซนติเมตร อาจเพิ่มออกซิเจนด้วยการใช้เครื่องอัดอากาศ ทางที่ดีควรเติมน้ำและให้ออกซิเจนเมื่อสังเกตเห็นว่าไข่มีการพัฒนาเป็นลูกอ๊อดและมีการเคลื่อน ไหวแล้ว มิฉะนั้นอาจจะเกิดการรบกวนทำให้ไข่ไม่เจริญเติบโต
กบบูลฟร๊อก ไข่กบที่ถูกผสมจะฟักเป็นตัวภายในเวลา 3 วัน ลูกอ๊อดของกบบูลฟร๊อกมีลักษณะดีกว่ากบนา คือจะไม่กินกันเองในขณะที่มีชีวิตอยู่ ดังนั้นจึงสามารถเลี้ยงลูกอ๊อดที่มีขนาดต่างกันและอายุต่างกันในบ่ออนุบาลเดียวกันได้ การย้ายลูกอ๊อดควรย้ายเมื่ออายุประมาณ 20 วัน โดยนำไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลที่จัดเตรียมไว้ ลูกอ๊อดกบบูลฟร๊อกเริ่มกินอาหารเมื่ออายุได้ประมาณ 20 วัน โดยนำไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลที่จัดเตรียมไว้ ลูกอ๊อดกบบูลฟร๊อกเริ่มกินอาหารเมื่ออายุได้ประมาณ 3-5 วัน โดยจะกินซากพืชซากสัตว์และสัตว์น้ำขนาดเล็กรวมทั้งซากลูกอ๊อดที่ตายแล้ว ดังนั้นอาหารที่ให้อาจได้จากธรรมชาติ ได้แก่ ตะไคร่น้ำ ไรแดง และเศษพันธุ์ไม้น้ำที่อยู่ในบ่อเลี้ยง เสริมด้วยรำละเอียดและอาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงกบหรือเลี้ยงปลาดุกโดยให้ได้ตลอดวัน ในบ่ออนุบาลต้องมีพันธุ์ไม้น้ำไว้เพื่อเป็นแหล่งพักพิงหรือยึดเกาะเมื่อลูกอ๊อดงอกขาครบ 4 ขาและหางดกลายเป็นลูกกบที่สมบูรณ์ จากนั้นให้ย้ายลูกกบไปเลี้ยงในบ่อเลี้ยงกบเล็กในอัตราส่วน 100 ต่อตารางเมตร บ่อต้องมีหลังคาคลุมแดดและป้องกันศัตรูที่จะเข้ามาทำอันตราย
การอนุบาลลูกกบ
การฝึกลูกกบให้กินอาหารควรทำในบ่อซีเมนต์โดยเริ่มฝึกให้ลูกกบกินอาหารตั้งแต่ระยะที่ลูกอ๊อดหางหดหมด มี 4 ขา เจริญครบสมบูรณ์ เรียกระยะเริ่มขึ้นกระดาน โดยให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดเล็กพิเศษที่ใช้เลี้ยงกบหรือเลี้ยงปลาดุกเล็ก หรือปลาสดบดละเอียดผสมรำที่เกษตรผลิตขึ้นเอง
การเพาะพันธุ์กบต้องแยกกบตัวผู้และตัวเมียออกจากกันเพื่อป้องกันการผสมพันธุ์ก่อนเวลาที่ต้องการ การบังคับกบให้ปล่อยไข่ช้าลงในช่วงฤดูฝน ต้องนำกบไว้ในร่มไม่ให้ถูกฝน ข้อสังเกตกบเพศเมียพร้อมไข่หน้าท้องจะสาก กบเพศผู้จะมีลักษณะตัวเล็กกว่ากบเพศเมีย หากให้ผสมพันธุ์ให้ใช้แม่พันธุ์เพศเมีย 1 ต่อกบเพศผู้หนึ่งตัว

สูตรหมักอาหารสำหรับสุกรช่วยต้านทานโรค


ขมิ้นชัน มีคุณสมบัติ คุณสมบัติเป็นยา รักษาอาการชัก อาการไข้ รักษาผมที่หงอก ผมร่วง ผมคัน รักษามุตกิด ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาแผลโรคผิวหนังผื่นคันบำรุงผิว รักษาอาการท้องเดิน ปวดท้อง ธาตุพิการ อุจจาระเป็นมูกโลหิต ลดอาการบวม รักษาไข้ปวดหัวตัวร้อน สารพัดไข้ ปวดศีรษะ ท้องเดิน ท้องร่วง ลดการขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต
ผลลูกยอสุก มีคุณสมบัติ ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้
สูตรหมักอาหารสำหรับสุกรช่วยต้านทานโรค
วัตถุดิบ มีดังนี้
1. ขมิ้นชัน 3 กิโลกรัม
2. เศษผลไม้ 4 กิโลกรัม
3. ผลลูกยอสุก 1 กิโลกรัม
4. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
5. หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM 4 ฝา

วิธีการทำ
นำขมิ้นชันมาหันเป็นแว่นบางๆ นำผลไม้มาหันเป็นชิ้นเล็กๆ นำลูกยอสุกมาหันเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ถังหมัก ขนาด 10 ลิตร ใส่กากน้ำตาลลงไป 1 กิโลกรัมคนให้เข้ากัน ใส่จุลินทรีย์ EM ใส่ลงไป 4 ฝา คนให้เข้ากัน หมักไว้ 3-5 วัน จนเกิดฝ่าสีขาว จึงสามารถนำไปใช้ได้

วิธีการใช้
นำน้ำหมักที่ได้ มาแช่หญ้าขน หยวกกล้วยหรือคลุกลงในอาหารให้สุกรกิน ช่วยให้สุกรมีสุภาพดี แข็งแรง สุกรจะไม่เป็นหวัดง่าย ลดกลิ่นในเล้าสุกร

การผลิตสุกรให้มีลูกดก

การเลือกพันธุ์แม่สุกรสาว แม่สุกรควรมีอายุตั้งแต่ 7-8 เดือน น้ำหนักตัวอยู่ที่ 100-120 กิโลกรัม คัดเลือกสายแม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ลาร์จไวท์ แม่พันธุ์แลนด์เรซ หรือลูกผสมแลนด์เรซ-ลาร์จไวท์ จึงนำมาผสมพันธุ์ แม่สุกรเป็นสัดเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ไข่ตกมากจะอยู่ช่วงวันที่ 2-3 ของการะเป็นสัด ผสม 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชี่วโมง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น) ด้วยเหตุผลที่ว่าการตกไข่ของแม่สุกรไม่พร้อมกัน การผสมจริงหลายครั้งจะทำให้ไข่มีโอกาสผสมมากจึงให้ลูกดกควรมีพ่อพันธุ์สุกรหลายตัวหากทำเป็นการค้า สุกรจะให้ลูกดีที่สุดในครอกที่ 3-5 และควรคัดแม่สุกรออกใน ครอกที่ 7 หรือ 8 (แม่สุกรให้ลูกเกิน กว่าครอก ที่ 7 ขึ้นไป มักจะให้จำนวนลูกสุกรแรกคลอด มีชีวิต และจำนวน สุกรหย่านมลดลง จากการปฏิบัติขั้นตอนข้างต้น คุณสมาน แก้วเหม สามารถผลิตลูกสุกรได้ผลผลิตสูงสุด คอกละ 25 ตัว

แหล่งข้อมูล
คุณสมาน แก้วเหม 112 หมู่ 9 บ้านวังมะด่าน ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โทร.082-4027739

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552

การทำอาหารเลี้ยงปลาดุก - กบ แบบประหยัด

วัสดุการทำอาหารปลา ประกอบด้วย
1. ขี้วัว หรือ ขี้ควาย แห้ง 2 ส่วน
2. กากมะพร้าว หรือ กากถั่วเหลือง 2 ส่วน
3. รำละเอียด (รำอ่อน) 2 ส่วน
4. ไส้ปลา หรือ ไส้ไก่ หรือ ปลาบด หรือ ไข่ไก่ ไข่เป็ด 2 ส่วน (ทำอาหรปลานิลไม่ต้องใช้)
5. ใบกระถิน หรือผักตบ หรือ ผักบุ้ง (หั่นละเอียด 1 ส่วน
6. ข้าวจ้าว หรือ ปลายข้าว ที่นึ่งสุกแล้ว 1 ส่วน
7. จุลินทรีย์ที่ขยายแล้วพอประมาณ (ใช้เฉพาะทำอาหารปลานิล)

อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมอาหาร ประกอบด้วย
1. ถุงมือยาง 1 คู่
2. กาละมังขนาดตามต้องการ 1 ใบ
3. เครื่องบดเนื้อ 1 เครื่อง

วิธีทำ
1. นำวัสดุฯ ตามข้อ 1 ถึง ข้อ 6 ใส่ในกาละมังแล้วคลุกให้เข้ากัน
2. นำจุลินทรีย์ที่ขยายแล้ว (ทำอาหารปลาดุก/กบให้ใช้น้ำธรรมดา) เทผสมพอประมาณและคลุกเคล้ากับวัสดุให้เข้ากัน เพื่อให้มีความชื้น ประมาณ 60% (สังเกตุได้จากเมื่อนำมาปั้นเป็นก้อน ไม่มีน้ำ ไหลออกตามง่ายมือ)
3. นำอาหารปลาที่ผสมแล้วเข้าเครื่องบด เพื่อบดออกมาให้เป็นเส้น แล้วนำไปตากแห้งโดยตากใส่แผ่นสังกะสี หรือให้ปลากินสดๆ ก็ได้ (หากจะให้อาหารละเอียดมากขึ้นให้บด 2 ครั้ง)

การให้อาหาร
ปลาเล็ก ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงจนปลามีอายุ 1 เดือน ควรให้อาหารสด (เมื่อบดเสร็จให้ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ใช้ภาชนะรอง หย่อนลงในบ่อปลา) เมื่อปลาอายุครบ 1 เดือน จึงให้อาหารแห้ง

การทำอาหารเลี้ยงปลาแบบประหยัด

ส่วนผสม
1. ข้าวต้มสุก 1 ส่วน (ใช้ปลายข้าว ข้าวตากแห้ง เศษข้าวก็ได้แต่ต้องคำนึงถึงความสะอาด โดยไม่ปล่อยให้ข้าวนั้นเกิดเชื้อรา เอามาต้มให้เม็ดข้าวแตก)
2. รำอ่อน 2 ส่วน
3. น้ำอีเอ็ม จะเป็นอีเอ็มขยายก็ได้ แต่การเก็บรักษาอีเอ็มขยายก็ไม่ควรนานเกินไป
ในช่วงระยะเวลา 7 – 14 วัน ดีที่สุด แล้วนำมาผสมน้ำในอัตราส่วน 2 ปิ๊ป ต่อน้ำ 2 ช้อน หรือ 1 : 1000
4. เกลือ 1 ช้อน
วิธีทำ
คลุกข้าวต้มสุกกับรำให้เข้ากันและเหยาะเกลือลงพร้อมน้ำอีเอ็มมาคลุกให้เข้ากันจนข้าวต้มสุกและรำผสมกันดีและจับกันเป็นก้อน จึงปั้นเป็นก้อนเล็กๆ เท่าไข่ไก่ ให้ปลากินทุกเช้าหรือเย็น ในเวลา 105 วัน ปลาจะหนัก 1 ก.ก.
วิธีใช้
วางก้อนข้าวที่ผสมแล้วลงบนชานบ่อ ตามจำนวนที่สังเกตเห็นว่าปลาจะกินอิ่มแต่ละครั้งถ้าบ่อไม่มีชาน เช่น บ่อพลาสติก หรือน้ำลดต่ำกว่าระดับชานบ่อแล้วก็ให้ทำร้านวางอาหารหรือหาภาชนะที่จะวางอาหารแล้วแขวนไว้ตามจุดต่างๆ ให้ปลาเข้าไปกินหรือตอดกินข้างๆภาชนะนั้นได้สะดวก ฉะนั้น ภาชนะควรจะเป็นลักษณะเป็นช่องตาข่าย เช่น ตะกร้าพลาสติกที่มีขายอยู่ทั่วไป
การรักษาปลาป่วยภูมิปัญญาชาวบ้าน
ปลาเป็นโรค ใช้ราก กิ่ง ใบ ผล ดอก ของต้นขี้เหล็ก หรือ เปลือกตูมกา 1 ปิ๊ป ใส่ในบ่อปลา
ปลาไม่กินอาหาร ให้นำฟางมามัดเป็นโคน นำก้อนหินยัดไว้นำไปทิ้งลงบ่อ (จมบางส่วน)

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

การปลูกแตงกวา

แตงกวาทานผลสด มีลักษณะสำคัญคือ เนื้อบางไส้ใหญ่ มีเปลือกไม่เขียวเข้ม มีทั้งชนิดผลเล็กและผลใหญ่
ชนิดผลเล็ก ส่วนใหญ่เป็นแตงกวาพันธุ์พื้นเมืองที่มีผลเล็ก ยาว 4 - 10 เซนติเมตร เช่นพันธุ์เจ็ดใบ พันธุ์พิจิตร 1 พันธุ์ร้านค้าตราต่าง ๆ เป็นต้น
ชนิดผลใหญ่ ผลมีขนาดยาว ประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร แตงกวาดอง มีลักษณะสำคัญคือ ผลรูปร่างเป็นทรงกระบอก เนื้อหนา มีหนามที่ผลมาก
ฤดูปลูก แตงกวาสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ช่วงปลูกที่ดีที่สุดคือ ช่วงปลายฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว
การเตรียมดิน
ปกติแตงกวาสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่ชอบคือ ดินร่วนทราย ที่มีความเป็นกรดของดินพอเหมาะ ช่วย pH 5.5-6.8 การเตรียมดินสำหรับแตงกวาจะต้องขุดหรือไถดินให้ลึกอย่างน้อย 20 เซนติเมตร ยกเป็นแปลงหรือปลูกเป็นหลุมพื้นราบ ถ้าจะยกแปลงควรให้สันร่องกว้างอย่างน้อย 1 เมตร มีร่องระบายน้ำกว้างอย่างน้อย 50 เซนติเมตร การเตรียมดินควรใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อย 2 ตัน/ไร่ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และปรับสภาพทางกายภาพของดิน
การใช้ปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ย 15-15-15 รองพื้นอัตรา 30-50 กิโลกรัม/ ไร่ แต่ถ้าเป็นดินทรายจัด อาจใช้สูตร 13-13-21 รองพื้นแทน จะให้ผลดีกว่า
การเพาะกล้า การปลูกแตงกวา ปกตินิยมหยอดเมล็ดลงหลุมปลูกโดยตรง แต่ถ้าปลูกแตงกวาลูกผสมชั่วที่หนึ่ง ซึ่งเมล็ดมีราคาแพง นิยมที่จะเพาะกล้าลงถุง แล้วจึงย้ายลงปลูกเมื่อแตงกวาแตกใบจริง 2-3 ใบ (ประมาณ 10-15 วันหลังเพาะ) การเพาะลงถุงนิยมนำเมล็ดแตงกวามาแช่น้ำยากันรา เช่น ไดโฟลาแทน, ไดเทนเอ็ม 45 ราวครึ่งชั่วโมง แล้วนำไปแช่น้ำ 2-3 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำไปห่อผ้าขาวบางใส่ถุงพลาสติก ปิดปากแล้วไปบ่มไว้ในที่มีอุณหภูมิค่อนข้างอุ่น เช่น ใช้หลอดไฟ 60 วัตต์ วางห่างถุง 5 นิ้ว นาน 24 ชั่วโมง จึงนำไปเพาะลงถุง ขนาด 4x6 นิ้ว
การปลูก
การปลูกโดยหยอดเมล็ดลงหลุมโดยตรง ปกติจะหยอดหลุมละ 4-5 เมล็ด หลังจากมีใบจริงถึงถอนแยกเหลือ 1-2 ต้น/ หลุม ระยะปลูกโดยทั่วไประหว่างต้นจะห่างประมาณ 50-100 เซนติเมตร ระหว่างแถว 150 เซนติเมตร ถ้าไม่ใช้ค้าง ถ้าปลูกแบบมีไม้ค้างจะปลูกโดยใช้ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร
การใส่ปุ๋ย
ในช่วงเตรียมดินจะใส่ปุ๋ยรองพื้นด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี หลังปลูกเมื่อต้นอายุ 7-10 วัน ควรจะใส่ปุ๋ยเร่ง เช่น ยูเรีย, แอมโมเนียมไนเตรด อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ ไร่ โรยรอบโคนแล้วรดน้ำให้ทั่วให้ปุ๋ยละลายหมด เมื่อต้นอายุ 20-25 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ ไร่ อีกครั้งหนึ่ง
การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอบ่อย ๆ ปกติควรรดน้ำวันละครั้ง การให้น้ำอาจให้น้ำแบบร่อง รดด้วยสายยางใส่ฝักบัว แต่ไม่ควรใช้สปริงเกอร์ เพราะจำทำให้เกิดโรคทางใบมาก การรดน้ำหลังใส่ปุ๋ยทุกครั้งต้องมากพอที่จะละลายปุ๋ยของดิน
การทำค้าง ปกติการปลูกแตงกวาไม่นิยมทำค้าง แต่ถ้าปลูกแตงกวาดองหรือแตงกวาทานผลสดชนิดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน มีความจำเป็นที่จะต้องทำค้าง เพื่อลดความสูญเสียของผลเนื่องจากโรคเน่า การทำค้างอาจใช้ปลายไม้รวกหรืออาจดัดแปลงวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น กิ่งไม้ ต้นอ้อ ต้นพง ต้นแขม ทำค้างรูปสามเหลี่ยม โดยใช้เชือกขึงตามแนวนอนทุก ๆ ระยะ 20-30 เซนติเมตร
การเก็บเกี่ยว
อายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลได้ครั้งแรก จะอยู่ระหว่าง 30-35 วัน อายุผลหลังจากตอบแทนแตงกวาบริโภคผลสดจะอยู่ในช่วง 6-7 วัน ในขณะที่แตงกวาดอง (ผลเล็ก) จะใช้เวลา 3-4 วัน การเก็บบริโภคผลสดควรเก็บเมื่อผลยังมีผิวขรุขระมองเห็นตุ่มหนามชัดเจน ผลยังเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เมล็ดในผลยังอ่อนนิ่ม ผลกรอบ เนื้อแน่น ผลขนาดยาว 7-10 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นแตงกวาผลใหญ่จากต่างประเทศ จะมีขนาดยาว 20-25 เซนติเมตร การเก็บควรทยอยเก็บวันเว้นวัน หรือเก็บทุกวัน การเก็บทุกวันจะได้รายได้ดีกว่าเก็บวันเว้นวัน แตงกวาที่เก็บหลงอยู่ควรเก็บออกให้หมดเมื่อเก็บครั้งต่อไป ถ้าทิ้งไว้จะทำให้ผลผลิตลดลง การเก็บเกี่ยวปกติจะเก็บได้ประมาณ 1 เดือน
การบรรจุ, ขนส่ง หลังจากเก็บ เกษตรกรนิยมบรรจุแตงกวาลงเข่งกรุด้วยใบตอง หรือบรรจุลงถุงพลาสติก ขนาด 10 กิโลกรัม แล้วขนส่งโดยรถปิคอัพ การขนส่งควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่าให้ถูกอากาศร้อนจัดแตงกวาจะเปลี่ยนสีผิวได้ง่ายโดยเฉพาะแตงกวาหนามดำ แต่ถ้าเป็นแตงกวาหนามขาวจะเปลี่ยนสียาก คือเก็บได้นานประมาณ 1 สัปดาห์ ในขณะที่แตงหนามดำเก็บได้ 1-2 วัน เท่านั้น
แหล่งผลิต แตงกวาเป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไป แต่แหล่งผลิตใหญ่ในภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง พิจิตร นครสวรรค์ น่าน ภาคอีสานจะมีปลูกมากที่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภาคตะวันออก ปลูกมากในจังหวัด ระยอง ปราจีนบุรี และชลบุรี
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ควรพ่นยาป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ เต่าแตง แมลงวันทอง โดยใช้ยาพวกคาร์บาวิล (เซฟวิน) และยาพวกคาร์โบซัลแฟน (ฟอสซ์) พ่นสัปดาห์ละครั้งสลับกัน แต่ถ้ามีเพลี้ยไฟระบาดควรพ่น ฟอสซ์ทุก ๆ 5-7 วัน
ควรพ่นยาพวกแมนโคเซป (ไดเทนเอ็ม 45) หรืแคบตาโพล (ไดโฟลาแทน) เพื่อป้องกันโรคทางใบ สัปดาห์ละครั้งโดยอาจพ่นร่วมกับการพ่นยาฆ่าแมลง
การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้าง วิธีป้องกันที่ดีคือ คลุกเมล็ดแตงกวาก่อนปลูกด้วยสารพวกเมตาแลกซิล (เอพรอน 35 SD.) โดยใช้เมล็ด 1 กิโลกรัมต่อยา 7 กรัม ซึ่งจะป้องกันโรคในระยะเดือนแรกได้ดี หลังจากนั้นควรพ่นยาป้องกัน เช่น แมนโคเซป (ไดเทนเอ็ม 45) หรือ แคบตาโฟล (ไดโพลาแทน) ทุก ๆ 7 วัน

วิธีการกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง

เพลี้ยแป้งลาย (Striped Mealybug, Firrisia virgata Cockerell) เป็นแมลงปากดูดอยู่ในวงศ์ Pseudococcidae อันดับ Homoptera ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบ ยอด และส่วนตา แมลงถ่ายมูลของเหลวทำให้เกิดราดำ (Sooty Mold) พืชสังเคราะห์แสงได้น้อย การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ลำต้นมีช่วงข้อถี่ ยอดแห้งตาย หรือยอดแตกพุ่ม และอาจมีผลกระทบต่อการสร้างหัวหากพืชยังเล็กอยู่
ชีวและนิเวศวิทยา



พบเพลี้ยแป้งที่เข้าทำลายมันสำปะหลัง มี 2 ชนิด คือ ชนิดวางไข่ และชนิดออกลูก
1. ชนิดวางไข่ ไข่เป็นเม็ดเดี่ยว สีเหลืองอ่อนยาวรี อยู่ในถุงไข่ซึ่งมีใยคล้ายสำลีหุ้มไว้ขนาดเฉลี่ย กว้าง 0.20 มิลลิเมตร ยาว 0.40 มิลลิเมตร เมื่อใกล้ฟักไข่จะมีสีคล้ำ ระยะไข่ 6-7 วัน เฉลี่ย 6.21 วัน ตัวอ่อน สีเหลืองอ่อน ตัวยาวรี ตัวอ่อนวัยแรก (Crawler) เป็นวัยที่เคลื่อนย้ายหลังจากลอกคราบ 2-3 วัน ส่วนหางจะมีแป้งเกาะตามลำตัวด้านหลังและส่วนขนด้านข้าง ลอกคราบ 3-4 ครั้ง ระยะตัวอ่อน 18-59 วัน เฉลี่ย 37-57 วัน ตัวอ่อนวัยสุดท้ายมีขนาดเฉลี่ยกว้าง 1.00 มิลลิเมตร ยาว 2.09 มิลลิเมตร หางยาง 1.11 มิลลิเมตร สำหรับเพศผู้ มีการลอกคราบ 2 ครั้ง ระยะตัวอ่อนเพศผู้ 14-15 วัน
ตัวเต็มวัย มีลักษณะตัวค่อนข้างแบน บนหลังและด้านข้างมีแป้งปกคลุมมาก เวลาวางไข่จะสร้างถุงไข่ไว้ใต้ท้องเป็นใยคล้ายสำลีหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง ใช้เวลาสร้าง 2-3 วัน ขนาดตัวเต็มวัยเฉลี่ย กว้าง 1.83 มิลลิเมตร ยาว 3.03 มิลลิเมตร หางยาว 1.57 มิลลิเมตร เพศผู้จะสร้างใยหุ้มตัว 2-3 วันก่อนเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งมีปีก 1 คู่ยาวกว่าลำตัวและมีหนวดยาว ขนาดตัวกว้าง 0.45 มิลลิเมตร ยาว 1.20-1.35 มิลลิเมตร ความยาวของตัวถึงปีก 1.24-1.57 มิลลิเมตร ระยะตัวเต็มวัยเพศเมีย 11-26 วัน เฉลี่ย 18.53 วัน หลังจากเป็นตัวเต็มวัยเฉลี่ย 10.42 วัน จึงเริ่มวางไข่ระยะเวลาวางไข่ 5.73 วัน จำนวนไข่ 37-567 ฟองต่อถุงไข่ จำนวนไข่ได้ต่อวันเฉลี่ย 63.56 ฟอง รวมชีพจักร 35-92 วัน เฉลี่ย 62.31 วัน
2. ชนิดออกลูก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน กลมรี มองไม่เห็นส่วนหางและไม่มีแป้งเกาะหลังจากลอกคราบแล้ว 2-3 วัน จึงมีแป้งเกาะ และเห็นส่วนหาง ปริมาณแป้งจะพบน้อยกว่าชนิดวางไข่ ลอกคราบ 3-4 ครั้ง ส่วนใหญ่ 3 ครั้ง ระยะตัวอ่อน 30-49 วัน เฉลี่ย 38.12 วัน ขนาดตัวอ่อนวัยสุดท้ายเฉลี่ยกว้าง 0.35 มิลลิเมตร ยาว 2.31 มิลลิเมตร และหางยาว 1.00 มิลลิเมตร สำหรับเพศผู้ลอกคราบ 2 ครั้ง ระยะตัวอ่อนเพศผู้ 14-23 วัน
ตัวเต็มวัย ตัวป้อม กลมรี ส่วนหลังและด้านข้างมีแป้งเกาะ ตัวเต็มวัยขนาดเฉลี่ยกว้าง 0.50 มิลลิเมตร ยาว 2.09 มิลลิเมตร หางยาว 0.91 มิลลิเมตร เพศผู้สร้างใยหุ้มตัว 4-7 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย มีปีก 1 คู่ปีก และหนวดยาวกว่าลำตัว ตัวกว้าง 0.35 มิลลิเมตร ยาว 1.28 มิลลิเมตร หางยาว 0.29 มิลลิเมตร ความยาวจากตัวถึงปีก 1.42 มิลลิเมตร ระยะตัวเต็มวัยเพศเมีย 5-12 วัน เฉลี่ย 11.13 วัน หลังเป็นตัวเต็มวัย เฉลี่ย 6.67 วัน จึงเริ่มออกลูกใช้เวลา 8.32 วัน จำนวนตัวอ่อน 22-455 ตัว เฉลี่ย 146.95 ตัว จำนวนตัวอ่อนต่อวันเฉลี่ย 18.52 ตัว ชีพจักร 35-70 วัน เฉลี่ย 49.35 วัน
เพลี้ยแป้งจะแพร่กระจายตามลำต้น โคนใต้ใบมันสำปะหลัง ปริมาณจะขยายจนเต็มข้อ ตามลำต้นส่วนใบ ส่วนยอด เพลี้ยแป้งชนิดออกลูกจะเคลื่อนไหวได้รวดเร็วกว่าชนิดวางไข่ หากสภาพอากาศแห้งแล้งและฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน จะขยายปริมาณอย่างรวดเร็ว ตัวอ่อนวัย 1 เป็นวัยที่เคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่าง ๆ ของพืช เป็นวัยสำคัญในการแพร่กระจายไปสู่บริเวณพื้นที่อื่น โดยการติดไปกับท่อนพันธุ์หรือกระแสลม
ศัตรูธรรมชาติ
เพลี้ยแป้งมีแมลงศัตรูธรรมชาติทั้งแมลงเบียนและแมลงห้ำ แมลงเบียนอยู่ในวงศ์ Encyridae พบในเพลี้ยแป้งตัวอ่อนวัยสุดท้าย ส่วนใหญ่จะเข้าทำลายเพลี้ยแป้งชนิดออกลูกมากกว่าชนิดวางไข่ เพลี้ยแป้งที่ถูกทำลายจะมีลักษณะกลม รี แข็ง ประมาณ 8 วัน จึงเป็นตัวเบียนเต็มวัย จากการสำรวจในแปลงมันสำปะหลัง (ปี 2525) พบประมาณร้อยละ 10.00 – 46.57 เฉลี่ยร้อยละ 31.14
แมลงห้ำ ได้แก่ Stethorus sp. และ Scymnus sp. อยู่ในวงศ์ Coccinellidae และแมลงช้าง Chrysopa sp. อยู่ในวงศ์ Chrysopidae ซึ่งเป็นแมลงห้ำทั้งตัวหนอนและตัวเต็มวัย จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการ แมลงห้ำ Scymnus sp. ระยะหนอน 25-28 วัน อยู่ปะปนในกลุ่มเพลี้ยแป้ง สังเกตได้จากขนาดที่โตกว่า และมีแป้งปกคลุมตามลำตัวชัดเจนกว่าเพลี้ยแป้ง หัวหนอนสีเข้มกว่าลำตัว มีขา 3 คู่ หัวและท้ายเรียว เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ระยะดักแด้ 6-9 วัน ตัวเต็มวัยเป็นแมลงขนาดเล็ก 2.00 มิลลิเมตร หลังโค้งนูนสีน้ำตาล หัวสีน้ำตาลเข้ม อกสีเหลืองทองปลายปีกเป็นรูปวงยาวรีสีเหลืองทอง เคลื่อนที่รวดเร็ว ตัวเต็มวัยสามารถกินไข่ ตัวอ่อนวัย 1 และวัย 2 ของเพลี้ยแป้งได้ 8.39 ฟอง 3.56 และ 0.06 ตัวต่อวัน ตามลำดับ ในสภาพที่มีเพลี้ยแป้งระบาด จะพบแมลงเบียนและแมลงห้ำมีปริมาณมากขึ้นภายหลังที่เพลี้ยแป้งทำความเสียหายแก่พืชแล้ว
พันธุ์มันสำปะหลัง
มันสำปะหลังพันธุ์แนะนำ เช่น ระยอง 90 ไม่มีการทำลายของเพลี้ยแป้งในระดับที่ความเสียหาย
การใช้สารฆ่าแมลง
สารฆ่าแมลงที่ให้ผลดีในระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย คือ Malathion (Malathion 83%EC) อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรหยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
แนวทางการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง
1. หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังในช่วงที่พืชยังเล็กจะกระทบกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ต่อการขยายปริมาณเพลี้ยแป้ง ใช้พันธุ์ที่ทางรัฐบาลแนะนำ
2. เก็บส่วนของพืชที่มีเพลี้ยแป้งออกจากแปลง เผาหรือทำลาย และทำความสะอาดแปลงเก็บวัชพืช ซากพืช ออกจากแปลงหลังเก็บเกี่ยวแล้ว
3. เพลี้ยแป้งมีศัตรูธรรมชาติ ทั้งแมลงเบียนและแมลงห้ำคอยควบคุมปริมาณเพลี้ยแป้งให้อยู่ในระดับสมดุลอยู่แล้วในสภาพปกติ
4. ควรใช้สารฆ่าแมลงเมื่อมีการระบาดของเพลี้ยแป้งอย่างรุ่นแรง พืชเริ่มแสดงอาการถูกทำลาย พ่นเฉพาะบริเวณที่พบแมลง ระยะที่เหมาะสมเป็นระยะที่เพลี้ยแป้งอยู่ในวัยที่ 1-2 เนื่องจากยังไม่มีแป้งเกาะตามลำตัว เพราะแป้งจะเป็นเกราะกำบังสารฆ่าแมลงได้อย่างดี พ่นเฉพาะบริเวณที่พบแมลงเท่านั้น
การกำจัดเพลี้ยแป้งนั้นมีหลายวิธีด้วยกัน และการใช้บอระเพ็ดมาทำเป็นสารสกัดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการกำจัดเพลี้ยแป้งที่สามารถใช้ได้ผลดีและปลอดภัยต่อผู้ใช้สูตรการกำจัดเพลี้ยแป้งด้วยบอระเพ็ด
ส่วนผสม
1. บอระเพ็ด
2. ใบยาสูบ
3. น้ำยาล้างจาน ใช้เป็นสารจับใบ

วิธีทำสมุนไพรกำจัดเพลี้ยแป้ง
1. นำบอระเพ็ดมาหั่นเป็นท่อน ยาวพอประมาณ จากนั้นนำไปให้แหลง(สังเกตุดูจากความหนืดเหนียวของเถาที่ถูกตำ)
2. นำบอระเพ็ดที่ตำแหลกแล้วไปหมักกับน้ำเปล่า ใช้อัตราส่วนบอระเพ็ด 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้จนได้น้ำเมือกเหนียว(ไม่จำกัดเวลา ให้สังเกตุดูว่าน้ำหมักที่ได้มีความเหนียวหนืดเมื่อไหร่ก็สามารถนำไปใช้ได้เลย) เพื่อให้สารในบอระเพ็ดละลายออกมา
3. ผสมยาสูบลงไปในน้ำละลายบอระเพ็ดที่เตรียมได้ ประมาณ 1-2 กำมือ คนให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที 4. ก่อนนำน้ำหมักบอระเพ็ดที่เตรียมได้ไปใช้ ควรผสมกับน้ำยาล้างจาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจับติดตัวแมลงหรือพื้นที่ผิวของใบพืช และควรนำน้ำหมักที่ได้ไปผสมน้ำเปล่าเพื่อเจือจางความเข้มข้นของน้ำสมุนไพร(กะความเข้มข้นพอประมาณ) ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับพืชหากใช้ในปริมาณที่เข้มข้นมากเกินไป

สารกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สกัดได้จากสมุนไพรนั้นจะให้ผลดีที่สุด เมื่อใช้สด กล่าวคือ นำมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำหรือนำไปต้มกับน้ำให้ได้ความเข้มข้น และก่อนนำไปใช้กับพืช ควรทำการปสมน้ำสกัดที่ได้กับน้ำเปล่าก่อนทุกครั้ง โดยใช้อัตราส่วน 1 ลิตต่อน้ำ 20 ลิตร การใช้สารนั้นจะใช้การฉีดพ่นหรือให้ไปกับระบบน้ำในตอนเย็นเท่านั้น และควรฉีดพ่นซ้ำทุก ๆ 2-3 วัน เพื่อให้เกิดผลดีสุด และไม่ทำให้แมลงเกิดการดื้อยา

แหล่งข้อมูล : http://as.doa.go.th/

การใส่ปุ๋ยในนาข้าว


ปุ๋ยเคมีเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มผลผลิตของข้าวที่สำคัญ การใส่ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดี เกษตรกร ต้องใส่ให้ถูกสูตร ถูกชนิด ถูกที่ ถูกเวลา ตรงกับความต้องการของพืช

การใส่ปุ๋ยข้าวถ้าจะให้ได้ผลผลิตสูง จะต้องแบ่งใส่สองครั้ง

ครั้งแรกใส่สูตร 16-20-0,20-20-0 สูตรใดสูตรหนึ่งอัตรา 25-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในระยะรองพื้นก่อนปักดำหรือหลังปักดำ 1-15 วัน สำหรับดินเหนียว , ดินร่วน และดินร่วนปนเหนียว ถ้าเป็นดินทรายให้ใช้สูตร 16-16-8 อัตรา 25-50 กิโลกรัมต่อไร่

ครั้งที่สอง เป็นการใส่ปุ๋ยแต่งหน้า ในระยะข้าวเริ่มตั้งท้อง เพื่อเพิ่มจำนวนดอกหรือเมล็ดข้าวต่อรวงให้มาก และทำให้การสร้างเมล็ดข้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เมล็ดข้าวจะเต็มเมล็ดและน้ำหนักดี สูตรปุ๋ยที่แนะนำในการใส่แต่งหน้า คือ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0 อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างใดอย่างหนึ่งใส่ในระยะข้าวเริ่มตั้งท้อง หรือก่อนเก็บเกี่ยว 60 วัน สำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง (พันธุ์ข้าวที่ปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง)

ส่วนพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง (พันธุ์ข้าวที่ปลูกได้เฉพาะนาปี) เช่น ข้าวดอกมะลิ 105 ,พันธุ์เฉี้ยง , พันธุ์เล็บนก,พันธ์สังหยด

ใส่ครั้งแรก สูตร 16-20-0,20-20-0 และระยะเวลาในระยะรองพื้นก่อนปักดำหรือหลังปักดำ 1-15 วันในอัตรา 20-35 กิโลกรัมต่อไร่

ใส่ครั้งที่สอง สูตร 46-0-0 อัตรา 2-5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ใส่ก่อนเก็บเกี่ยว 60 วัน ก่อนใส่ปุ๋ยเกษตรกรควรเตรียมแปลงนาให้พร้อมก่อน คือ กำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้แย่งปุ๋ยข้าว ปรับระดับน้ำในแปลงนาให้มีระดับความสูงประมาณหนึ่งฝ่ามือ และดูแลคันนาให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้ปุ๋ยที่ใส่ไหลไปกับน้ำ

ประโยชน์ของ "อัญชัน"

ประโยชน์ของอัญชัน
แพทย์แผนไทยใช้อัญชันเป็นยารักษาโรคมาแต่โบราณ เช่นราก : รสเย็นจืด บำรุงดวงตา ทำให้ตาสว่าง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ปวดฟัน ทำ ให้ฟันทนน้ำคั้นจากใบสดและดอกสด : ใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ ฝ้าฟาง ตาแฉะ มืดมัวน้ำคั้นจากดอก : ใช้ทาคิ้ว ทาหัว เป็นยาปลูกผม (ขน) ทำให้ ผมดกดำเงางามสีจากดอกอัญชัน ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง นิยมใช้ดอกสีน้ำเงินซึ่งมีสาร Anthocyanin ใช้ ทำสีขนม เช่น ขนมดอกอัญชัน ขนมช่อม่วง ทำน้ำดื่มสมุนไพร ได้ น้ำสีม่วงสวย เพราะสีของดอกอัญชันละลายน้ำได้ รวมทั้งสีเปลี่ยน ไปตามความเป็นกรดด่าง คล้าย กระดาษลิตมัสที่ใช้ตรวจสอบความ เป็นกรดด่างของสารละลายดอกอัญชันกินเป็นผักได้ ทั้ง จิ้มน้ำพริกสดๆ หรือชุบแป้งทอดอัญชันเป็นไม้เถาที่ปลูกง่าย แข็งแรง ทนทาน ขึ้นคลุมรั้วและ ซุ้มต่างๆ ได้ดี จึงนิยมปลูกเป็นไม้ ประดับตามสถานที่ต่างๆ นอกจาก นั้นอัญชันเป็นพืชตระกูลถั่ว จึงปลูก คลุมดินเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ดี ลำต้นและใบสด ใช้เป็นอาหารของแพะ แกะ ได้

การเลี้ยงและอนุบาลกบ

การอนุบาลลูกกบจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1. การอนุบาลลูกกบระยะแรก (ลูกอ๊อด)
ให้ปฎิบัติดังนี้
1.1 หลังจากไข่กบฟักออกมาเป็นตัวแล้วลูกกบจะมีลักษณะเหมือนลูกปลาให้รีบช้อน ลูกกบมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่ออนุบาลระยะแรกก่อนที่ถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวลูกกบจะยุบหมด ส่าหรับจำนวนลูกกบที่จะปล่อยนั้นประมาณ 2,000 ตัวต่อตารางเมตร
1.2 การให้อาหาร ได้แก่ไรแดงและอาหารปลาอย่างผงหรือไข่ตุ๋น ซึ่งควรเตรียมไว้ ก่อนในบ่อ พอถุงไข่แดงยุบลูกกบก็สามารถกินอาหารได้เลย
1.3 การถ่ายเทน้ำ ควรกระทำทุกวัน วันละ 50-70 เปอร์เช็นต์ของจำนวนน้ำในบ่อทั้งหมด
1.4 ควรให้อากาศกับน้ำด้วยเพื้อให้น้ำมีสภาพสะอาดจะทำให้ลูกกบกินอาหารได้มาก และเจริญเติบโตเร็ว
1.5 การเจริญเติบโตของลูกกบ หลังจากฟักออกจากไข่ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จะมีขาหลัง 2 ขาโผล่ออกมาจากส่วนท้ายของลำตัวบริเวณโคนขา เมื่อขาหลังเจริญเต็มที่ก็จะมี ขาหน้าโผล่ออกมาอีกทั้ง 2 ข้างของช่องเหงือกทางด้านหน้าของลำตัว หางจะเริ่มหดสั้นลง ปากจะเริ่มสมบูรณ์ขึ้น สามารถขึ้นกินอาหารได้เช่นเดียวกับกบตัวโต ซึ่งระยะเวลาในการเจริญ เติบโตนี้จะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 25-35 วัน จากลูกอ๊อดมาเป็นกบเล็ก
2. การอนุบาลลูกกบระยะพี่สอง (กบเล็ก)
หลังจากลูกกบมีขาครบสมบูรณ์ดีแล้ว ให้ย้ายลูกกบไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลระยะที่สอง เพื่อมิให้ลูกกบกัดกินกันเอง มีหลักปฎิบัติดังนี้คือ
2.1 การให้อาหาร ลูกกบที่มีขาสมบูรณ์ จะเริ่มกินอาหารที่เคลือนไหวได้ เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา หนอนแมลงขนาดเล็ก แต่ถ้าไม่สามารถหาอาหารดังกล่าวได้ก็ให้อาหารพวกเครื้องในสับ เศษปลาสับหรือให้อาหารผสมด้วยโดยค่อย ๆ หัดให้ลูกกบกินและควรหัดให้ลูกกบกินอาหารที่หา ได้ง่ายและมีปริมาณที่แน่นอนเช่น อาหารเม็ด
2.2 การถ่ายเทน้ำ อาหารที่ให้จะทำให้น้ำเสีย ควรเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ เพี่อปัองกันน้ำเสีย การรักษาคุณภาพของน้ำให้ดีอยู่เสมอ จะมีส่วนช่วยให้กบมีสุขภาพสมบูรณ์ ลูกกบระยะสองนี้ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ควรคัดกบที่มีขนาดโตกว่านำไปเลี้ยงในบ่อเลี้ยงได้ เพราะลูกกบมีขนาดต่างกันหรือมีปริมาณหนาแน่นเกินไปก็จะกัดกินกันเอง
ข้อมูลจาก : http://web.ku.ac.th/

การเลี้ยงปลาช่อน


คุณชาญ บัววิเชียร กับอาชีพขุนลูกปลาช่อนขาย ที่สองพี่น้อง ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่ตลาดมีความต้องการอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลผลิตมีทั้งปลาจากธรรมชาติ และจากบ่อเลี้ยงแม้ว่าในธรรมชาติตามหนอง คลอง บึง มีปลาชนิดนี้มาก แต่การล่าหรือจับเพื่อการค้านั้นค่อนข้างลำบาก เพราะว่าเป็นปลาที่มุดโคลนเก่ง ด้วยเหตุนี้จึงมีอาชีพเลี้ยงปลาช่อนเกิดขึ้น และกลุ่มที่ทำอย่างจริงจัง ก็คือชาวบ้านแถวๆ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีก่อนหน้านี้ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่จะยึดอาชีพทำนา เมื่อเห็นตลาดรับซื้อปลาช่อนเปิดกว้างและให้ราคาดี พวกเขาจึงเปลี่ยนจากนาเป็นบ่อเลี้ยงปลา นับเป็นร้อยๆ รายทีเดียว


พันธุ์ปลาช่อนที่นำมาเลี้ยงช่วงแรกๆ จะหามาจากธรรมชาติ ระยะหลังบางรายซื้อมาจากสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี เนื่องจากที่นี่ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปลาช่อนอย่างไรก็ตาม ชาวบ้านจะนิยมเลี้ยงลูกปลาจากธรรมชาติมากกว่า ด้วยว่ายังหาได้ง่าย และสะดวกในการขนส่งอีกด้วยชาวบ้านที่อยู่ในแวดวงปลาช่อนจะแบ่งหน้าที่ของตนเองออกไปตามทุนทรัพย์ กล่าวคือ ใครไม่มีที่ดินหรือบ่อเลี้ยงปลา จะตระเวนออกหาลูกปลาตามธรรมชาติ โดยใช้สวิงช้อน เพื่อนำไปขายให้กับเจ้าของบ่อเลี้ยงปลา หรือฟาร์มเพาะเลี้ยงปลา


ผู้เลี้ยงปลาช่อน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทแรก เพาะขยายพันธุ์ลูกปลาขาย โดยจะจับพ่อ แม่ปลามาผสมพันธุ์ นอกจากนี้ ยังเปิดรับซื้อลูกปลาจากธรรมชาติมาอนุบาล จนแข็งแรง หรือมีขนาด 3-4 นิ้ว แล้วขายต่อให้กับผู้เลี้ยงปลาช่อนต่อไป

ประเภทสอง ผู้เลี้ยงปลาช่อนส่วนใหญ่จะรับซื้อลูกปลาที่แข็งแรงหรือผ่านการคัดเลือกจากฟาร์มเพาะพันธุ์มาเลี้ยงเลย ยกเว้นว่ามีบ่อเลี้ยงว่างหรือมีเวลาว่างอาจซื้อลูกปลาจากธรรมชาติมาอนุบาลเองผู้ที่เลี้ยงปลาช่อนเป็นอาชีพนั้น ไม่เพียงมีบ่อเลี้ยงเท่านั้น จำเป็นต้องมีทุนหรือเงินจำนวนมากด้วย เนื่องจากปลาชนิดนี้กินอาหารเก่ง และต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำเกือบทุกวันด้วยรู้จัก ชาญ บัววิเชียร จากลูกจ้าง เป็นเจ้าของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาช่อน


คุณชาญ บัววิเชียร อยู่บ้านเลขที่ 41 หมู่ 4 ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. (081) 981-3292 เดิมมีอาชีพเป็นช่างตัดผม อยู่แถวๆ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เกือบ 10 ปีเบื่อความจำเจ ประกอบกับที่ทำเลถูกบุกรุก ปี 2538 จึงกลับมาอยู่บ้านเกิด ยึดอาชีพเป็นลูกจ้างเลี้ยงปลาช่อน สะสมประสบการณ์ 1-2 ปี ก็ลาออก เพื่อมาประกอบอาชีพเองเขาเริ่มจากทดลองอนุบาลลูกปลาธรรมชาติ ส่งขายให้กับผู้เลี้ยงรายใหญ่ ๆ"ช่วงแรกๆ ผมไม่ค่อยมีทุน จึงเลี้ยงปลาจำนวนน้อย ๆ อนุบาลได้ครบ 2 เดือน หรือมีความยาวได้ประมาณ 3-4 นิ้ว ผมก็ขายต่อให้ผู้เลี้ยงรายใหญ่ๆ แล้ว" จนกระทั่งเขาสามารถสะสมทุนได้ก้อนหนึ่ง จึงได้ตัดสินเลี้ยงปลาใหญ่ออกสู่ท้องตลาดตามเพื่อนๆ บ้าน "ผมเริ่มจากไม่มีอะไรเลย ทั้งเงินและความรู้ แต่ทว่าผมชอบและต้องการต่อสู้กับความยากจน ทำให้มีวันนี้" 10 ปี ที่เขาสะสมประสบการณ์และเงิน ปัจจุบันนี้เขาเป็นเจ้าของฟาร์มเพาะขยายพันธุ์เลี้ยงปลาช่อนที่โด่งดัง ในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีไปแล้ว ด้วยว่าสามารถฝึกให้ลูกปลาช่อนกินอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้ และเพาะขยายพันธุ์ปลาได้เองด้วย "การเลี้ยงปลาช่อนทั่วๆ ไป จะซื้อปลาทะเล พวกปลาข้างเหลือง หรือปลาเป็ดมาบดให้ปลาช่อนกินเป็นอาหาร ซึ่งมีข้อเสียหลายอย่างคือ ทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงคุณภาพไม่ดี และต้นทุนการเลี้ยงค่อนข้างสูง อีกทั้งการจัดการลำบาก นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงที่อยู่ห่างไกลจากทะเลไม่สามารถหาซื้ออาหารมาเลี้ยงปลาได้อีกด้วย" "ด้วยข้อกำจัดดังกล่าว ผมจึงฝึกให้ลูกปลาที่เลี้ยงไว้หัดกินอาหารเม็ดได้อย่างสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นลูกปลาจากธรรมชาติหรือจากการผสมพันธุ์เอง"

คุณชาญ กล่าวฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาช่อนของเขาอยู่ติดกับแม่น้ำสองพี่น้อง ดังนั้น เขาจะอนุบา ลปลาทั้งหมดไว้ในกระชัง "เรามีกระชังเลี้ยงปลาอยู่ประมาณ 15 กระชัง แต่ละกระชังมีขนาดความกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 1.50 เมตร " เขาจะอนุบาล 13 กระชัง ที่เหลือ 2 กระชัง ไว้เลี้ยงปลาใหญ่ เพื่อขุนไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์"ตอนนี้ที่ฟาร์มของเราจะเน้นอนุบาลมากกว่าเลี้ยงใหญ่ เพราะว่าที่นี่มีข้อกำจัดด้วยสถานที่เลี้ยง กล่าวคือ หากเลี้ยงปลาใหญ่ไว้ในกระชัง การเจริญเติบโตสู้บ่อดินไม่ได้ จึงเน้นเฉพาะอนุบาลลูกปลาเท่านั้น" ด้วยข้อกำจัดด้านสถานที่เลี้ยง ระยะหลัง ๆ คุณชาญจะไม่เพาะขยายพันธุ์ปลาเองด้วย ส่วนใหญ่จะขอซื้อลูกปลาอายุ 15 วัน จากสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดสิงห์บุรี และรับซื้อลูกปลาธรรมชาติจากเพื่อนบ้านมาอนุบาลต่อ เพื่อให้ได้ผลผลิต ขนาด 2-4 นิ้ว จากนั้นก็จำหน่ายให้กับผู้สนใจหรือผู้เลี้ยงปลาใหญ่ต่อไป"เราฝึกลูกปลาให้กินได้ทั้งอาหารเม็ดและปลาทะเล เพราะว่าผู้ซื้อหรือลูกค้ามีทั้งอยู่ใกล้และไกลทะเล บางคนไม่สะดวกซื้อปลาทะเล ก็หาอาหารเม็ดสำเร็จรูปของปลาดุกหรือพวกไฮเกรดมาเลยได้เลย" เขาบอกว่า การเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ภาคเหนือหรืออีสาน ถ้ามีสถานที่หรือบ่อเลี้ยงปลา ก็สามารถยึดอาชีพนี้ได้เลย

คุณชาญ บอกว่า การเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียข้อดี สะดวกในการหาซื้ออาหาร และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ วัน ข้อเสีย การเจริญเติบโตช้ากว่าการเลี้ยงปลาช่อนในบ่อดิน"ผมเคยทดลองเลี้ยงปลาช่อนด้วยปลาทะเลและอาหารเม็ดสำเร็จมาแล้ว โดยเลี้ยงในบ่อ 1งาน ปล่อยลูกปลา ขนาด 3-4 นิ้ว ลงเลี้ยง 10,000 ตัว ใช้ระยะการเลี้ยงนาน 8 เดือน ปรากฏว่าบ่อที่เลี้ยงด้วยปลาทะเล มีต้นทุนค่าอาหาร ค่าน้ำมันของเครื่องสูบน้ำ และอื่นๆ สูงถึง 170,000 บาท ขณะที่บ่อที่เลี้ยงอาหารเม็ดสำเร็จรูปมีต้นทุนการเลี้ยงรวมทั้งหมด 80,000 บาท เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนหรือผลผลิตที่ได้รับนั้นสู้บ่อปลาที่เลี้ยงด้วยปลาทะเลไม่ได้ แต่บ่อที่เลี้ยงอาหารเม็ดสำเร็จรูปมีความเครียดหรือความเสี่ยงน้อยกว่า ไม่ต้องยุ่งยากไปสั่งซื้ออาหารทุกๆ วัน และมีความสิ้นเปลืองแรงงานน้อยด้วย" คุณชาญ กล่าวพร้อมสรุปไว้ว่า "การเลี้ยงปลาด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลทะเลและขาดแคลนแหล่งน้ำ เนื่องจากการเลี้ยงปลาด้วยอาหารดังกล่าว โดยเฉลี่ยเปลี่ยนถ่ายน้ำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง แต่ละครั้งถ่ายน้ำออกเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น" สำหรับอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงปลาช่อนนั้น เขาบอกว่า ระยะ 1-4 เดือนแรก เราใช้อาหารเบอร์เล็กพิเศษ ย่างเข้าสู่เดือนที่ 5 เปลี่ยนเป็นอาหาร เบอร์ 2 และก่อนจับปลาขาย 2 เดือน เบอร์ 3 รวมระยะเวลาการเลี้ยงทั้งสิ้น 8 เดือน"ช่วงที่ผมเลี้ยงด้วยอาหารเล็กพิเศษจะให้กินอาหารวันละ 3 ครั้ง เช้า เที่ยง เย็น และแต่ละครั้งจะให้กินจนอิ่มด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันปลาแตกไซซ์ " หลังจากเปลี่ยนอาหารเป็น เบอร์ 2 และ 3 เขาให้กินอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น"ผมเคยเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารเม็ด ได้ผลผลิตสูง 3.5 ตัน ต่อบ่อ แต่ส่วนใหญ่ปลาขนาดกลางมากกว่าขนาดใหญ่" คุณชาญ กล่าวเขาบอกว่า ต้นทุนในการเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารเม็ด อยู่ที่ 37-38 บาท ต่อกิโลกรัมปัจจุบันนี้ ราคารับซื้อปลาช่อนปากบ่อ (วันที่ 15 ตุลาคม 2547) ไซซ์ใหญ่น้ำหนัก 6 ขีด ขึ้นไป อยู่ที่ 78 บาท ต่อกิโลกรัม ไซซ์กลางน้ำหนักระหว่าง 4-6 ขีด อยู่ที่ 70 บาท ต่อกิโลกรัม ไซซ์เล็กน้ำหนักต่ำกว่า 4 ขีด อยู่ที่ 42 บาท ต่อกิโลกรัมอนุบาลลูกปลาช่อนคุณชาญ บอกว่า การอนุบาลหรือเลี้ยงลูกปลาช่อนให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ยากนัก แต่ก็ไม่ง่ายสำหรับมือใหม่ๆ เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อที่มีความต้องการอาหารคุณภาพสูง เพื่อสร้างกระดูกและเกล็ด ดังนั้น ในการอนุบาลลูกปลานั้น เราเน้นเรื่องอาหารเป็นพิเศษ"ลูกปลานี้ เราเลี้ยงให้รอดนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่เลี้ยงให้โตให้อ้วนสมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องยาก หากสูตรอาหารไม่ดีจริงๆ ปลาก็เล็กเกร็งไปเลย" ปลาช่อนนี้มีกระดูกทั้งหมด 900 ชิ้น มีเกล็ดกว่า 3,500 เกล็ด เขาบอกว่า จำเป็นต้องให้อาหารที่มีคุณค่าไปเสริมกระดูก เกล็ด และเนื้อปลา"อาหารที่ผมใช้อนุบาลลูกปลาครั้งแรก เราจะผลิตขึ้นมาเอง โดยใช้สูตรดังนี้ คือ เนื้อปลาทะเล 1 กิโลกรัม นมผงเด็ก 3 ช้อน แคลเซียล 1 ช้อนกาแฟ วิตามินซี 1 ช้อนกาแฟ และไข่ 1 ฟอง บดผสมกันให้ละเอียด แล้วนำไปหยดตามข้างๆ กระชัง เพื่อเป็นการฝึกให้กินอาหารครั้งแรก" เขาจะให้กินอาหารทั้งวันทั้งคืน จนครบ 15 วัน ก็ฝึกให้กินอาหารเม็ด โดยค่อยๆ สลับกับสูตรอาหารดังกล่าว"การฝึกให้กินอาหารเม็ดนั้น เราค่อยๆ ลดอาหารบดหรือปลาบด แล้วก็ใส่อาหารเม็ดไปแทนที่" เขาบอกว่าในการอนุบาลลูกปลาช่อนนั้น เราไม่เพียงให้กินอาหารทุกวันเท่านั้น ยังซื้อยาถ่ายพยาธิมาผสมกับอาหาร เพื่อให้ปลากินอีกด้วย โดยจะถ่ายพยาธิ 3 ครั้ง คือ หลังจากเลี้ยง 3 วัน 7วัน และ 15 วัน"ในการอนุบาลลูกปลานี้ ช่วงแรกเราจะปล่อยลงเลี้ยง ประมาณ 50,000-60,000 ตัว ต่อกระชัง ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่แน่นหนามากนัก เมื่อตัวใหญ่หากมีกระชังว่างเราก็แยกไปปล่อยเลี้ยง แต่ถ้าไม่ว่างเราไว้อย่างนั้น เพียงแต่ให้อาหารกินอย่างเพียงพอลูกปลาก็อาศัยอยู่ได้แล้ว" คุณชาญ กล่าวพันธุ์ปลาที่นำมาเลี้ยงดังที่บอกแล้วว่ามาจากแหล่งคือ จากธรรมชาติ และสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดสิงห์บุรี"ปลาจากธรรมชาติที่ชาวบ้านนำมาขายมีหลายขนาด มีทั้ง 3,000 ตัว ต่อกิโลกรัม 1,400 ตัว ต่อกิโลกรัมและ 800 ตัว ต่อกิโลกรัม เราซื้อมากิโลกรัมละ 60 บาท เมื่อปลาถึงเราจะคัดเลือกขนาด เพื่อป้องกันการแยกอาหารกัน และต้องการให้แต่ละกระชังมีลูกปลาเจริญเติบโตเท่าๆ กัน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการจัดการอื่นๆ ด้วย" หากลูกปลาที่ซื้อเป็นตัวใหญ่หรือขนาด 800 ตัว ต่อกิโลกรัม เขาจะหัดให้กินอาหารปลาทะเลและอาหารเม็ด เพียงระยะเวลา 10 วัน เท่านั้น ก็สามารถจับขายได้แล้วส่วนปลาจากสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดสิงห์บุรีนั้น มีขนาดเดียว คือตัวเล็กๆ อายุประมาณ 15 วัน ปลาพวกนี้ต้องอนุบาลครบ 40 วัน จึงจับขายได้เมื่อเลี้ยงครบ 40 วัน เขาก็จำหน่ายให้กับลูกค้าที่สนใจ ขนาด 2-3 นิ้ว ราคา 1 บาท และขนาด 3-4 นิ้ว ราคา 1.50 บาทปัจจุบันนี้ มีลูกค้าทั่วประเทศ จนผลิตไม่ทันตามความต้องการของตลาดเลยทีเดียว

ที่มา:หนังสือพิมพ์มติชน

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

โรคแคงเกอร์ ในมะนาว

โรคแคงเกอร์ นับว่าเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งแก่พืชตระกูลส้ม เพราะโรคนี้ค่อนข้างที่จะเข้าทำลายพืชตระกูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ถ้าสภาพของต้นอ่อนแอ โรคนี้สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Xanthomonas campestris pv citri Hasse ซึ่งจัดเป็นโรคที่มักจะคอยสร้างปัญหา ให้แก่เกษตรกรชาวสวนมะนาวและผู้ที่ปลูกพืชตระกูลส้มทั้งหลายกันเป็นจำนวนมาก เพราะจะนำมาซึ่งความเสียหายในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นต้น กิ่ง ก้าน ใบ และผลอีกด้วย คือสรุปง่ายๆ ว่าลองได้โรคนี้เข้ามาละก็ เตรียมตัวเจ๊งกันได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ทั้งหลาย เพราะโรคนี้จะทำให้ผลผลิตตกต่ำ และอาจจะต้องเสียเงินเสียทองซื้อต้นพันธุ์ใหม่มาปลูกใหม่
วิธีการจัดการดูแลและรักษา ก็ใช่ว่าจะง่าย ยิ่งถ้าเป็นสารเคมีด้วยแล้วก็ค่อนข้างที่จะอันตรายและมักจะไม่ค่อยได้ผลในระยะยาว ในกลุ่มผู้ที่นำสารเคมีเช่นคอปเปอร์เข้ามาใช้ก็อาจจะได้ผลในระยะแรกแต่ใช้ไปนานเข้า ๆ ก็จะทำให้ต้นมีปัญหาได้และเชื้อโรคแคงเกอร์ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม ใช่ว่าจะหมดไปโดยสิ้นเชิง และยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างและสะสมในดินเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สารพิษที่ตกค้างเหล่านี้อาจจะยังไม่ออกฤทธิ์ออกเดชทันทีในช่วงที่ดินและสภาพภูมิอากาศมีความชื้นอยู่เพียงพอ เพราะความชื้นจากน้ำและสภาพภูมิอากาศจะเป็นตัวช่วยในการบรรเทาและเจือจางสารเคมีเหล่านั้นให้เป็นอันตรายน้อยลง แต่ถ้าเข้าสู่ฤดูแล้งต้นฤดูหนาว ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีน้อยทำให้น้ำในดินระเหยออกไปในปริมาณมาก ทำให้สารพิษเหล่านี้มีความเข้มข้นมากขึ้นจนเป็นพิษต่อมะนาว ทำให้ต้นมะนาวทั้งหลายอ่อนแอลง และเชื้อโรคฉวยโอกาสรวมทั้งโรคแคงเกอร์ก็เข้ามารบกวนและจู่โจมมะนาวของเราได้ในทันทีโรคแคงเกอร์ สามารถที่จะเข้าทำลายมะนาวได้เกือบทุกส่วนของต้นไม่ว่าจะเป็น กิ่ง ก้าน ใบ ลำต้น รวมทั้งผล ถ้าเป็นที่ใบอ่อนจะสังเกตเห็นได้ว่าเป็นจุดกลม ๆ ฉ่ำน้ำ ออกสีเหลืองซีด ๆ หรือเขียวอ่อน เมื่อขนาดของวงขยายใหญ่ขึ้นจะมีลักษณะฟูคล้ายๆ ฟองน้ำ ซึ่งในเวลาต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกสะเก็ด ขรุขระเป็นปุ่มนูนและแข็ง แต่ตรงกลางจะเป็นรอยบุ๋มยุบลงไป และมีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล สามารถที่จะมองเห็นได้ทั้งสองด้านของใบ ถ้าปล่อยให้เป็นมากๆ ใบจะร่วงหล่น โรคแคงเกอร์เข้าทำลาย กิ่ง และก้าน ในระยะเริ่มแรกจะเกิดจุดสีเหลืองนูน ฟูอยู่บนเปลือกของกิ่งและก้านมะนาว ต่อมาแผลนั้นจะค่อยๆ แตกและแห้งเป็นสะเก็ดสีน้ำตาล แล้วลุกลามขยายออกไปตามความยาว หรือรอบกิ่งจนกลายเป็นปุ่มหรือ ปมขนาดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ถ้าเป็นโรครุนแรงหรือลุกลามขยายออกไปมากเข้าก็จะทำให้ต้นแคระแกร็น กิ่งก้านแห้งตาย และทรุดโทรมอาจถึงตายได้ต่อมาลักษณะอาการของโรคแคงเกอร์เข้าทำลายที่ผล จะเกิดจุดแผลฝังลึกลงไปในผิวของผลอ่อน ลักษณะของแผลจะนูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองเข้ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกสะเก็ดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผลทำให้เกิดการปริแตกตามรอยแผลของโรคแคงเกอร์
ในปัจจุบัน เราสามารถที่จะทำการรักษาโรคแคงเกอร์นี้ได้แล้ว โดยที่ไม่ต้องไปใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายทั้งหลาย รวมทั้งสารเคมีที่ชาวบ้านเรียกกันว่าสารเขียวหรือสารประกอบทองแดงก็ไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะยิ่งใช้นานเข้าก็จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมความเลวร้ายให้แก่ต้นเพิ่มขึ้น เพราะต้นเขาจะยิ่งอ่อนแอหรือตาย แต่โรคนั้นก็ยังคงอยู่ ไม่หายไปไหน ควรเปลี่ยนมาใช้จุลินทรีย์ปราบโรค แคงเกอร์ที่ชื่อว่า บีเอส พลายแก้ว ในปริมาณ 5 กรัม หมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล โดยทำการเฉาะผลมะพร้าวอ่อนทำเป็นฝาแง้มเปิดหยอดเชื้อลงไปแล้วหมักทิ้งไว้ให้ได้ 24 ชั่วโมงและไม่เกิน 48 ชั่วโมง แล้วนำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน ในช่วงระยะเวลาแดดอ่อน หรือจะใช้ นมยูเฮชที รสหวาน 1 กล่อง หรือ นมถั่วเหลือง (แลคตาซอย, ไวตามิ้ลท์) 1 กล่อง นำมาเทใส่ถุงน้ำแข็งใส นำหนังยางมาผูกทำเป็นหูไว้ข้างหนึ่ง หยอดเชื้อลงไป 5 กรัม แล้วนำไปแขวนไว้ในที่ร่มทิ้งไว้โดยใช้ระยะเวลาเท่ากันกับวิธีหมักกับวิธีที่ใช้ผลของมะพร้าวอ่อน หลังจากหมักได้ที่แล้วก็นำมาผสมกับ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้เหมือนกัน
บทความจาก คุณมนตรี บุญจรัส ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/

การเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์


นางย้อม แสงสว่าง อายุ 53 ปี ณ บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 2 ต.ป่างิ้ว อ.เมือง จ.อ่างทอง เป็นผู้ริเริ่มเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์เป็นผลสำเร็จน่าภูมิใจอย่างยิ่ง คุณย้อมเล่าว่า มีเวลาว่างก็เลยคิดที่จะทดลองเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อซีเมนต์ ซึ่งมีที่อยู่รอบบ้านว่างอยู่ โดยครั้งแรกก็นำปลาหมอไทยมาเลี้ยง ปลาดุก กบมาเลี้ยงก็ได้ผลแต่ปลาหมอไทยไม่ได้ผลเนื่องจากการเติบโตช้ามาก จึงข้ามมาทดลองเลี้ยงปลาช่อนดู เห็นว่าราคาดีและยังไม่มีใครทำจึงได้ดำเนินการดังนี้

เตรียมบ่อซีเมนต์
1. บ่อซีเมนต์ควรทำหลายๆบ่อก็จะดี เช่น บ่ออนุบาลปลาช่อน ควรมีขนาด 2 x 3 เมตรหรือ 2x2 เมตรก็ได้ ความลึกขนาด 30 ซม. มีหลังคาคลุมป้องกันงู นก จะมากินลูกปลาช่อน ปล่อยลูกปลาขนาด (ประมาณ1-2 นิ้ว) ได้ 2000-3000 ตัว ควรทำ 2-3 บ่อถ้าต้องเลี้ยงปลาจำนวน 10000 ตัว อนุบาลไว้ 30 วัน
2. บ่อเลี้ยง ควรมีขนาด 5x10 เมตร ลึก 1 เมตร แช่น้ำให้มีตระใคร่น้ำจับให้หมดฤทธิ์ของปูน ใส่น้ำขนาดความลึก 30 ซม. ใส่ผักตบชวา (ผักปลอด) จำนวนครึ่งของพื้นที่บ่อให้ปลาช่อนได้หลบแสงและป้องกันน้ำเสียง่าย บ่อเลี้ยงมีอย่างน้อย 2-3 บ่อ เพื่อให้คัดขนาดของปลาที่โตเท่าๆ กันเลี้ยงในบ่อเดียวกัน การหาลูกปลาช่อนและการอนุบาล ลูกปลาช่อนหาได้จากลำคลอง ทุ่งนาข้าว หรือ แหล่งน้ำ จะเห็นว่าในช่วงฤดูฝนเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมปลาช่อนจะวางไข่ และ จะมีลูกปลาเล็กๆ ตัวขนาด 1-2 นิ้ว เป็นฝูงจะมองเห็นผุดน้ำระยิบๆ ก็จะนำสวิงตาถี่ เช่นไนลอนเขียวทำเป็นสวิงตักปลาขนาดกลางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1เมตร นำไปช้อนลูกปลาและใส่ภาชนะกระมังใหญ่ๆ หรือใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ อัดอ๊อกซิเจนกรณีลำเลียงลูกปลาไกลๆ เมื่อได้ลูกปลาแล้วนำมาแช่น้ำใหม่โดยใส่ยาฆ่าเชื้อโรคเจือจางก่อนนำลงบ่ออนุบาล ทิ้งไว้ 1วัน ให้ลูกปลาหิวก็จะนำอาหารชนิดผงของปลาดุกเล็กมาปั้นก้อนขนาดเท่าหัวแม่มือ 2-3 ก้อน วางลงในบ่อปลาลูกปลาจะเข้ามากินและชอบกินมาก ในวันต่อๆ มา ควรให้วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น และในสัปดาห์ต่อมาควรฝึกให้กินจิ้งหรีดตัวเล็กๆ ในสัปดาห์ที่ 3-4 ซึ่งลูกปลาจะโตขนาดเท่านิ้วมือความยาวขนาด 4-5 นิ้ว การเลี้ยงปลาเป็นใหญ่ เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน จะย้ายปลาช่อนลงบ่อเลี้ยงขนาด 5x10 เมตร จำนวนบ่อละ 2000-3000 ตัว ช่วงนี้กรณีไม่มีจิ้งหรีดหรือไม่เพียงพอ ให้ใช้หอยเชอรี่มาต้มทั้งตัวและ แคะเอาแต่เนื้อหอยมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปใส่ในบ่อปลาช่อนจะกินจำนวนหอยเมื่อแกะแล้วจำนวนครั้งละ 1 กิโลกรัม แต่จะทำให้น้ำเสียเร็ว ประมาณ 15วัน จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ กรเปลี่ยนถ่ายน้ำให้น้ำไหลออกจากรูระบายน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าตัวปลา ปล่อยน้ำให้หมดบ่อเลยแล้วเอาน้ำใหม่ใส่ ข้อดีคือ ทำให้เราเห็นสภาพของปลาได้ชัดเจนว่า ปลาเจ็บป่วยหรือไม่ และปริมาณการเติบโตจะเห็นได้ชัด พร้อมทั้งคัดขนาดของปลาได้
ข้อระวัง
บ่อจะต้องมีตาข่ายไนล่อนเขียวขึงปิดไว้ริมบ่อให้สูง ยิ่งถ้าฝนตกปลาช่อนจะกระโดดสูง ถ้าไม่กันจะกระโดดออกหมด

อาหารเลี้ยงปลาช่อน
จำเป็นจะต้องลดต้นทุนให้มากที่สุด ให้ได้กำไรมากที่สุด ช่วงระยะของการเลี้ยงปลาช่อน
1. ต้องการปลาช่อนขนาดเล็ก 4 ตัว/กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
2. ต้องการปลาช่อนขนาด 2-3ตัว /กิโลกรัม จะใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน ในกรณีที่ใช้อาหารปลาดุก +จิ้งหรีด ระยะเวลาจะเร็วกว่านี้ ประมาณ 1 เดือนการให้อาหารปลาช่อนให้เช้า-เย็น กรณีถ้าเราเลี้ยงจิ้งหรีดได้สัปดาห์ละ 5 หมื่นตัวต่อสัปดาห์ จะเพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลาดุก 1 บ่อ(2000-3000ตัว)

การตลาด ปลาช่อนเป็นปลาเศรษฐกิจขายได้ทุกขนาด ยิ่งน้ำหนักตัวละ 8-9 ขีด ถึง 1กิโลกรัม จะได้ราคาดีกิโลกรัมละ70-80 บาท ถ้าเผาปลาช่อนขายจะขายได้ตัวละ 90-100 บาท ปลาช่อนเล็ก ราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท แต่ถ้าแปรรูปเป็นปลาเค็ม ปลาช่อนแดดเดียว ราคากิโลกรัมละ 120 บาท ความต้องการของตลาดมีมาก ในช่วงเวลาก่อนขาย 1 เดือน จะถ่ายน้ำบ่อยเพื่อให้ปลาช่อนไม่มีกลิ่นสาบของน้ำและช่วงเวลาจับขายจะให้อาหารจิ้งหรีด หรืออาหารปลาดุกชนิดเม็ดอย่างเดียว ไม่ให้หอยเชอรี่เนื่องจากจะทำให้น้ำมีกลิ่นและปลาจะมีกลิ่นตามไปด้วย ควรถ่ายน้ำบ่อยๆ ในช่วงเดือนที่จะจับขาย ปลาช่อนจะมีสีสวยงามสีของปลาช่อนจะมีเกล็ดเป็นเงางามอ้วนสมบูรณ์ ในขณะเลี้ยงจะต้องจำกัดอาหารให้พอดี ปลาช่อนชอบกินอาหรประเภทจิ้งหรีดมาก บางครั้งพบว่ากินจนท้องแตกในระยะเล็ก ๆ
การแปรรูปปลาช่อน
ทุกคนทราบดีว่าปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่บริโภคได้อร่อย ทั้งต้ม แกง ปลาเค็ม ปลาหยอง ปลาทุบ แม้แต่ทำเค็กเนื้อปลา

ผลกำไร
ตลอดระยะเวลาช่วงเลี้ยง 8-9 เดือน ตัวรุ่นเล็ก 2500 ตัว จะได้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1200 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 60 บาท เป็นอย่างต่ำ เป็นเงิน 72000 บาท การลงทุนหากไม่คิดค่าบ่อ คิกแต่ค่าอาหารช่วงเล็กๆค่าน้ำ ค่ากระแสไฟฟ้า ใช้แรงงานในครัวเรือนแล้วใช้เงินประมาณ 1500บาท/รุ่น ซึ่งก็ทำให้มีผลกำไรสูง ถ้าเลี้ยงหมุนเวียนประมาณ 3 บ่อ ก็จะมีรายได้ที่งดงามจริงๆ สนใจ ดูการเลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์ เส้นทางของเกษตรมีอนาคต สามารถเป็นรูปแบบจุดประกายความคิดให้อีกหลายๆ ชีวิต ได้ลุกขึ้นสู้ภัยเศรษฐกิจ รีบกลับบ้านที่ว่างในรั้วบ้านยังมีพอจะสร้างบ่อซีเมนต์แล้วเลี้ยงปลาหรือกบหรือคางคก ทุกอย่างสามารถเลี้ยงเป็นเงินทั้งนั้น หรือจะเข้าชมการเลี้ยงของคุณย้อม แสงสว่าง เลขที่ 8 หมู่ 2ต.ป่างิ้ว อ. เมือง จ.อ่างทอง ชมรมเพื่อนเกษตรโทร.035-627333
การทำปลาช่อนเค็มแดดเดียว
ปลาช่อน จำนวน 25 กิโลกรัม
เกลือเม็ด จำนวน 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด จำนวน 1 ปีบ
สีผสมอาหาร จำนวน 1 ซอง
น้ำแข็งละเอียด จำนวน 20 กิโลกรัม
วิธีทำ
ทำความสะอาดขอดเกล็ด ตัดกลีบ ตัดหัว ผ่าท้องตามยาว ถ้าตัวเล็กไม่ต้องผ่ากลาง แต้ถ้าตัวใหญ่ให้ผ่ากลาง เอากระดูกสันหลังออก ล้างน้ำให้สะอาด ผสมเกลือกับน้ำให้ละลาย ชิมน้ำให้เค็มพอดี แล้วนำปลาใส่และใส่น้ำแข็ง แช่ไว้ในถังพลาสติก ทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นนำปลาออกมาล้างให้สะอาด นำไปตากแดดประมาณ 5-6 ชั่วโมงก็นำออกไปขายหรือบริโภคได้อร่อย ปลาจะเนื้อนิ่มระดับความเค็มจะพอดี และน้ำแข็งจะทำให้เนื้อปลาสด ขณะที่แช่หมักไว้ ควรทดลองทำ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจสอบความเค็มให้พอเหมาะตามต้องการ ปลาช่อนเค็มแดดเดียวราคาขายกิโลกรัมละ 120-140 บาท

สาเหตุโรคในกบ

ปัญหาโรคกบส่วนใหญ่มาจากความผิดพลาดทางด้านการเลี้ยงและการจัดการ ขาดความเอาใจใส่ ไม่เข้าใจวิธีการเลี้ยงและความต้องการของกบ สาเหตุโน้มนำที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ อากาศเปลี่ยนแปลงเลี้ยงกบหนาแน่นเกินไปเตรียมบ่อไม่ดี ไม่มีการฆ่าเชื้อโรคคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงไม่เหมาะสมไม่ค่อยเปลี่ยนถ่ายน้ำสถานที่เลี้ยงกบอยู่ในบริเวณที่ไม่เหมาะสมอาหารไม่สด ไม่มีคุณภาพ วิธีการให้อาหารไม่เหมาะสม ให้อาหารมากเกินไป
โรคกบที่สำคัญ
โรคขาแดง (Red leg disease)
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แอร์โรโมนาส ไฮโดรฟิลล่า (Aeromonas hydrophila) อาการและรอยโรค กบแสดงอาการซึม เคลื่อนไหวช้าลง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม กินอาหารน้อยลง พบลักษณะมีจุดผื่นแดงตามขาและผิวหนังด้านท้อง มีแผลตามตัว ขาบวม โคนขามีสีแดง พบการตกเลือดและมีน้ำในช่องท้อง (ascites) ตับมีสีแดง คั่งเลือด ( congestion) บางครั้งพบจุดขาวๆ กระจายทั่วตัว

การรักษา ทำได้เฉพาะเมื่อกบมีอาการป่วยไม่รุนแรง แต่ถ้ากบมีอาการป่วยหนัก การรักษาอาจไม่ได้ผล อาจให้ยาปฏิชีวนะ เช่นเอนโรฟล็อคซาซิน 5-10 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม กินติดต่อกัน 7-10 วันออกซี่เตตร้าซัยคลิน 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม กินติดต่อกัน 7-10 วันและทำร่วมกับแช่กบในด่างทับทิม 5-8 พีพีเอ็ม (5-8 กรัม/น้ำ 1 ตัน) หรือไอโอดีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำและลดปริมาณอาหารที่ให้ลงการป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การควบคุมคุณภาพน้ำให้ดีเสมอ มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอและไม่เลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป
โรคตาขาว คอเอียง กระแตเวียน บวมน้ำ
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ฟลาโวแบคทีเรียม เมนิงโกเซพติคุ่ม (Flavobacterium meningosepticum)
อาการและรอยโรค ลักษณะตาขาว ขุ่น บอด เกิดการอักเสบที่ตา มีหนองในช่องหน้าตา มีอาการทางประสาทโดยกบจะนอนหงายท้อง แสดงอาการควงสว่าน คอเอียง กบบางตัวจะบวมน้ำ พบน้ำคั่งใต้ผิวหนังและมีน้ำในช่องท้อง

การรักษา การรักษาโรคนี้มักไม่ค่อยได้ผล โดยเฉพาะในตัวที่ป่วยหนัก ทำได้โดยลดความรุนแรงของโรค โดยแยกตัวป่วยออกและฆ่าเชื้อโรคในบ่อโดยใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น ไอโอดีน เป็นต้น หรือ อาจใช้ด่างทับทิม 5-8 กรัม/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ทั่วบ่อติดต่อกัน 3 วัน และผสมยาปฏิชีวนะ เช่น เอนโรฟล็อคซาซิน กับอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกบที่เหลือ นอกจากนี้แล้วจะต้องแยกกบให้ปริมาณน้อยลงจากเดิมการป้องกัน ไม่เลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป มีการพักน้ำและฆ่าเชื้อโรคในน้ำก่อนนำมาใช้ด้วยคลอรีน เปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ

การปรับปรุงพันธุ์มะละกอ


การปลูกมะละกอปลูกโดยทั่วไปมักพบกับปัญหาในเรื่องของพันธุ์มะละกออยู่ 2 ประการ คือ

1. ปัญหาเรื่องต้นมะละกอที่ปลูกไปแล้ว มักเป็นต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมีย ไม่เป็นต้นกระเทยตามที่ต้องการในการปลูกมะละกอนั้นผู้ปลูกต้องการจะได้ต้นกระเทยหรือต้นที่ให้ดอกสมบูรณ์เพศมากที่สุด เพราะต้นกระเทยจะให้ผลดกที่สุด ส่วนต้นตัวเมียจะไม่ดกและจะติดผลได้ก็ต่อเมื่อต้นตัวเมียนั้นได้รับการผสมเกสรจากต้นอื่น คุณภาพของผลที่ได้จากดอกตัวเมียก็สู้ผลจากดอกกระเทยไม่ได้ ส่วนต้นตัวผู้นั้นจะไม่ได้ผลเลยหรือให้ผลที่ตลาดไม่ต้องการ ดังนั้นถ้าปลูกมะละกอไปแล้วปรากฏว่าต้นมะละกอนั้นเป็นตัวเมียและต้นตัวผู้ทั้งหมด หรือเป็นส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้ผลเลยหรือได้ผลไม่เต็มที่เสียเวลาและทุนทรัพย์และกว่าจะรู้ว่ามะละกอต้นใดเป็นต้นตัวผู้ตัวเมียหรือต้นกระเทยก็ต้องรอจนกว่าต้นมะละกอนั้นออกดอกเสียก่อนการปลุกก็จำเป็นต้องปลูกเผื่อไว้ เช่นปลูกหลุมละ 3-4 ต้นเพื่อที่จะได้คัดเลือกเอาไว้เพียงต้นเดียวเท่านั้น

2. ปัญหาเกี่ยวกับการกลายพันธุ์การไม่ได้มาตรฐานของมะละกอซึ่งจะพบเห็นกันอยู่เสมอว่ามะละกอที่ปลูกๆกันทั่วไปนั้นไม่ค่อยได้มาตรฐานทั้งในด้านต้นและผลมะละกอ โดยจะสังเกตได้ว่าในมะละกอพันธุ์เดียวกัน แต่ผลจะมีขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ รูปทรงของผลก็ไม่แน่นอน มีทั้งทรงป้าน ทรงกลมทรงกระบอก บางผลก็รูปทรงได้สัดส่วนบางผลก็บิดเบี้ยว ดังนี้เป็นต้นในด้านคุณภาพของเนื้อก็ยังแตกต่างกันอีก ทั้งในด้านของสี รส ความหนา ความแน่นของเนื้อเป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆดังกล่าวนี้เกิดจากการขาดมาตรฐานของพันธุ์ และมีผลต่อผู้ปลูกเป็นอย่างมาก เพราะไม่สามารถผลิตผลมะละกอที่เหมือนๆกันได้ในจำนวนที่ต้องการ ผู้ซื้อเองก็ไม่ชอบเพราะมะละกอแต่ละรุ่น แต่ละแห่ง ไม่เหมือนกันเลยทั้งที่เป็นพันธุ์เดียวกัน ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการคัดพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ให้ได้พันธุ์มะละกอที่ได้มารฐาน ทั้งในด้านของต้นหรือผลผลิต และคุณภาพของผลผลิต การคัดพันธุ์ปรับปรุงพันธุ์มะละกอเป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่ยากนัก ผู้ปลูกมะละกอทั่วไปก็สามารถทำได้เองและสมควรทำอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ที่ปลูกเป็นการค้า หรือปลูกจำนวนมากๆจำเป็นจะต้องรักษามาตรฐานพันธุ์มะละกอของตนไว้ให้คงที่อยู่เสมอ

การปรับปรุงพันธุ์ การคัดพันธุ์มะละกอสามารถทำได้หลายวิธีเช่น
- การช่วยผสมพันธุ์มะละกอด้วยมือ เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่หรือให้ได้มาตรฐานตามที่ต้องการ
- การดำรงพันธุ์ รักษามาตรฐานของพันธุ์เดิมไว้โดยให้ดอกกระเทยผสมตัวเอง
- การคัดเลือกพันธุ์โดยการเลือกต้น เลือกผล

มะเกลือสมุนไพรถ่ายพยาธิ

มะเกลือ เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ผลดิบสด ใช้ถ่ายพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือนตัวกลม ต้นมะเกลือขึ้นตามป่าชุมชน เกิดในสภาพดินแทบทุกชนิด วิธีการทำยาถ่ายพยาธิวัว-ควาย ผลมะเกลือจากป่าชุมชน ต้องเป็นผลแก่ลักษณะสีเขียวอมเหลือง ประมาณ 10-15 ผล นำมาตำหรือโครกให้ละเอียด แล้วผสมกับเกลือแกงประมาณ 1 กำมือ และใส่น้ำ 1 แก้ว แล้วคั้นเอาแต่น้ำเท่านั้น แล้วนำไป กรอกให้วัวกิน หลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ จะสังเกตว่าวัวจะกินหญ้าดีและจะเริ่มอ้วนให้เห็นในเวลาประมาณ 1-2 เดือน หลังจากทำการถ่ายพยาธิ

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

ไถกลบตอซังเพิ่มอินทรีย์สารให้ดิน

การไถกลบตอซัง
การไถกลบตอซังข้าวหรือพืชไร่ที่อยู่ในไร่นาภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ลงไปในดินระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกขณะที่ดินมีความชื้น และปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายในดิน ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช แล้วจึงปลูกพืชหลักตามในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีทางชีวภาพโดยการนำปุ๋ยอินทรียน้ำที่ได้จากการหมักวัสดุเศษปลา หอยเชอรี่ ผักผลไม้หรือเศษอาหารบ้านเรือน โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในการหมักตอซัง ปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีประโยชน์เป็นสารเสริมการเจริญเติบโตประกอบด้วยฮอร์โมนออกซินจิบเบอร์เรลลิน และไซโตไคนิน และกรดอินทรีย์รวมถึงวิตามินบีหลายชนิด ช่วยในการกระตุ้นการเจริญและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ดิน ทำหน้าที่ย่อยสลายตอซังได้ดี ตอซังอ่อนนุ่ม ย่อยสลายได้ง่ายและไถกลบสะดวกขึ้นประโยชน์จากการไถกลบตอซัง

1. ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีความเหมาะสม- ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดินการปักดำกล้า และทำให้ระบบรากพืชสามารถแพร่กระจายในดินได้มากขึ้น- การระบายอากาศของดินเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อการหายใจของระบบรากพืชในดิน- เพิ่มการซึมผ่านของน้ำได้อย่างเหมาะสมและการอุ้มน้ำของดินให้ดีขึ้น

2. เป็นแหล่งสะสมธาตุอาหารพืชในดินและปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน- เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรงอาจจะมีปริมาณธาตุน้อย แต่จะมีธาตุอาหารครบถ้วนตามที่พืชต้องการ ทั้งธาตุอาหารหลัก (ไนโตเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม) ธาตุอาหารรอง (แคลเซียม แมกนีเซียมและ กำมะถัน) และจุลธาตุ (เหล็ก แมงกานีส ทองแดงสังกะสี โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน) และจะค่อยๆ ปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว- ช่วยดูดซับธาตุอาหารในดินไม่ให้สูญเสียไปจากดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้การไถกลบตอซัง เพิ่มอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดิน- ช่วยรักษาความสมดุลเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ให้มีความเหมาะสมต่อการเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน- ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน เนื่องจากธาตุดังกล่าวนี้จะละลายออกมามากในสภาพดินกรดหรือดินเปรี้ยว ทำให้ธาตุอาหารพืชถูกตรึงไว้ในดิน- ช่วยลดความเป็นพิษจากดินเค็ม โดยตอซังช่วยให้การอุ้มน้ำในดิน ทำให้ดินมีความชุ่มชื้น ส่งผลให้เกลือใต้ดินไม่สามารถระเหยขึ้นมาได้

3. เพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน- อินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ดิน มีผลทำให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชนอกจากนี้อินทรียวัตถุมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ประกอบด้วยโพรงหรือห้องขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์และสัตว์เล็กๆ ในดิน

- การเพิ่มปริมาณหรือจำนวนของจุลินทรีย์ดินมีผลช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชบางชนิดในดินลดน้อยลงวิธีการไถกลบตอซังข้าว

1. พื้นที่เขตชลประทาน ในเขตพื้นที่ชลประทานซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ต่อเนื่อง 2-3 ครั้งต่อปี หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่ต้องเผาตอซังและฟางข้าว ให้ปฏิบัติดังนี้- ผสมปุ๋ยอินทรีย์น้ำจำนวน 3 ลิตรต่อไร่กับน้ำ 100 ลิตร- เทสารละลายปุ๋ยอินทรีย์น้ำไหลไปตามน้ำขณะที่เปิดน้ำเข้านาจนทั่วแปลงหรือใช้รถบรรทุกสารละลายปุ๋ยอินทรีย์น้ำสาดให้ทั่วแปลงนาขณะเดียวกันใช้รถตีฟาง ย่ำฟางให้จมลงดิน- หมักฟางทิ้งไว้เป็นเวลา 10 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ2 ลิตรผสมกับน้ำ 100 ลิตร สาดให้ทั่วแปลงนาอีกครั้งหมักไว้อีก 5 วัน- จากนั้นจึงทำเทือกเพื่อเตรียมหว่านหรือปักดำข้าวครั้งใหม่ต่อไป หรือสามารถปลูกพืชไร่เศรษฐกิจชนิดอื่นได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด และฟ่าง เป็นต้น

2. พื้นที่เขตเกษตรน้ำฝน ที่มีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักเพียงอย่างเดียวตลอดฤดูเพาะปลูก หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวให้ทิ้งฟางข้าวและตอซังไว้ในพื้นที่ เพื่อเป็นการคลุมผิวหน้าดิน จากนั้นเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมให้ปฏิบัติ ดังนี้
- ผสมปุ๋ยอินทรีย์น้ำจำนวน 3 ลิตรต่อไร่กับน้ำ100 ลิตร
- ใส่สารละลายปุ๋ยอินทรีย์น้ำตามบริเวณคันนาหรือสาดให้ทั่วสม่ำเสมอ แล้วใช้รถไถย่ำฟางให้จมดิน หมักฟางทิ้งไว้ 7 วัน
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 2 ลิตร ผสมน้ำ 100 ลิตรให้ทั่วแปลงนาอีครั้งแล้วใช้รถไถตีฟางตามไปด้วย- ปล่อยให้ย่อยสลายอีก 7 วัน
- จากนั้นจึงทำเทือกเตรียมแปลงพร้อมที่จะปลูกข้าวต่อไป

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

วัสดุที่ใช้
๑. ปุ๋ยคอก ๙๐ กระสอบ
๒. รำหยาบ ๔ กระสอบ
๓. รำละเอียด ๒ กระสอบ
๔. อาหารเสริม ๑ กระสอบ
๕. แกลบดิบ ๓ กระสอบ
๖. อาหารเสริม ๑ ชุด
๗. สารเร่ง ๑ ชุด
๘. ยูเรีย ๒ กิโลกรัม

วิธีทำ
เทหัวเชื้อ พด.๑ ลงในน้ำ ๒๐๐ ลิตร ใช้ไม้คนอย่างสม่ำเสมอนาน ๑๕ นาที เทน้ำหมักชีวภาพที่ผ่านการหมักสมบูรณ์ดีแล้ว จำนวน ๑ ลิตร ผสมน้ำ ๒๐๐ ลิตร ใช้ไม้คนอยางสม่ำเสมอนาน ๑๕ นาที นำวัสดุทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำน้ำจากข้อ ๑ และข้อ ๒ ลาดลงบนกองวัสดุทำปุ๋ย ให้ทั่ว สม่ำเสมอ ผสมวัสดุให้เข้ากันอีกครั้ง ตั้งกองสูง ๕๐-๗๐ เซนติเมตร แล้วคลุมด้วยกระสอบป่าน กลับกองปุ๋ยทุก ๗ วัน แล้วคลุมด้วยกระสอบ จำนวน ๔ ครั้ง เมื่อกลับกองปุ๋ย ๔ ครั้งแล้ว แผ่กองปุ๋ยออกผึ่งไว้ในที่ร่มจนแห้ง แล้วบรรจุกกระสอบที่ระบายอากาศได้ดี

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552

การปรับสภาพดินด้วยโดโลไมท์


โดโลไมท์ช่วยในการปลูกพืช ปรับสภาพน้ำ ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ช่วยในการเจริญเติบโตใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง กว่า 50% ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรส่วนประกอบสำคัญ : แคลเซียม ไม่ต่ำกว่า 43 %แมกนีเซียม ไม่ต่ำกว่า 22%นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแร่ธาตุ ซิลิกอน, โซเดียม, โปรแทสเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, ทาลิเนียม, ฟอสฟอรัสฯลฯทำมาจากหินฟอสเฟตจากธรรมชาติ ที่มีชื่อทางการว่าโดโลไมท์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทางหน่วยงานในภาครัฐมีการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาใช้ เพราะนอกจากจะเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน-น้ำโดยวิธีธรรมชาติแล้ว ทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายจากเดิมได้มากขึ้น คุณสมบัติในดิน- ช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การผสมเกสร และการติดเมล็ด เร่งสร้างความเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของพืช- เพิ่มภูมิต้านทาน เสริมต้นพืชให้แข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อม และโรคแมลงต่างๆ- ควบคุมค่า pH
1. ยางพารา รองก้นหลุมประมาณ 1-2 ขีด อายุ 1-6 ปี ใส่ประมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น อายุ 7 ปี ขึ้นไป ใส่ประมาณ 2 กิโลกรัม/ต้น หมายเหตุ ยางหน้าตายให้ใส่ 5 กิโลกรัม/ต้น (หลังจาก 4 เดือนจะมีน้ำยางให้กรีดตลอดทั้งปี)
2. ต้นไม้ยืนต้นและไม้ผลทุกชนิด ให้รองก้นหลุมประมาณ 2-3 ขีด อายุ 1-5 ปี ใส่ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ผลไม้ที่ออกผลแล้ว และไม้ผลที่มีปัญหาให้ใส่ตามอายุอัตราส่วน 1 ปี : 1 กิโลกรัม หมายเหตุ กรณีต้นลองกองหรือไม้ผลเป็นโรคหนอนชอนเปลือก(ICU) ให้ใส่ปุ๋ย 10-15 กิโลกรัม (แล้วแต่ขนาดต้น)เห็นผลภายใน 4 เดือน
3. การปลูกผักทุกชนิด รองก้นหลุม 1-2 ขีด ใส่ช่วงออกดอก-ผล อีกครั้ง เพื่อให้ดอกไม่ร่วงและผลใหญ่-โต หมายเหตุ ใส่ปุ๋ยดินแร่ฯ โดโลไมท์ตราเครื่องบิน 39 จะป้องกันแมลงกินใบ โดยไม่ต้องกางมุ้ง(ผักปลอดสารพิษ 100%) ภายใน 4 เดือน สามารถรีดใหม่ได้และยังเพิ่มน้ำยางกว่าเดิมถึง 40%ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่มีในดินแร่ธรรมชาติโดโลไมท์ จะไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เช่น หน้ายางตาย หนอนชอนเปลือก โรครากเน่าฯลฯ ให้กลับมาเหมือนเดิมโดยไม่ต้องโค่นทิ้งเพื่อปลูกใหม่และมีธาตุอาหารหลายชนิดเพื่อไปบำรุงต้นไม้ให้แข็งแรงสมบูรณ์
ในการใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต หรือ โดโลไมท์ นั้นให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเห็นด่างของดินด้วยกล่าวคือ ในสภาพดินที่มีแนวโน้มการเป็นกรดเห็นด่างสูงให้ใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตและในสภาพดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างต่ำให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ ในการใช้ปุ๋ยโดโลไมท์นั้นควรให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมี ประมาณ 1 เดือนเพื่อป้องกันการดูดตรึงธาตุอาหารไว้ในดินทำให้มะพร้าวไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้การปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินโดยทั่วไปสภาพดินมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานหลายปีเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของดิน เช่นดินจับแจ็งกันเป็นก้อนซึ่งเกิดจากการตรึงธาตุอาหารบางชนิดที่จำเป็นต่อพืชการไถพรวนดินที่ผิดวิธีที่ก่อให้เกิดการชะล้างของผิวดินการปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นเวลาติดต่อกันหลายปีทำให้เนื้อดินเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินกระทำได้โดยใส่ปูนขาว ปูนมาร์ลหรือแร่โดโลไมท์ อัตรา200-300 กิโลกรัม / ไร่ หลังจากหว่านหรือใส่ปูนแล้วจะต้องรดน้ำตามด้วยค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ค่าความเป็นกรดด่างของดิน หรือ พีเอช (pH) จะบอกค่าตัวเลขตั้งแต่ 0-14 หากดินมีค่าพีเอชน้อยกว่า7 ดินนั้นจะเป็นดินกรด ยิ่งน้อยกว่า 7 มากก็จะเป็นกรดมาก ถ้าดินมีพีเอ็ชมากกว่า 7จะเป็นดินด่างแต่ปกติแล้วพีเอชของดินโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 5-8 หากดินมีพีเอชเท่ากับ 7 แสดงว่าเป็นกลางความเป็นกรดเป็นด่างของดินจะเป็นตัวควบคุมการละลายหรือการตรึงธาตุอาหารในดินออกมาอยู่ในรูปสารละลายในดินเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ ช่วงพีเอส 6.2-6.8เป็นช่วงที่ธาตุอาหารทั้งหมดที่จำเป็นแก่พืชจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด พีเอชสูง กว่า 6.8 อาจทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุ ฟอสฟอรัสและธาตุเสริม เช่น เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn) , สังกะสี (Zn),ทองแดง (Cu) , และโบรอน (Bo) หากพีเอชต่ำกว่า 5.3 อาจทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุแคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม(Mg) , กำมะถัน (S) และโมลิบดินัม (Mo) ได้ หรือพืชจะแสดงอาการเป็นพิษจากแมงกานีส (Mg) , มากเกินไปแต่พืชบางชนิดอาจเจริญได้ดีที่เป็นกรด หรือเป็นด่าง มากกว่านี้ค่าพีเอชสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดพีเอช (pH meter) ปัจจุบันมีเครื่องวัดพีเอช แบบพกพาเกษตรกรสามารถวัดค่าพีเอชได้เองโดยการวัดพีเอชในดินโดยใช้เครื่องวัดพีเอชวัดในน้ำสารละลายดิน สัดส่วนดิน1 ส่วนโดยน้ำหนัก ต่อ น้ำ 1 ส่วน โดยปริมาตร แต่สามารถอนุโลมในการวัดในแปลงอย่างคร่าว ๆโดยใช้สัดส่วนเดียวกับการวัดค่าการนำไฟฟ้า (อีชี หรือ EC) ได้คือ ดิน 1 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วนโดยปริมาตรและคนให้เข้ากันดี จากนั้นจึงทำการวัดโดยจุ่มเครื่องวัดพีเอช ลงในสารละลายหรือกระดาษสำหรับตรวจวัดพีเอชการแก้ไขความเป็นกรดเป็นด่างของดิน สามารถปฎิบัติได้ดังนี้1. การแก้ไขดินกรดก่อนปลูกพืช พื้นที่ดินปลูกพืชผักส่วนใหญ่จะเป็นดินกรดดังนั้นในการปลูกพืชส่วนใหญ่จำเป็นต้องปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้สูงขึ้น ควรใช้หินปูนบด(CaCo3 ) หรือปูนโดโลไมท์ (CaMg (Co3 ) 2 ) ในการปรับค่าพีเอชของดินปริมาณของหินปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินว่าดินมีบัพเฟอร์มากน้อยแค่ไหนเกษตรกรจึงควรส่งดินเพื่อตรวจสอบพีเอชของดิน และขอคำแนะนำปริมาณหินปูนสำหรับดินชุดที่ส่งไปตรวจนั้นโดยทั่วไปหากผสมหินปูน 1.75 กิโลกรัม ในดิน 1 ลูกบาศก์เมตร จะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3-0.5หน่วยหากไม่สามารถส่งดินเพื่อตรวจสอบได้อาจทดลองผสมหินปูนในอัตราที่คาดว่าจะใช้จริงกับดินเป็นจำนวนน้อยก่อนโดยทำให้ดินชื้นเหมือนก่อนจะปลูกพืชแล้วใส่ถุงพลาสติกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นจึงควรตรวจสอบพีเอชควรใช้ปูนชนิดละเอียด (100 mesh) เพื่อการทดสอบนี้ เพราะหินปูนหยาบจะใช้เวลานานถึง 6 เดือนจึงจะทำปฎิกิริยาและลดพีเอชได้ในการใส่หินปูนในแปลงจึงสำคัญมากที่จะผสมให้เข้ากับดินเพื่อที่จะช่วยให้สลายตัวเร็วขึ้น หินปูน โดโลไมท์นอกจากจะปรับสภาพดินแล้วยังให้ธาตุอาหารรองคือ แคลเซียม ส่วนโดโลไมท์ยังให้แมกนีเซียมอีกด้วยดังนั้นในการปรับสภาพดินกรดโดยทั่วไปจึงแนะนำให้ใช้ปูนโดโลไมท์
2. การแก้ไขดินกรดหลังปลูกพืชแล้ว การใส่หินปูน หรือปูนโดไลท์จะให้ผลช้าดังนั้นจึงไม่เหมาะสมกับการแก้ไขดินกรดเมื่อปลูกพืชแล้ว ซึ่งอาจปฎิบัติได้ดังนี้2.1 หากดินมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย อาจใช้ปุ๋ยเดี่ยวเช่น แคลเซียมไนเตรท และโปแตสเซียมไนเตรทโดยอาจใช้เแคลเซียมไนเตรทอัตรา 2.4 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร และโปรแตสเซียมไนเตรท อัตรา 1.2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรรดทุกสัปดาห์ วิธีนี้จะได้ผลหากเกษตรกรหมั่นตรวจสอบระดับพีเอช 2.2 หากดินมีสภาพเป็นกรดรุนแรง อาจจำเป็นต้องใช้ปูนขาว (แคลเซียมไฮดรอกไซด์ / Ca(OH) 2 ) ปูนขาวอาจทำอันตรายต่อเนื่อเยื่อพืชได้ และในปริมาณมากจะทำให้รากเสียหาย การใช้ปูนขาวอาจใช้ในอัตรา 75กรัม ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร โรยลงบนดิน และให้น้ำทันทีเพื่อล้างส่วนที่ติดกับพืชออกไปและเพื่อให้ปูนขาวเริ่มละลายน้ำลงสู่ดิน หรืออาจให้ในรูปสารละลายราดบนดิน โดยผสมปูนขาว 24 กรัม ต่อน้ำ 1ลิตรและบนดินในอัตรา 10 ลิตร ต่อตารางเมตร ปูนขาวจะละลายน้ำได้ดี แต่จะมีผลในระยะสั้นดังนั้นหากปัญหาดินกรดยังไม่ดีขึ้นอาจให้ปูนขาวซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ปูนขาวอาจทำให้ธาตุไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม เปลี่ยนกลับเป็นก๊าซแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายต่อรากและใบพืชดังนั้นไม่ควรใช้ปูนขาวเมื่อในแปลงปลูกได้ให้ปุ๋ยสลายตัวช้าที่มีแอมโมเนียมอยู่ก่อนแล้ว เช่น ปุ๋ยออสโมโคต
3. การแก้ปัญหาดินด่าง สามารถกระทำได้โดยเพิ่มสารอินทรีย์ในดินซึ่งเป็นขบวนการที่ค่อนข้างช้าหรือใช้กำมะถันผง แอมโมเนียมซัลเฟต และเหล็กซัลเฟตในขณะก่อนปลูกพืชหรือหลังปลูก สารทั้ง 3 ชนิดสามารถผสมในดินแห้งได้หรืออาจให้โดยละลายน้ำรดบนดินเมื่อปลูกพืชก็ได้สารพวกซัลเฟตจะทำปฏิกริยาได้เร็วมากในขณะที่กำมะถันผงจะต้องถูกสลายตัวโดยจุลินทรีย์ก่อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ความเค็มของสารละลายในดิน ในการดูดน้ำของพืชส่วนใหญ่แล้วน้ำจะเคลื่อนที่จากสารละลายดินที่มีความเข้มข้นของเกลือต่ำเข้าสู่รากที่มีสารละลายเกลือความเข้มข้นสูงกว่าหากปริมาณเกลือในสารละลายดินมีมากเกินไป จะทำให้น้ำไม่เข้าสู่ราก ซึ่งพืชจะชะงักการเจริญเติบโตปลายรากตายโดยเฉพาะบริเวณดินแห้งเพราะเมื่อดินแห้งปริมาณเกลือจะมีความเข้มข้นสูงใบจะแห้งโดยเฉพาะบริเวณขอบใบ และจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารต่าง ๆที่เป็นผลจากการที่รากเสียหายจนไม่สามารถดูดน้ำและแร่ธาตุได้เพียงพอเกลือในสารละลายดินมาจากหลายแหล่ง เช่นปุ๋ยที่ใช้กับพืช ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ ,ปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยสลายตัวช้าจะสลายตัวซึ่งให้เกลือที่ละลายน้ำปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดมีธาตุไนโตรเจนสูงก็เป็นแหล่งของเกลือดังนั้นในสารละลายดินจึงควรมีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่บ้างเพื่อแสดงว่าได้ให้ปุ๋ยเพียงอแต่ประมาณเกลือก็ไม่ควรมากเกินไปจนเกิดผลเสียแก่พืช แต่บางแหล่งอาจไม่ใช่เกลือที่เป็นประโยชน์แก่พืชเช่น เกลือแกงเป็นต้นการแก้ไข หากมีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้ในดินมากเกินไป ก็สามารถแก้ไขได้โดยการชะล้างเกลือออกโดยใช้น้ำเป็นปริมาณมาก เพื่อรักษาโครงสร้างของดินจึงมีคำแนะนำให้ชะล้างเกลือด้วยน้ำ 200 ลิตรต่อตารางเมตร โดยใช้ระบบน้ำเหวี่ยง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานข้างต้น เป็นที่มาของ นิยาม "๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านช่องทางต่างๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไข ความรู้ และ คุณธรรม
ในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสว่า
"การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง"
พระราชดำรัส "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

พาณิชย์ฯตรวจป้ายแสดงราคาสินค้า

โครงการออกตรวจปิดป้ายแสดงราคาสินค้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์

นางพิมล ปงกองแก้ว พาณิชย์จังหวัดพิษณุโลก และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ได้ออกตรวจปิดป้ายแสดงราคาสินค้าในช่วงเทศการสงกรานต์ ณ บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารสถานีรถไฟ และร้านค้าบริเวณใกล้เคียง จังหวัดพิษณุโลก โดยเปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคว่า มีการเอารัดเปรียบในการจำหน่ายสินค้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ว่าแพงเกินเหตุ ซ้ำยังไม่ปิดป้ายแสดงราคา ซึ่งในเรื่องนี้ก็ได้มีการกำชับให้ปิดป้ายแสดงราคาทุกร้านที่สุ่มเข้าตรวจ รวมทั้งหากราคาขึ้น-ลงทุกวันก็ต้องปิดป้ายแสดงราคา ซึ่งหากไม่ปิดป้ายแสดงราคาจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท นอกจากนี้ก็ต้องวางเครื่องชั่งให้ผู้ซื้อเห็นหน้าปัดเครื่องชั่งได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552

สูตรการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

สูตรปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ
ส่วนประกอบ
1. มูลค้างคาว ,มูลวัว 1 ส่วน
2. ใบฉำฉา (จามจุรี) 1 ส่วน
3. แกลบดำ 3 ส่วน
4. ระละเอียด 1 ส่วน
5. หัวเชื้อ EM/พด.1 30 ซีซี/30 กรัม
6. กากน้ำตาล 30 ซีซี
7. น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีทำ
นำแกลบดำ มูลค้างคาว มูลวัว ใบฉำฉา ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำกากน้ำตาล EM หรือ พด. 1 และน้ำผสมให้เข้ากันแล้วนำมาราด คลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยให้มีความชื้นประมาณ 50% ซึ่งวิธีตรวจสอบความชื้นว่าได้ 50% หรือไม่ แต่ถ้ากำแน่นแล้วพอแบมือออกส่วนผสมแตกไม่เป็นก้อน แสดงว่าความชื้นน้อยไป ให้ผสมกากน้ำตาล EM และน้ำ รดหรือราดเพิ่มเติม คลุกเคล้าให้เข้ากัน
ในกรณีที่กำส่วนผสมให้แน่น พอแบมือออกแล้วใช้นิ้วสัมผัสส่วนผสมนั้นไม่แตกกระจาย แสดงว่าเปียกเกินไป ให้ใช้แกลบดำผสมเพิ่มขึ้นอีกจนกว่าจะได้ความชื้น 50% และเมื่อได้ความชื้นตามความต้องการแล้ว นำไปกองกับพื้นปูนหรือบนพลาสติก ให้มีความสูงไม่เกิน 15 ซม. แล้วใช้กระสอบป่านคลุมให้มิดชิด หมักไว้ 3 วัน สามารถนำไปใช้ได้ โดยมีวิธีการตรวจสอบ ดังนี้
1. ตรวจสอบอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมัก โดยใช้มือแหย่ลงไปในกอง ถ้าอุณหภูมิยังร้อนกว่าอุณหภูมิปกติรอบตัวเรา แสดงว่ายังใช้ไม่ได้ แต่ถ้าอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักเท่ากับอุณหภูมิปกติรอบตัวเราแสดงว่าใช้ได้
2. ดมกลิ่นปุ๋ยที่เราหมักไว้ จะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว แสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้ามีกลิ่นเห็นให้ใช้ EM กากน้ำตาล น้ำ ผสมกันแล้วราดตามขั้นตอนแรก และหมักไว้อีกจนกว่าจะใช้ได้
วิธีการใช้
1. ใช้โรยรอบทรงพุ่มสำหรับส้มโอ โดยให้ดูอายุไม้ผลเป็นหลัก เช่น ส้มโอมีอายุ 1 ปี ใช้ 1 กิโลกรัม/ต้น
2. ใช้ผสมดินสำหรับรองก้นหลุมในการปลูกใหม่ โดยผสมปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพในอัตราส่วน 1:4 ของดินที่จะใส่ลงไปในหลุม
3. ใช้สำหรับโรยเพื่อหมักฟางข้าวในนา โดยโรยบนฟางข้าว ไร่ละ 100 กิโลกรัมและใช้ EM ฉีดพ่นให้เปียกชุ่มแล้วหมักไว้ 15 นาที

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552

ธูปกันยุงสมุนไพรจากใบดาวเรือง


ธูปกันยุงสมุนไพรจากใบดาวเรือง
ใบดาวเรืองเป็นพืชสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงได้เพราะมีกลิ่นฉุน รสชุ่มเย็น ใช้แก้ฝีฝักบัว ฝีพุพอง เด็กเป็นตานขโมย ตุ่มมีหนอง บวมอักเสบโดยไม่รู้สาเหตุ
อุปกรณ์ที่ใช้

1.ใบดาวเรือง
2.ขี้เลื่อย
3.กาวแป้งเปียก
4.ก้านธูป
5.สีย้อมผ้าสีแดง สำหรับชุบก้านธูป
วิธีการทำ

1.นำใบดาวเรือง มาล้างให้สะอาดหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง นำมาบดหรือตำให้ละเอียด
2.เอาก้านธูปมาชุบสีก่อน โดยชุบสีแดง ให้ได้ 1/3 ของก้านธูป ส่วนที่เหลือเอาไว้เป็นเนื้อธูปที่จะปั้นติดกับก้านธูป
3.นำใบดาวเรืองที่ละเอียดมาผสมกันขี้เลื้อยปริมาณที่เท่ากันผสมกับกาว แป้งเปียกมาปั้นกับก้านธูปจนสวยงามดีแล้ว เอามาปักไว้ที่ไม้กระดานที่เจาะไว้เป็นรู รูละ 1 ดอก นำไปตากแดดจนแห้งดีแล้วประมาณ 2-3 วัน ก็สามารถนำมาใช้ได้
หมายเหตุ **ถ้าต้องการให้ธูปมีกลิ่นหอมที่ต้องการก็สามารถใส่กลิ่นหอม (กำยาน) ระหว่างปั้นแป้งเปียกและขี้เลื่อยก็สามารถทำได้**

ใบพลูกำจัดเพลี้ย


ใบพลูเหลืองกินหมาก(ใบแก่สีเหลือง) เนื่องจากจะฉุนและเผ็ด ใช้ใบพลู 15-20 ใบ หรือประมาณ 1 กำมือ เอามาปั่นให้ละเอียด หรือตำ ใส่ด่างทับทิม 1-2 ช้อนโต๊ะผสมให้เข้ากัน อัตราส่วนในการใช้ 1-2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณเพลี้ยระบาด ช่วงเวลาที่ควรใช้ฉีดพ่นตอนกลางวันเนื่องจากแมลงหวี่ขาวและเพลี้ยจะออกทำลายตอนกลางวันแนะนำให้เอามาฉีดพ่น จะทำให้เพลี้ยและแมลงหวี่ขาวตาย

กำจัดหนอนใยผักด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลัส


การผลิตเชื้อบีทีหรือเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงจิเอนซิส ใช้ควบคุมหนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย วิธีการเชื้อบีทีให้ได้ 80 เท่า สามารถขยายเชื้อบีทีได้โดยใช้ ถังพลาสติกที่มีฝาปิดขนาด 50 ลิตร 1 ใบ น้ำ 20 ลิตร นมข้นหวาน 1 กระป๋อง หรือ นมสเตอริไรซ์1 กล่อง น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หัวเชื้อบีที 250 กรัม ไม้ไว้ใช้คนหรือเครื่องให้อากาศแบบตู้ปลา (ถ้ามี)
วิธีทำ
นำน้ำ 20 ลิตร ใส่ถัง ใส่หัวเชื้อบีที 250 กรัม ใส่นมข้นหวาน 1 กระป๋อง หรือ นมสเตอริไรซ์
1 กล่อง จากนั้นข้นให้เข้าก้นเพื่อเติมออกซิเจนลงไปในถัง หลังจากนั้นปิดฝาทั้งไว้ 3 วัน
หลังจากนั้นเปิดคนทุกวัน อาจจะวันละครั้งแล้วแต่สะดวก หรือหาไม่ใช้ไม้คนก็อาจจะเจาะรูแล้วใช้เครื่องให้อากาศแบบตู้ปลาแทนการใช้ไม้คน หลังจากนั้น 4 วัน ให้ใส่นมข้นหวาน 1 กระป๋อง หรือ นมสเตอริไรซ์ ใส่น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม แนะนำว่าควรใส่น้ำตาลทรายแดงแทนกากน้ำตาลเพราะถึงต้นทุนจะสูงกว่านิดหน่อยแต่ก็ไม่ทำให้ต้นไม้บางต้นตาย เช่น มะลิ เปิดข้นไป 5 นาที เพื่อเติมออกซิเจนให้กับหัวเชื้อบีที หลังจากนั้นเปิดคนทุกวัน อาจจะวันละครั้งแล้วแต่สะดวก หรือหาไม่ใช้ไม้คนก็อาจจะเจาะรูแล้วใช้เครื่องให้อากาศแบบตู้ปลาแทนการใช้ไม้คน จนถึงวันที่ 7 ก็สามารถนำมาใช้ผสมน้ำแล้วฉีดรดต้นไม้ได้เลย (สูตร1:4) หากต้องการให้ได้ 80 เท่า ก็ทำแบบนี้ 4 ถัง ตามสูตร
แนะนำเกษตรกรเพิ่มเติม
-เชื้อบีเอสคือแบคทีเรียที่ใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรียหลายชนิด มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อราและโรคใบไหม้ ซึ่งเราสามารถมาขยายหัวเชื้อบีเอสได้โดยใช้สูตรเดียวกันกับเชื้อบีที
-เชื้อบีทีหรือบีเอสสามารถกำจัดหนอนตัวเล็กให้ตายได้ ส่วนหนอนที่ตัวใหญ่นั้นอาจจะไม่ตายแต่จะหยุดการทำลายพืชพันธ์ทางการเกษตรลง
-เชื้อบีทีหรือบีเอสที่ขยายเชื้อหรือไม่ขยายเชื้อก็หากจะใช้ให้ได้ผลดีต้องใช้กับสารจับใบ
-ในการฉีดควรปรับหัวฉีดให้เป็นแบบซอย
- เวลาที่ฉีดควรฉีดเพียงวันละ 1 ครั้ง และ ควรเป็นช่วงที่แดดหล่มลมตกแล้ว เช่น หลัง 16.00 น. เพราะหากเป็นเวลาอื่นที่มีแดดจะทำให้ยูวีทำลายแบคทีเรียในเชื้อทำให้ประสิทธิ์ด้อยลง
หากจะใช้เชื้อบีทีหรือเชื้อบีเอสแบบไม่ขยายเชื้อ ควรจะแช่เชื้อบีทีหรือเชื้อบีเอสไว้ในน้ำก่อน 4 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย หรือจะแช่ 1 วัน 1 คืน

การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง


การเลี้ยงปลาแรดในกระชังโดยการเปลี่ยนจากกระชังไม้ มาเป็นกระชังเนื้ออวน เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันซึ่ง ขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชัง การเตรียมสถานที่เลี้ยงปลาในกระชังจะต้องสร้าง แพพร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด แพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวมกัน และเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพื่อนำกระชังตาข่ายไปผูก กระชังตาข่ายกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร กระชังขนาดดังกล่าวสามารถเลี้ยงปลาแรดขนาด 3 นิ้ว ได้ 3,000 ตัว โครงสร้างกระชังที่ใช้เลี้ยงปลา ประกอบด้วย 1.โครงร่างกระชัง ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ท่อเหล็กชุบหรือท่อน้ำ พี.วี.ซี. 2.ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและกักกันสัตว์น้ำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด วัสดุที่ใช้ได้แก่ เนื้ออวนจำพวก ไนลอน โพลีเอทีลีน หรือวัสดุจำพวกไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง 3.ทุ่นลอย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงให้กระชังสามารถลอยน้ำอยู่ได้ สามารถรับน้ำหนักของตัวกระชัง สัตว์น้ำที่เลี้ยงและเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฏิบัติงานบนกระชัง สำหรับอายุการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ดังนี้ กระชังไม้ไผ่ จะมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี กระชังไม้เนื้อแข็งจะมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี กระชังอวน จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 ปี บริเวณที่เหมาะสมแก่การวางกระชังนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดีน้ำมีคุณสมบัติเหมาะ สมในการเลี้ยงปลา ห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำนั้นไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรคปลา
ข้อห้ามในการเลี้ยงปลาในกระชัง
1.สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งกระชังต้องเหมาะสม เช่น คุณภาพของน้ำต้องดีมีปริมาณออกซิเจน พอเพียงกระแสน้ำไหลในอัตราที่พอเหมาะและไม่เกิดปัญหาโรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยงสถานที่ตึงกระชังควรตั้งอยู่ในบริเวณที่กำบังลม ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน
2.ปลาที่ปล่อยเลี้ยงควรมีขนาดใหญ่กว่าตาหรือช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็กหรือเท่ากับขนาด ของช่องกระชัง ปลาจะลอดจากจากกระชังหนึ่งไปยังอีกกระชังหนึ่ง หรือถ้าไม่ลอดก็จะเข้าไปติดตายอยู่ในระหว่างช่องกระชังได้
3. ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อม ๆ กันในทันทีที่ให้อาหารเพื่อให้ปลากินอาหารให้ มากที่สุดก่อนที่อาหารจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกไปนอกกระชัง 4. ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ น้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที อาจจะเกิด ปัญหากับปลาที่เลี้ยงซึ่งยากต่อการแก้ไข หากประสบปัญหาดังกล่าวควรขนย้ายปลาไปเลี้ยง

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

การขยายพันธุ์กล้วยด้วยวิธีผ่าหน่อ

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง มีลักษณะผล ป้อม สั้น ไม่มีเหลี่ยมผล มีสีเขียวนวลไส้เป็นสีขาว หรือขาวอมเหลืองเปลือกบาง ผลกล้วยเมื่อสุก เนื้อจะเหนียวไม่หยาบ มีรสหวานหอมกว่ากล้วยน้ำว้าชนิดอื่นๆ ลักษณะลำต้น โคนต้นโต แตกหน่อมาก
การเลือกลักษณะที่ดีของต้นแม่
เลือกขนาดเครือ เลือกขนาดหวี จำนวนหวี จำนวนผลในหวี ขนาดผล ความสม่ำเสมอของหวี ความสม่ำเสมอของหวีในเครือ

การเลือกหน่อกล้วยในการขยายพันธุ์
หน่อใบกว้างที่โตมาจากหน่อใบแคบอายุ 40-60 วัน สูงตั้งแต่ 110-150 ซม. ส่วนหน่อพันธุ์ที่เหลืออยุ่เมื่อขุดออกมาแล้วใช้น้ำยาป้องกันกำจัดเชื้อราบริเวณบาดแผลต้นที่เหลือแล้วจึงพูนดินกลบโคนต้น ลักษณะเหง้าที่ตัดแต่งแล้ว 1 ครั้งจากแปลงตัดแต่งหน่อให้เลือกเฉพาะเหง้าแล้วขนย้ายจากแปลงมาเตรียมผ่า
ขั้นตอนการขยายพันธุ์
1. ล้างทำความสะอาด
2.ผ่าให้ชิ้นส่วนกว้างประมาณ 2 นิ้ว
3.แช่ในน้ำยาป้องกันเชื้อราไม่ต่ำกว่า 20 นาที หลังจากนั้นนำไปแช่ในน้ำยาเร่งราก B1ไม่ต่ำกว่า 20 นาที
วัสดุและอุปกรณ์
มีด ยาป้องกันเชื้อรา เสียมขุดหน่อ น้ำยาเร่งรากวิตามิน B1(Thiamine) เขียง ถังแช่ แกลบดำ
แปลงขยายพันธุ์
1.ใช้แกลบดำปูพื้นหนา 3-5 นิ้ว
2.วางชิ้นส่วนคว่าลงห่างกันชิ้นเว้นชิ้น และวางในทิศทางเดียวกันรดน้ำให้ชุ่มทุก 3-5 วัน ทำสแลนคลุมด้านบนพรางแสงแดด 50-60 % และหมั่นตรวจสอบแปลงเพาะขยายเพื่อสำรวจดูแมลงศัตรูพืชที่จะเข้าทำลายหน่อพันธุ์ในระยะแรก
3.กลบด้วยแกลบดำหนา 1-2 นิ้ว หลังจากนั้น 20-45 วันเริ่มมีแทงหน่อ

สมุนไพรรักษาโรคในสัตว์

สมุนไพรที่นิยมใช้ขมิ้นชัน มีฤทธิ์ลดการอักเสบ รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เหง้าขมิ้นตำผสมกับพลูคลุกกับปูนกินหมาก ใช้รักษาแผลให้ช้างทั้งแผลสด แผลมีหนองและกันแมลงบริเวณแผล ผู้เลี้ยง ไก่ชนใช้ขมิ้นกับสมุนไพรอื่นๆ เช่นส่วนผสมของสมุนไพรที่ใช้ต้มเป็นน้ำยาสมุนไพรอาบให้ไก่ชน ประกอบด้วย ใบมะขาม ใบส้มป่อย ไม้ฤาษีผสม ใบคุระ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ไม้กระดูกไก่ เปลือกไม้ โอน ต้มรวมกันในน้ำเดือด นำน้ำที่ต้มได้มาอาบให้ไก่ชนเพื่อให้ไก่มีหนังเหนียว ไม่ฉีกง่ายเวลาโดน จิกหรือตี หรือสูตรแก้ไก่เป็นหวัด บิด ท้องเสีย จะใช้ขมิ้นชัน 7 กรัม ผสมฟ้าทะลายโจร 144 กรัม ไพล 29 กรัม บดผสมอาหารลูกไก่ 100 กิโลกรัม ฟ้าทะลายโจร แก้หวัด ทอนซิลอักเสบ มีการทดลองนำฟ้าทะลายโจร ขมิ้นและไพลมา ผสมอาหารให้ไก่กินในอัตราส่วน 50-75 กรัมต่ออาหาร 3 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคต่างๆในสัตว์ ไพล มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ใช้ภายนอกเป็นยาประคบร้อน พอกแก้ฟกช้ำ บวม ลดการ อักเสบ ทำให้ประสาทชาช่วยลดอาการปวดได้ ควาญช้างในภาคเหนือใช้หัวไพลเป็นยาบำรุง แก้อาการช้างเหนื่อยจากการทำงานหนัก บอระเพ็ด ต้นและเถาเป็นยาบำรุงกำลัง ลดไข้ ลดการอักเสบ กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ ไล่แมลง ควาญช้างภาคเหนือใช้เถาบอระเพ็ดบำรุงแก้ช้างเหนื่อย เป็นยาเจริญอาหาร แก้อาการท้องผูกโดยใช้ร่วมกับมะขามเปียกและเกลือ ผู้เลี้ยงไก่ชนนำเถามาแช่ให้ไก่กิน เพื่อให้มีเนื้อแข็ง เรี่ยว แรงดีและเจริญอาหาร พลู ในใบมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ในการชนไก่ ผู้ให้น้ำไก่จะนำพลูไปนาบกับกระเบื้องร้อนพอให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปประคบบริเวณลำตัวหรือหน้าอกเพื่อบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกหรือระงับอาการปวดแก่ไก่ชนหลังการต่อสู้ พญายอ สารสกัดพญายอสามารถป้องกันเชื้อไวรัส (Yellow Head Baculovirus) ที่ทำให้เกิดโรคหัวเหลืองในกุ้งกุลาดำได้อย่างดีและมีความปลอดภัยสูง นอกจากนั้นยังกระตุ้นขบวนการทำลายเชื้อโรคให้เพิ่มขึ้น ส้มป่อย นำมาต้มอาบให้ไก่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนและเชื้อรา น้ำต้มใบส้มป่อยและฝักใช้หยอดให้ไก่กินช่วยขับเสลด เมล็ดนำมาตำหรือบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนให้ไก่กินเป็นยาถ่ายได้ นอกจากนี้ใบส้มป่อยยังใช้ แก้ท้องอืด ท้องผูก ถ่ายพยาธิให้ช้าง กระเทียม แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อขับลม ขับลมเสมหะน้ำลายเหนียวและรักษาอาการบวมช้ำภายในของไก่ชนใบ มะขาม ต้มรวมกับตะไคร้ ใบส้มป่อย ทำให้ไก่คึกคัก สบายตัว แก้หวัดทำให้หายใจคล่อง รูขนเปิด กวาวเครือ มีการศึกษาการใช้กวาวเครือในสุกรโดยนำกวาวเครือบดแห้งมาผสมอาหารในอัตราส่วน 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ให้สุกรน้ำหนัก 30-100 กิโลกรัมกินนาน 2.5-3 เดือน พบว่าสุกรทั้งเพศผู้และเพศเมียมีการเจริญเติบโตดีขึ้น สุกรที่กินกวาวเครือมีการกินอาหารได้ดีกว่า กลุ่มที่ไม่ได้กินและช่วยชะลอการเป็นสัด เมื่อหยุดให้กวาวเครือ 1.5-2 เดือน สุกรตัวเมียกลับมา เป็นสัดตามปกติและสามารถผสมพันธ์ให้ลูกได้ การทดลองในสุกรเพศผู้เมื่อให้กินกวาวเครือผสมอาหารขนาด 20 กรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัม ปรากฏว่าให้เนื้อแดงสูง มีการเจริญเติบโตดีขึ้นผู้ที่เลี้ยงไก่ชนจะมีสูตรยาสมุนไพรต่างๆสำหรับไก่ชน เช่น
สูตรยาบำรุงกำลัง
สูตรที่ 1 ประกอบด้วย โสม เหง้ากระชาย พริกไทดำอย่างละ 1 ส่วน ปลาช่อนย่าง ป่น 3 ส่วน นกกระจอกย่างป่น 1 ส่วน ไวตามิน เกลือแร่ น้ำผึ้ง บดผสม ปั้นเป็นก้อนให้กินวันละ 2 มื้อ
สูตรที่ 2 ประกอบด้วย เปลือกตะโกนา 2 ส่วน กระชาย กระเทียม พริกไทอย่างละ1 ส่วน ปลาช่อนย่าง 1 ส่วน ผสมข้าวสุกคลุกไข่อบแห้ง 1 ส่วน ให้กินวันละ 2 มื้อ
ยาบำรุงธาตุ
ประกอบด้วย เปลือกตะโกนา ขิงแห้ง ว่านน้ำ ใบตำลึง เปลือกแคอย่างละ 1 ส่วน นำตัว ยาทั้งหมดใส่หม้อเติมน้ำพอท่วม ต้มเคี่ยวประมาณ 15 นาที นำน้ำยาที่ได้ให้ไก่กินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า- เย็น
ยาถ่ายพยาธิ
สูตรที่ 1 ประกอบด้วย หัวไพล 2 ส่วน ขมิ้นชัน 1 ส่วน กะเม็ง 1 ส่วน หมากดิบ 1 ส่วน กะปิ 1ส่วน มะขามเปียก 1ส่วน บดหรือตำให้ละเอียดผสมกันให้ไก่กินก่อนอาหารจนกว่าจะถ่ายหมด
สูตรที่ 2 ประกอบด้วย หมากดิบ 1 ลูก มะขามเปียก 1 ก้อน ปลาทูนึ่ง 1 ชิ้น นมผง 1ส่วน ตำหรือบดให้เข้ากันกินตอนเช้า 1 ก้อนให้กินน้ำมากๆ พอไก่ถ่ายพยาธิมาจุกก้นให้รีบดึงออก พยาธิจะติดออกมาเป็นพวงจนหมดท้อง สมุนไพรที่ใช้ในสัตว์จะมีสรรพคุณคล้ายคลึงกับที่ใช้ในคน เช่นใช้บระเพ็ดเป็นยาเจริญอาหารเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอื่นที่นำมาใช้ซึ่งสมุนไพรที่มีชื่อไปในทางบำรุงก็มักจะใช้เป็นยาบำรุงกำลังทั้งคนและสัตว์เช่น กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง กำลังช้างสารเป็นต้น เปลือกต้น นมนาง ใช้บำรุงวัวนม เป็นต้น ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การรักษาโรคที่เกิดขึ้น มีผลเสีย มากกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เพราะทำให้สิ้นเปลืองเวลาและค่ารักษา นอกจากนั้นยังสูญเสียสัตว์จากการตาย ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคต่างๆในสัตว์มีผลทำให้เกิดการตกค้างและการดื้อยา มีผลเสียต่อการใช้ยานั้นในวงการแพทย์ สำหรับคนซึ่งนำเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาบริโภค สมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์ควรนำมาพิจารณา หากสามารถหาสมุนไพรทีใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552

สูตรปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

สูตรปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ส่วนประกอบ

มูลวัว 3 ส่วน ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 50 กิโลกรัม มูลไก่ 3 ส่วน แม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 20 กิโลกรัม มูลนกกระทา 1/2 ส่วน แม่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 13 กิโลกรัม รำละเอียด 1/2 ส่วน แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 1 กิโลกรัม แกลบเก่า 4 ส่วน ดินเหนียวบดละเอียด 10 กิโลกรัม
วิธีทำ
นำส่วนประกอบทุกอย่างผสมรวมกันแล้วนำน้ำจุลินทรีย์ในอัตราส่วน น้ำจุลินทรีย์ 2 ส่วน กากน้ำตาล 2 ส่วน ผสมน้ำ 10 ลิตร มาราดให้ทั่ว โดยให้ความชื้นอยู่ที่ 50% หมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วนำไปใช้

สูตรสมุนไพรไล่แมลง

สูตรการทำสารสกัดไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา
ส่วนผสม
ใบสะเดาแก่หรือเมล็ดสะเดาบด ใบน้อยหน่า ใบฝรั่ง ใบกระเพรา หัวข่าแก่ หัวตะไคร้หอม เปลือกต้นแค เปลือกลูกมังคุด กากน้ำตาล
วิธีทำ
นำส่วนผสมที่ 1-8 จำนวนพอสมควรเท่าๆ กัน สับหรือหั่นรวมกันในอัตรา 3 ส่วน (3 กิโลกรัม) ผสมคลุกเคล้ากับกากน้ำตาล 1 ส่วน (1 กิโลกรัม) ใส่ถังพลาสติกหมักไว้ 7-10 วัน กรองเอาน้ำหมักไปใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นต้นพืชในช่วงเย็น หรือเช้าที่ยังไม่มีแสงแดด ทุก 7-10 วัน/ครั้ง เพื่อไล่แมลงและป้องกันกำจัดเชื้อรา
สูตรน้ำหมักสมุนไพรกำจัดแมลง
ส่วนผสม
ใบสะเดาหรือเมล็ด 2 กิโลกรัม หัวข่าแก่ 2 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 2 กิโลกรัม หางไหลหรือต้นบอระเพ็ด 2 กิโลกรัม น้ำสะอาด 20 ลิตร
วิธีทำ
หั่นสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด เป็นชิ้นเล็กๆ รวมกันตำหรือบดให้ละเอียดแช่น้ำ 1 ปี๊บ กรอง เอาน้ำยาเข้มข้นสูง 1 ลิตร ผสมน้ำ 1-2 ปี๊บ นำไปฉีดต้นไม้ป้องกันกำจัดเพลี้ย หนอน แมลงต่างๆ ควรฉีดห่างกัน 3-5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป

สูตรฮอร์โมนรกหมู

รกหมู รกวัว ทำให้ได้ “ ฮอร์โมน” ที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช
สูตรฮอร์โมนรกหมู
ส่วนประกอบ
1. รกหมู
2. กากน้ำตาล 300 ซี.ซี.
3. น้ำจุลินทรีย์ 300 ซี.ซี.
4. น้ำมะพร้าว 10 ลิตร
วิธีทำ
นำส่วนประกอบทุกอย่างใส่ในถังพลาสติก หมักทิ้งไว้ 2 เดือน วิธีใช้ ฮอร์โมนรกหมู 40-50 ซี.ซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นข้าวก่อนช่วงข้าวออก

วิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยสะเดา

การกำจัดหนอนด้วยสะเดา
วิธีการใช้สะเดา นำเมล็ดสะเดา ที่มีเปลือกและเนื้อเมล็ด มาบดให้ละเอียด แล้วนำผง เมล็ดสะเดามาหมัก ในอัตรา ๑ กก. : น้ำ ๒๐-๓๐ ลิตร โดยใส่ผงสะเดา ไว้ในถุงผ้าขาวบาง แล้วนำไปแช่ในน้ำ ๒๔ ชั่วโมง อาจจะคนบ้าง หากคนอย่างสม่ำเสมอ จะแช่เพียง ๓-๔ ชั่วโมง ใช้มือบีบถุง ตรงส่วนของผงสะเดา เพื่อให้สาร อะซาดิแรดติน ออกให้มากที่สุด เมื่อจะใช้ ก็ยกถุงผ้าออก
วิธีการ
ใช้การนำไปใช้ฉีดพ่น ควรผสมสารจับใบ เช่น น้ำสบู่ ๑ ส่วน:น้ำสะเดา ๑๐๐๐ ส่วน หรือ ๑ ช้อนโต๊ะ:น้ำสะเดา ๒๐ ลิตร เพื่อให้สารจับใบพืชได้ดีขึ้น ควรนำไปใช้ทันที ไม่ควรเก็บ ค้างคืน เพราะจะมีราขึ้นง่าย ควรฉีดพ่น ในช่วงเย็น โดยใช้ฉีด ๕-๗ วัน/ครั้ง
คุณสมบัติของสารสะเดา
จะเป็นสารไล่แมลง ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัย สามารถยับยั้ง การเจริญเติบโตของ ไข่หนอน ดักแด้ ทำให้ตัวอ่อน หรือหนอน ลอกคราบไม่ได้ ยับยั้ง การวางไข่ ของตัวเต็มวัยด้วย สารสะเดาใช้ได้ผลดี กับแมลงปากกัด จำพวก หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ ด้วงหมัดผัก เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด แมลงหวี่ขาว ผีเสื้อหนอนแก้วส้ม หนอนกอ หนอน กระทู้

การผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ สูตร พด.2

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ,น้ำสกัดชีวภาพหรือปุ๋ยหมักน้ำได้จากการสกัดน้ำเลี้ยงออกจากเซลล์พืชและหรือเซลล์สัตว์โดยใช้น้ำตาล ด้วยกระบวนการหมักแบบไม่ต้องการอากาศ โดยจุลินทรีย์ ทำให้ได้น้ำสกัดชีวภาพสีน้ำตาลใสถึงดำ ที่มีองค์ประกอบที่จากสารพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน ฮิวมิกแอซิด ฮอร์โมน วิตามิน และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากมาย จึงเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมต่างๆอย่างครบถ้วน (แต่ต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยทางดินจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด)สูตรการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรต่างๆ ในถัง 150 ลิตร ใช้สารเร่ง พด.2 3 ซอง รำข้าว 10 กก.

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร 1 (เร่งการเจริญเติบโต,ยืดปล้อง,ยอด,ใบ)
พืชสด 90 กก. / กากน้ำตาล 25-30 กก. / น้ำสะอาดหรือน้ำมะพร้าวที่ผสมสารเร่ง พด 2 แล้ว 30-40 ลิตร
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร 2 (สูตรรวม เร่งการเจริญเติบโต.ดอก,ผล)
พืชสด 50 กก./ ผลไม้สุก 40กก./ กากน้ำตาล 20-25 กก./น้ำสะอาดหรือน้ำมะพร้าวที่ผสมสารเร่ง พด.2 30-40 ลิตร
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรปลา,หอยเชอรี่และผัก ผลไม้ (สูตรรวม เร่งการเจริญเติบโต.ดอก,ผล)
ปลา,หอยเชอรี 50 กก./ ผักและผลไม้แก่ 40 กก./กากน้ำตาล 30 กก./ น้ำสะอาด,น้ำมะพร้าวผสมสารเร่ง 30-40 ลิตรหากใช้เศษปลาหรือหอยเชอรี่อย่างเดียว(ทั้ง 90 กก.) อาจต้องใช้กากน้ำตาลเพิ่มเป็น 40 กก.เพื่อช่วยลดกลิ่นเหม็นลง
พืชสด ได้แก่ ยอดผักบุ้ง กวางตุ้ง ต้นคะน้า ผักกาดขาว ยอดและต้นตำลึง หญ้าขน หน่อไม้ หน่อกล้วย(มีส่วนยอดที่กำลังยืดตัวติดมาด้วย) ควรเก็บก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ผลไม้แก่/สุก ได้แก่ กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก ฟักทอง ผลไม้แก่จัด(ให้มีผลไม้ที่มีเนื้อสีเหลือง-แดงร่วมด้วย)

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรฮอร์โมนไข่เร่งดอก (ในถังขนาด 10 ลิตร)
ส่วนผสม ไข่หอยเชอรี่ 5 ก.ก + กากน้ำตาล 5 ก.ก + ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร พด. 2 = 250 ซีซี + รำละเอียด 1 ขีด
หรือ ใช้ไข่ไก่ทั้งเปลือก 5 ก.ก + กากน้ำตาล 5 ก.ก + แป้งข้าวหมาก 1 ลูก + รำละเอียด 1 ขีด + ยาคูลล์ 1 ขวด โดย นำไข่ไก่ทั้งลูกปั่นให้ละเอียด แล้วนำไปใส่ภาชนะผสมใส่กากน้ำตาล คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วบดแป้งข้าวหมากให้ละเอียด เติมยาคูลล์ และรำข้าว ลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน ถ้าน้ำน้อยคนไม่สะดวกให้ใส่น้ำมะพร้าวลงไปพอให้คนสะดวก เสร็จแล้วนำไปบรรจุในถัง พลาสติก ซึ่งมีฝาปิดมิดชิด ตั้งทิ้งไว้ในร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก คนทุกวันหมักไว้ 7-15 วัน จึงกรองน้ำนำไปใช้ได้ หากปุ๋ยฯแห้งเกินไปให้ใส่น้ำมะพร้าวลงไปพอให้คนและตวงมาใช้ได้ หากเติมน้ำลงไปแล้วทิ้งไว้หลายวันปุ๋ยฯอาจเสียได้
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรฮอร์โมนรกหมูเร่งดอก รกหมู 1 รกลวกในน้ำร้อน(แบบลวกหอยแครง) หั่นชิ้นเล็กๆ คลุกเคล้ากับกากน้ำตาล 5 กก. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร พด.2 250 ซีซี น้ำที่ใช้ลวก 5 ลิตร หมักทิ้งไว้ 20-30 วัน

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากสมุนไพร ป้องกันและปรามหอยเชอรี่ (ในถังขนาด 30 ลิตร)
ส่วนประกอบ เหล้าขาว 0.5 -1 ขวด น้ำ 10 ลิตร กากน้ำตาล 1 กก. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร พด.2 500 ซีซี มะกรูด 60 ลูก หัวน้ำส้ม 1 ขวด หอยเชอรี่ 10 กก. กระเทียม 1 กก. เถาวัลย์เปรียง 1 กก. เมล็ดสะเดา 1 กก. ปูนขาว 1 กก.( ต้องผสมเรียงลำดับตามนี้ )

ขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรต่างๆ
1. ละลายกากน้ำตาล + สารเร่ง พด.2 + น้ำสะอาดหรือน้ำมะพร้าว ผสมให้เข้ากันก่อน เพราะหากใส่วัสดุหมักลงไปก่อนจะละลายกากน้ำตาลและสารเร่ง ยากมาก ทำให้มีกลิ่นเหม็นได้ง่าย

2. นำส่วนผสมที่เป็นพืชสด ผลไม้ ปลาสด หอยเชอรี่สด ปู มาสับ บด โขลก หรือหั่น ให้เป็นชิ้นเล็กๆ
3. นำวัสดุหมัก,ส่วนผสมอื่นๆ ลงในถังหมัก เติมน้ำให้ท่วมเพื่อคนได้สะดวก (แต่ต้องเหลือพื้นที่ของถังอย่างน้อย 10 % เผื่อวัสดุอืด/ขยายตัว) คนให้เข้ากัน จากนั้นปิดฝา(ไม่ต้องสนิท) วางไว้ในที่อุณหภูมิ 30-35 องศาเซลเซียส ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากปลาหรือหอยเชอรี่ควรคนบ่อยๆ อย่างน้อยวันเว้นวันในช่วง 7 วันแรก
4. หากมีกลิ่นเหม็นบูดให้เติมกากน้ำตาล ลงไปอีกแล้วคนให้ข้ากัน
หมายเหตุ

จากการศึกษาพบว่าถ้าใช้น้ำมะพร้าวจะดีกว่าน้ำเปล่า กากน้ำตาล,น้ำตาลทรายแดง,งบน้ำอ้อยที่ยังไม่ฟอกสีจะดีที่สุด,รองมาคือน้ำตาลทรายสีรำ น้ำตาลทรายขาวตามลำดับ สูตรที่มีปลาหรือหอยเชอรี่บด ควรหมักอย่างน้อย 1-3 เดือน ภาชนะที่ใช้หมักต้องทนกรด,ทนการกัดกร่อนได้ดี แนะนำให้ใช้โอ่งมังกรหรือถังพลาสติกเนื้อเหนียว(ไฟเบอร์)ที่ใช้บรรจุสารเคมีจากต่างประเทศ(ส่วนใหญ่มีสีฟ้าเข้ม) ไม่ควรใช้ถังพลาสติกสีดำ(ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล) ถังเหล็ก อลูมีเนียมหรือโอ่งปูนเพราะจะเกิดการกัดกร่อนอย่างรุนแรง
การพิจารณาปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่สมบูรณ์แล้ว
- มีการเจริญของจุลินทรีย์น้อยลง - กลิ่นแอลกอฮอล์จะลดลง
- มีกลิ่นเปรี้ยวเพิ่มขึ้นเนื่องจากเกิดกรดอินทรีย์เพิ่มขึ้น - ไม่ปรากฏฟองก๊าซ CO2 หรือมีน้อยมาก
- ได้สารละลายหรือของเหลวสีน้ำตาลใส(ไม่ขุ่น) - ค่า pH ของปุ๋ยน้ำชีวภาพอยู่ระหว่าง 3.0 – 4.0
การนำปุ๋ยอินทรีย์น้ำไปใช้ประโยชน์
1. ใช้หมักดิน
- ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร 1, สูตร 2 และสูตรปลา,หอยเชอรี ใช้อัตรา 3-5 ลิตร/ไร่ หรือใช้ปุ๋ยน้ำ 5-10 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 10 ลิตร ราดลงดินบริเวณโคนต้นแล้วใช้เศษพืชคลุม(หมักดินบริเวณโคนไม้ยืนต้น) ราดบนดินแล้วใช้เศษพืชหรือฟางคลุมแปลงที่จะปลูกผัก(ตอนเย็น)หมักไว้ 7–15 วัน แล้วจึงเอาฟางออกแล้วปลูกพืชตามปกติ ที่ง่ายที่สุดคือผสมน้ำ(ตามอัตราข้างต้น) ฉีดพ่น,ราดบนเศษพืชหรือตอซังหลังเก็บผลผลิต โดยฉีดพ่นตอนเย็นทิ้งไว้ 5 - 7 คืน จึงไถกลบ * ในนาข้าวใช้หยดที่หน้าท่อปล่อยน้ำเข้านา ใช้รถขลุบหรือปล่อยเป็ดย่ำตอซังให้ราบมิดน้ำ ทิ้งไว้ 10-15 วัน ตอซังฟางข้าวจะเปื่อยยุ่ย ไถพรวนได้ง่ายขึ้น ลดปัญหาแก๊สพิษที่จะเป็นอันตรายต่อข้าวที่ปลูก
2. หลังจากนั้น ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ ให้พืช, ในนาข้าวใช้ปุ๋ยน้ำอัตรา 50-80 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบเมื่อข้าวอายุประมาณ 20 40 และ 60 วัน ในแปลงพืชผัก ใช้ปุ๋ยน้ำอัตรา 40-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบทุก 7-10 วัน
- ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร 1 ใช้กับ ผักกินใบ และต้นไม้ต่างๆ(ระยะเจริญเติบโต)
- ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร 2 และ สูตรปลาหรือหอยเชอรี่ ใช้กับผักกินดอก ผักกินผลและผลไม้ต่างๆ(ระยะติดดอก,ออกผล และเพิ่มรสชาด) ระยะเจริญเติบโตทำให้ต้นพืชแข็งแรงมากขึ้น
- ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากสมุนไพร ป้องกันและปรามหอยเชอรี่ ใช้ ยาปรามหอยเชอรี่อัตรา 3-5 ลิตร/ไร่ หรือผสมยาปรามหอยฯ 2 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นหรือราดบริเวณที่มีหอยระบาดหรือให้โดนตัวหอย ก่อนหว่านข้าว ถ้าหว่านแล้วใช้หยอดหรือผสมน้ำสาดบริเวณที่มีหอยเชอรี่อยู่(ขณะระบายน้ำออกจนแห้งหรือเกือบแห้ง) หอยไม่ตายทันทีแต่มันจะกินอาหารไม่ได้ เป็นหมัน ไข่ฝ่อ และจะค่อยๆ ตาย ส่วนปลาไม่ตายและไม่เป็นอันตรายต่อคน - ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนรกหมู (เร่งดอก) นำปุ๋ยน้ำที่ได้ 5-10 ซีซี.(ห้ามใช้มากกว่านี้) ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน ควรฉีดพ่นในขณะที่แดดอ่อนหรือในตอนเช้า การฉีดพ่นเพื่อให้พืชผลออกดอกนั้น

ควรบำรุงให้ต้นพืชมีความสมบูรณ์ก่อน แล้วฉีดพ่นเมื่อพืชใกล้ออกดอก (ข้าวเมื่ออายุประมาณ 55-60 วัน) ฉีดประมาณ 1-3 ครั้ง เพื่อดึงตาดอก ดอกดกและออกพร้อมกัน ขั้วเหนียว ดอกและผลไม่ร่วง หยุดฉีดพ่นเมื่อพืชออกดอกแล้ว
หมายเหตุ เมื่อต้องการฉีดพ่นให้ทางใบควรผสมน้ำยาจับใบด้วยทุกครั้ง
1 ช้อนแกง = 10 ซีซี
ความเข้มข้นอัตรามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดพืช เช่น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว อายุมาก ลำต้นหรือใบที่แข็งแกร่งมากกว่า สามารถใช้ปุ๋ยอัตราที่เข้มข้นมากกว่าพืชใบเลี้ยงคู่ พืชอายุน้อยหรือพืชที่มีลักษณะอวบน้ำ
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำดังกล่าวสามารถนำไปต่อเชื้อเพื่อทำในครั้งต่อไปได้เรื่อยๆ โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่กำลังสลายตัวหรือที่เป็นแล้วจำนวน 1 - 2 ลิตร / วัสดุหมักในถังขนาด 100 ลิตร
การหมักปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรที่ใช้เร่งการเจริญเติบโต ระยะแรกช่วง 1-3 เดือนจะได้ธาตุอาหารหลัก(N-P-K) หมัก 3-6 เดือนจะได้ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม( เช่น Ca,Mg,S,Mn,Fe,Zn, ฯลฯ) เกิน 6 เดือน จะได้ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ตามลำดับ

เพิ่มเติม ธาตุอาหารและสารป้องกันต่างๆที่จะได้จากการหมักพืช ผลไม้และสัตว์ มีดังนี้
1. พืชสด ใช้ได้ทั้งพืชกินได้และวัชพืช ใช้ได้ทั้งต้นรวมถึงรากและอาจมีดินติดบ้างเล็กน้อย ไม่ต้องเอารออก เพราะดินมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ติดมาด้วยมากมาย ในยอดอ่อน มีธาตุโบรอน, แคลเซียม, แมกนีเซียม - ราก เหง้า หัว มีธาตุสังกะสี, ฟอสฟอรัส, ทองแดง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
2. ผลไม้ - ผลดิบ จะมีมีธาตุโบรอน, เหล็ก
- ผลแก่จัด จะมีมีธาตุแคลเซียม, โบรอน, เหล็ก, แมกนีเซียม, ฟอสฟอรัส
- เมล็ดอ่อนแก่ มีธาตุสังกะสี, ทองแดง, เหล็ก, แมงกานีส, แมกนีเซียม, โบลิบดินัม
- ผลสุก มีธาตุฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, น้ำตาล
3. ในปลา+ เนื้อสัตว์
- เมือก,เลือดปลา ให้ไนโตรเจน,โซเดียม
- พุง เครื่องใน รก ให้เหล็ก ทองแดง
- เกล็ด ก้าง กระดูก ให้ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แคลเซียม
- เนื้อ ให้ไนโตรเจน อมิโนแอชิค
4. กากน้ำตาล ธาตุอาหารในกากน้ำตาลได้แก่ ลิคิวซิงซูการ์(ซูโคลส), ฟอสฟอรัส, ไนโตรเจน, ซิลิการ์, โปรแตส เซียม, แคลเซียมและแมกนีเซียม
ส่วนปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในแต่ละส่วนของพืชหรือสัตว์นั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและสัตว์