วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลาช่อน


คุณชาญ บัววิเชียร กับอาชีพขุนลูกปลาช่อนขาย ที่สองพี่น้อง ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่ตลาดมีความต้องการอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลผลิตมีทั้งปลาจากธรรมชาติ และจากบ่อเลี้ยงแม้ว่าในธรรมชาติตามหนอง คลอง บึง มีปลาชนิดนี้มาก แต่การล่าหรือจับเพื่อการค้านั้นค่อนข้างลำบาก เพราะว่าเป็นปลาที่มุดโคลนเก่ง ด้วยเหตุนี้จึงมีอาชีพเลี้ยงปลาช่อนเกิดขึ้น และกลุ่มที่ทำอย่างจริงจัง ก็คือชาวบ้านแถวๆ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีก่อนหน้านี้ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่จะยึดอาชีพทำนา เมื่อเห็นตลาดรับซื้อปลาช่อนเปิดกว้างและให้ราคาดี พวกเขาจึงเปลี่ยนจากนาเป็นบ่อเลี้ยงปลา นับเป็นร้อยๆ รายทีเดียว


พันธุ์ปลาช่อนที่นำมาเลี้ยงช่วงแรกๆ จะหามาจากธรรมชาติ ระยะหลังบางรายซื้อมาจากสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี เนื่องจากที่นี่ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปลาช่อนอย่างไรก็ตาม ชาวบ้านจะนิยมเลี้ยงลูกปลาจากธรรมชาติมากกว่า ด้วยว่ายังหาได้ง่าย และสะดวกในการขนส่งอีกด้วยชาวบ้านที่อยู่ในแวดวงปลาช่อนจะแบ่งหน้าที่ของตนเองออกไปตามทุนทรัพย์ กล่าวคือ ใครไม่มีที่ดินหรือบ่อเลี้ยงปลา จะตระเวนออกหาลูกปลาตามธรรมชาติ โดยใช้สวิงช้อน เพื่อนำไปขายให้กับเจ้าของบ่อเลี้ยงปลา หรือฟาร์มเพาะเลี้ยงปลา


ผู้เลี้ยงปลาช่อน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทแรก เพาะขยายพันธุ์ลูกปลาขาย โดยจะจับพ่อ แม่ปลามาผสมพันธุ์ นอกจากนี้ ยังเปิดรับซื้อลูกปลาจากธรรมชาติมาอนุบาล จนแข็งแรง หรือมีขนาด 3-4 นิ้ว แล้วขายต่อให้กับผู้เลี้ยงปลาช่อนต่อไป

ประเภทสอง ผู้เลี้ยงปลาช่อนส่วนใหญ่จะรับซื้อลูกปลาที่แข็งแรงหรือผ่านการคัดเลือกจากฟาร์มเพาะพันธุ์มาเลี้ยงเลย ยกเว้นว่ามีบ่อเลี้ยงว่างหรือมีเวลาว่างอาจซื้อลูกปลาจากธรรมชาติมาอนุบาลเองผู้ที่เลี้ยงปลาช่อนเป็นอาชีพนั้น ไม่เพียงมีบ่อเลี้ยงเท่านั้น จำเป็นต้องมีทุนหรือเงินจำนวนมากด้วย เนื่องจากปลาชนิดนี้กินอาหารเก่ง และต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำเกือบทุกวันด้วยรู้จัก ชาญ บัววิเชียร จากลูกจ้าง เป็นเจ้าของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาช่อน


คุณชาญ บัววิเชียร อยู่บ้านเลขที่ 41 หมู่ 4 ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. (081) 981-3292 เดิมมีอาชีพเป็นช่างตัดผม อยู่แถวๆ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เกือบ 10 ปีเบื่อความจำเจ ประกอบกับที่ทำเลถูกบุกรุก ปี 2538 จึงกลับมาอยู่บ้านเกิด ยึดอาชีพเป็นลูกจ้างเลี้ยงปลาช่อน สะสมประสบการณ์ 1-2 ปี ก็ลาออก เพื่อมาประกอบอาชีพเองเขาเริ่มจากทดลองอนุบาลลูกปลาธรรมชาติ ส่งขายให้กับผู้เลี้ยงรายใหญ่ ๆ"ช่วงแรกๆ ผมไม่ค่อยมีทุน จึงเลี้ยงปลาจำนวนน้อย ๆ อนุบาลได้ครบ 2 เดือน หรือมีความยาวได้ประมาณ 3-4 นิ้ว ผมก็ขายต่อให้ผู้เลี้ยงรายใหญ่ๆ แล้ว" จนกระทั่งเขาสามารถสะสมทุนได้ก้อนหนึ่ง จึงได้ตัดสินเลี้ยงปลาใหญ่ออกสู่ท้องตลาดตามเพื่อนๆ บ้าน "ผมเริ่มจากไม่มีอะไรเลย ทั้งเงินและความรู้ แต่ทว่าผมชอบและต้องการต่อสู้กับความยากจน ทำให้มีวันนี้" 10 ปี ที่เขาสะสมประสบการณ์และเงิน ปัจจุบันนี้เขาเป็นเจ้าของฟาร์มเพาะขยายพันธุ์เลี้ยงปลาช่อนที่โด่งดัง ในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีไปแล้ว ด้วยว่าสามารถฝึกให้ลูกปลาช่อนกินอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้ และเพาะขยายพันธุ์ปลาได้เองด้วย "การเลี้ยงปลาช่อนทั่วๆ ไป จะซื้อปลาทะเล พวกปลาข้างเหลือง หรือปลาเป็ดมาบดให้ปลาช่อนกินเป็นอาหาร ซึ่งมีข้อเสียหลายอย่างคือ ทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงคุณภาพไม่ดี และต้นทุนการเลี้ยงค่อนข้างสูง อีกทั้งการจัดการลำบาก นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงที่อยู่ห่างไกลจากทะเลไม่สามารถหาซื้ออาหารมาเลี้ยงปลาได้อีกด้วย" "ด้วยข้อกำจัดดังกล่าว ผมจึงฝึกให้ลูกปลาที่เลี้ยงไว้หัดกินอาหารเม็ดได้อย่างสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นลูกปลาจากธรรมชาติหรือจากการผสมพันธุ์เอง"

คุณชาญ กล่าวฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาช่อนของเขาอยู่ติดกับแม่น้ำสองพี่น้อง ดังนั้น เขาจะอนุบา ลปลาทั้งหมดไว้ในกระชัง "เรามีกระชังเลี้ยงปลาอยู่ประมาณ 15 กระชัง แต่ละกระชังมีขนาดความกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 1.50 เมตร " เขาจะอนุบาล 13 กระชัง ที่เหลือ 2 กระชัง ไว้เลี้ยงปลาใหญ่ เพื่อขุนไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์"ตอนนี้ที่ฟาร์มของเราจะเน้นอนุบาลมากกว่าเลี้ยงใหญ่ เพราะว่าที่นี่มีข้อกำจัดด้วยสถานที่เลี้ยง กล่าวคือ หากเลี้ยงปลาใหญ่ไว้ในกระชัง การเจริญเติบโตสู้บ่อดินไม่ได้ จึงเน้นเฉพาะอนุบาลลูกปลาเท่านั้น" ด้วยข้อกำจัดด้านสถานที่เลี้ยง ระยะหลัง ๆ คุณชาญจะไม่เพาะขยายพันธุ์ปลาเองด้วย ส่วนใหญ่จะขอซื้อลูกปลาอายุ 15 วัน จากสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดสิงห์บุรี และรับซื้อลูกปลาธรรมชาติจากเพื่อนบ้านมาอนุบาลต่อ เพื่อให้ได้ผลผลิต ขนาด 2-4 นิ้ว จากนั้นก็จำหน่ายให้กับผู้สนใจหรือผู้เลี้ยงปลาใหญ่ต่อไป"เราฝึกลูกปลาให้กินได้ทั้งอาหารเม็ดและปลาทะเล เพราะว่าผู้ซื้อหรือลูกค้ามีทั้งอยู่ใกล้และไกลทะเล บางคนไม่สะดวกซื้อปลาทะเล ก็หาอาหารเม็ดสำเร็จรูปของปลาดุกหรือพวกไฮเกรดมาเลยได้เลย" เขาบอกว่า การเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ภาคเหนือหรืออีสาน ถ้ามีสถานที่หรือบ่อเลี้ยงปลา ก็สามารถยึดอาชีพนี้ได้เลย

คุณชาญ บอกว่า การเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียข้อดี สะดวกในการหาซื้ออาหาร และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ วัน ข้อเสีย การเจริญเติบโตช้ากว่าการเลี้ยงปลาช่อนในบ่อดิน"ผมเคยทดลองเลี้ยงปลาช่อนด้วยปลาทะเลและอาหารเม็ดสำเร็จมาแล้ว โดยเลี้ยงในบ่อ 1งาน ปล่อยลูกปลา ขนาด 3-4 นิ้ว ลงเลี้ยง 10,000 ตัว ใช้ระยะการเลี้ยงนาน 8 เดือน ปรากฏว่าบ่อที่เลี้ยงด้วยปลาทะเล มีต้นทุนค่าอาหาร ค่าน้ำมันของเครื่องสูบน้ำ และอื่นๆ สูงถึง 170,000 บาท ขณะที่บ่อที่เลี้ยงอาหารเม็ดสำเร็จรูปมีต้นทุนการเลี้ยงรวมทั้งหมด 80,000 บาท เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนหรือผลผลิตที่ได้รับนั้นสู้บ่อปลาที่เลี้ยงด้วยปลาทะเลไม่ได้ แต่บ่อที่เลี้ยงอาหารเม็ดสำเร็จรูปมีความเครียดหรือความเสี่ยงน้อยกว่า ไม่ต้องยุ่งยากไปสั่งซื้ออาหารทุกๆ วัน และมีความสิ้นเปลืองแรงงานน้อยด้วย" คุณชาญ กล่าวพร้อมสรุปไว้ว่า "การเลี้ยงปลาด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลทะเลและขาดแคลนแหล่งน้ำ เนื่องจากการเลี้ยงปลาด้วยอาหารดังกล่าว โดยเฉลี่ยเปลี่ยนถ่ายน้ำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง แต่ละครั้งถ่ายน้ำออกเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น" สำหรับอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงปลาช่อนนั้น เขาบอกว่า ระยะ 1-4 เดือนแรก เราใช้อาหารเบอร์เล็กพิเศษ ย่างเข้าสู่เดือนที่ 5 เปลี่ยนเป็นอาหาร เบอร์ 2 และก่อนจับปลาขาย 2 เดือน เบอร์ 3 รวมระยะเวลาการเลี้ยงทั้งสิ้น 8 เดือน"ช่วงที่ผมเลี้ยงด้วยอาหารเล็กพิเศษจะให้กินอาหารวันละ 3 ครั้ง เช้า เที่ยง เย็น และแต่ละครั้งจะให้กินจนอิ่มด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันปลาแตกไซซ์ " หลังจากเปลี่ยนอาหารเป็น เบอร์ 2 และ 3 เขาให้กินอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น"ผมเคยเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารเม็ด ได้ผลผลิตสูง 3.5 ตัน ต่อบ่อ แต่ส่วนใหญ่ปลาขนาดกลางมากกว่าขนาดใหญ่" คุณชาญ กล่าวเขาบอกว่า ต้นทุนในการเลี้ยงปลาช่อนด้วยอาหารเม็ด อยู่ที่ 37-38 บาท ต่อกิโลกรัมปัจจุบันนี้ ราคารับซื้อปลาช่อนปากบ่อ (วันที่ 15 ตุลาคม 2547) ไซซ์ใหญ่น้ำหนัก 6 ขีด ขึ้นไป อยู่ที่ 78 บาท ต่อกิโลกรัม ไซซ์กลางน้ำหนักระหว่าง 4-6 ขีด อยู่ที่ 70 บาท ต่อกิโลกรัม ไซซ์เล็กน้ำหนักต่ำกว่า 4 ขีด อยู่ที่ 42 บาท ต่อกิโลกรัมอนุบาลลูกปลาช่อนคุณชาญ บอกว่า การอนุบาลหรือเลี้ยงลูกปลาช่อนให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ยากนัก แต่ก็ไม่ง่ายสำหรับมือใหม่ๆ เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อที่มีความต้องการอาหารคุณภาพสูง เพื่อสร้างกระดูกและเกล็ด ดังนั้น ในการอนุบาลลูกปลานั้น เราเน้นเรื่องอาหารเป็นพิเศษ"ลูกปลานี้ เราเลี้ยงให้รอดนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่เลี้ยงให้โตให้อ้วนสมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องยาก หากสูตรอาหารไม่ดีจริงๆ ปลาก็เล็กเกร็งไปเลย" ปลาช่อนนี้มีกระดูกทั้งหมด 900 ชิ้น มีเกล็ดกว่า 3,500 เกล็ด เขาบอกว่า จำเป็นต้องให้อาหารที่มีคุณค่าไปเสริมกระดูก เกล็ด และเนื้อปลา"อาหารที่ผมใช้อนุบาลลูกปลาครั้งแรก เราจะผลิตขึ้นมาเอง โดยใช้สูตรดังนี้ คือ เนื้อปลาทะเล 1 กิโลกรัม นมผงเด็ก 3 ช้อน แคลเซียล 1 ช้อนกาแฟ วิตามินซี 1 ช้อนกาแฟ และไข่ 1 ฟอง บดผสมกันให้ละเอียด แล้วนำไปหยดตามข้างๆ กระชัง เพื่อเป็นการฝึกให้กินอาหารครั้งแรก" เขาจะให้กินอาหารทั้งวันทั้งคืน จนครบ 15 วัน ก็ฝึกให้กินอาหารเม็ด โดยค่อยๆ สลับกับสูตรอาหารดังกล่าว"การฝึกให้กินอาหารเม็ดนั้น เราค่อยๆ ลดอาหารบดหรือปลาบด แล้วก็ใส่อาหารเม็ดไปแทนที่" เขาบอกว่าในการอนุบาลลูกปลาช่อนนั้น เราไม่เพียงให้กินอาหารทุกวันเท่านั้น ยังซื้อยาถ่ายพยาธิมาผสมกับอาหาร เพื่อให้ปลากินอีกด้วย โดยจะถ่ายพยาธิ 3 ครั้ง คือ หลังจากเลี้ยง 3 วัน 7วัน และ 15 วัน"ในการอนุบาลลูกปลานี้ ช่วงแรกเราจะปล่อยลงเลี้ยง ประมาณ 50,000-60,000 ตัว ต่อกระชัง ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่แน่นหนามากนัก เมื่อตัวใหญ่หากมีกระชังว่างเราก็แยกไปปล่อยเลี้ยง แต่ถ้าไม่ว่างเราไว้อย่างนั้น เพียงแต่ให้อาหารกินอย่างเพียงพอลูกปลาก็อาศัยอยู่ได้แล้ว" คุณชาญ กล่าวพันธุ์ปลาที่นำมาเลี้ยงดังที่บอกแล้วว่ามาจากแหล่งคือ จากธรรมชาติ และสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดสิงห์บุรี"ปลาจากธรรมชาติที่ชาวบ้านนำมาขายมีหลายขนาด มีทั้ง 3,000 ตัว ต่อกิโลกรัม 1,400 ตัว ต่อกิโลกรัมและ 800 ตัว ต่อกิโลกรัม เราซื้อมากิโลกรัมละ 60 บาท เมื่อปลาถึงเราจะคัดเลือกขนาด เพื่อป้องกันการแยกอาหารกัน และต้องการให้แต่ละกระชังมีลูกปลาเจริญเติบโตเท่าๆ กัน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการจัดการอื่นๆ ด้วย" หากลูกปลาที่ซื้อเป็นตัวใหญ่หรือขนาด 800 ตัว ต่อกิโลกรัม เขาจะหัดให้กินอาหารปลาทะเลและอาหารเม็ด เพียงระยะเวลา 10 วัน เท่านั้น ก็สามารถจับขายได้แล้วส่วนปลาจากสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดสิงห์บุรีนั้น มีขนาดเดียว คือตัวเล็กๆ อายุประมาณ 15 วัน ปลาพวกนี้ต้องอนุบาลครบ 40 วัน จึงจับขายได้เมื่อเลี้ยงครบ 40 วัน เขาก็จำหน่ายให้กับลูกค้าที่สนใจ ขนาด 2-3 นิ้ว ราคา 1 บาท และขนาด 3-4 นิ้ว ราคา 1.50 บาทปัจจุบันนี้ มีลูกค้าทั่วประเทศ จนผลิตไม่ทันตามความต้องการของตลาดเลยทีเดียว

ที่มา:หนังสือพิมพ์มติชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น