วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง


การเลี้ยงปลาแรดในกระชังโดยการเปลี่ยนจากกระชังไม้ มาเป็นกระชังเนื้ออวน เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันซึ่ง ขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชัง การเตรียมสถานที่เลี้ยงปลาในกระชังจะต้องสร้าง แพพร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด แพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวมกัน และเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพื่อนำกระชังตาข่ายไปผูก กระชังตาข่ายกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร กระชังขนาดดังกล่าวสามารถเลี้ยงปลาแรดขนาด 3 นิ้ว ได้ 3,000 ตัว โครงสร้างกระชังที่ใช้เลี้ยงปลา ประกอบด้วย 1.โครงร่างกระชัง ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ท่อเหล็กชุบหรือท่อน้ำ พี.วี.ซี. 2.ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและกักกันสัตว์น้ำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด วัสดุที่ใช้ได้แก่ เนื้ออวนจำพวก ไนลอน โพลีเอทีลีน หรือวัสดุจำพวกไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง 3.ทุ่นลอย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงให้กระชังสามารถลอยน้ำอยู่ได้ สามารถรับน้ำหนักของตัวกระชัง สัตว์น้ำที่เลี้ยงและเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฏิบัติงานบนกระชัง สำหรับอายุการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ดังนี้ กระชังไม้ไผ่ จะมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี กระชังไม้เนื้อแข็งจะมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี กระชังอวน จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 ปี บริเวณที่เหมาะสมแก่การวางกระชังนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดีน้ำมีคุณสมบัติเหมาะ สมในการเลี้ยงปลา ห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำนั้นไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรคปลา
ข้อห้ามในการเลี้ยงปลาในกระชัง
1.สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งกระชังต้องเหมาะสม เช่น คุณภาพของน้ำต้องดีมีปริมาณออกซิเจน พอเพียงกระแสน้ำไหลในอัตราที่พอเหมาะและไม่เกิดปัญหาโรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยงสถานที่ตึงกระชังควรตั้งอยู่ในบริเวณที่กำบังลม ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน
2.ปลาที่ปล่อยเลี้ยงควรมีขนาดใหญ่กว่าตาหรือช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็กหรือเท่ากับขนาด ของช่องกระชัง ปลาจะลอดจากจากกระชังหนึ่งไปยังอีกกระชังหนึ่ง หรือถ้าไม่ลอดก็จะเข้าไปติดตายอยู่ในระหว่างช่องกระชังได้
3. ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อม ๆ กันในทันทีที่ให้อาหารเพื่อให้ปลากินอาหารให้ มากที่สุดก่อนที่อาหารจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกไปนอกกระชัง 4. ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ น้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที อาจจะเกิด ปัญหากับปลาที่เลี้ยงซึ่งยากต่อการแก้ไข หากประสบปัญหาดังกล่าวควรขนย้ายปลาไปเลี้ยง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น