วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

ไถกลบตอซังเพิ่มอินทรีย์สารให้ดิน

การไถกลบตอซัง
การไถกลบตอซังข้าวหรือพืชไร่ที่อยู่ในไร่นาภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ลงไปในดินระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกขณะที่ดินมีความชื้น และปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายในดิน ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช แล้วจึงปลูกพืชหลักตามในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีทางชีวภาพโดยการนำปุ๋ยอินทรียน้ำที่ได้จากการหมักวัสดุเศษปลา หอยเชอรี่ ผักผลไม้หรือเศษอาหารบ้านเรือน โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในการหมักตอซัง ปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีประโยชน์เป็นสารเสริมการเจริญเติบโตประกอบด้วยฮอร์โมนออกซินจิบเบอร์เรลลิน และไซโตไคนิน และกรดอินทรีย์รวมถึงวิตามินบีหลายชนิด ช่วยในการกระตุ้นการเจริญและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ดิน ทำหน้าที่ย่อยสลายตอซังได้ดี ตอซังอ่อนนุ่ม ย่อยสลายได้ง่ายและไถกลบสะดวกขึ้นประโยชน์จากการไถกลบตอซัง

1. ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีความเหมาะสม- ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดินการปักดำกล้า และทำให้ระบบรากพืชสามารถแพร่กระจายในดินได้มากขึ้น- การระบายอากาศของดินเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อการหายใจของระบบรากพืชในดิน- เพิ่มการซึมผ่านของน้ำได้อย่างเหมาะสมและการอุ้มน้ำของดินให้ดีขึ้น

2. เป็นแหล่งสะสมธาตุอาหารพืชในดินและปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน- เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรงอาจจะมีปริมาณธาตุน้อย แต่จะมีธาตุอาหารครบถ้วนตามที่พืชต้องการ ทั้งธาตุอาหารหลัก (ไนโตเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม) ธาตุอาหารรอง (แคลเซียม แมกนีเซียมและ กำมะถัน) และจุลธาตุ (เหล็ก แมงกานีส ทองแดงสังกะสี โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน) และจะค่อยๆ ปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว- ช่วยดูดซับธาตุอาหารในดินไม่ให้สูญเสียไปจากดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้การไถกลบตอซัง เพิ่มอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดิน- ช่วยรักษาความสมดุลเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ให้มีความเหมาะสมต่อการเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน- ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน เนื่องจากธาตุดังกล่าวนี้จะละลายออกมามากในสภาพดินกรดหรือดินเปรี้ยว ทำให้ธาตุอาหารพืชถูกตรึงไว้ในดิน- ช่วยลดความเป็นพิษจากดินเค็ม โดยตอซังช่วยให้การอุ้มน้ำในดิน ทำให้ดินมีความชุ่มชื้น ส่งผลให้เกลือใต้ดินไม่สามารถระเหยขึ้นมาได้

3. เพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน- อินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ดิน มีผลทำให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชนอกจากนี้อินทรียวัตถุมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ประกอบด้วยโพรงหรือห้องขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์และสัตว์เล็กๆ ในดิน

- การเพิ่มปริมาณหรือจำนวนของจุลินทรีย์ดินมีผลช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชบางชนิดในดินลดน้อยลงวิธีการไถกลบตอซังข้าว

1. พื้นที่เขตชลประทาน ในเขตพื้นที่ชลประทานซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ต่อเนื่อง 2-3 ครั้งต่อปี หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่ต้องเผาตอซังและฟางข้าว ให้ปฏิบัติดังนี้- ผสมปุ๋ยอินทรีย์น้ำจำนวน 3 ลิตรต่อไร่กับน้ำ 100 ลิตร- เทสารละลายปุ๋ยอินทรีย์น้ำไหลไปตามน้ำขณะที่เปิดน้ำเข้านาจนทั่วแปลงหรือใช้รถบรรทุกสารละลายปุ๋ยอินทรีย์น้ำสาดให้ทั่วแปลงนาขณะเดียวกันใช้รถตีฟาง ย่ำฟางให้จมลงดิน- หมักฟางทิ้งไว้เป็นเวลา 10 วัน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ2 ลิตรผสมกับน้ำ 100 ลิตร สาดให้ทั่วแปลงนาอีกครั้งหมักไว้อีก 5 วัน- จากนั้นจึงทำเทือกเพื่อเตรียมหว่านหรือปักดำข้าวครั้งใหม่ต่อไป หรือสามารถปลูกพืชไร่เศรษฐกิจชนิดอื่นได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด และฟ่าง เป็นต้น

2. พื้นที่เขตเกษตรน้ำฝน ที่มีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักเพียงอย่างเดียวตลอดฤดูเพาะปลูก หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวให้ทิ้งฟางข้าวและตอซังไว้ในพื้นที่ เพื่อเป็นการคลุมผิวหน้าดิน จากนั้นเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมให้ปฏิบัติ ดังนี้
- ผสมปุ๋ยอินทรีย์น้ำจำนวน 3 ลิตรต่อไร่กับน้ำ100 ลิตร
- ใส่สารละลายปุ๋ยอินทรีย์น้ำตามบริเวณคันนาหรือสาดให้ทั่วสม่ำเสมอ แล้วใช้รถไถย่ำฟางให้จมดิน หมักฟางทิ้งไว้ 7 วัน
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 2 ลิตร ผสมน้ำ 100 ลิตรให้ทั่วแปลงนาอีครั้งแล้วใช้รถไถตีฟางตามไปด้วย- ปล่อยให้ย่อยสลายอีก 7 วัน
- จากนั้นจึงทำเทือกเตรียมแปลงพร้อมที่จะปลูกข้าวต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น