
โรคกบที่สำคัญ
โรคขาแดง (Red leg disease)
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แอร์โรโมนาส ไฮโดรฟิลล่า (Aeromonas hydrophila) อาการและรอยโรค กบแสดงอาการซึม เคลื่อนไหวช้าลง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม กินอาหารน้อยลง พบลักษณะมีจุดผื่นแดงตามขาและผิวหนังด้านท้อง มีแผลตามตัว ขาบวม โคนขามีสีแดง พบการตกเลือดและมีน้ำในช่องท้อง (ascites) ตับมีสีแดง คั่งเลือด ( congestion) บางครั้งพบจุดขาวๆ กระจายทั่วตัว
การรักษา ทำได้เฉพาะเมื่อกบมีอาการป่วยไม่รุนแรง แต่ถ้ากบมีอาการป่วยหนัก การรักษาอาจไม่ได้ผล อาจให้ยาปฏิชีวนะ เช่นเอนโรฟล็อคซาซิน 5-10 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม กินติดต่อกัน 7-10 วันออกซี่เตตร้าซัยคลิน 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม กินติดต่อกัน 7-10 วันและทำร่วมกับแช่กบในด่างทับทิม 5-8 พีพีเอ็ม (5-8 กรัม/น้ำ 1 ตัน) หรือไอโอดีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำและลดปริมาณอาหารที่ให้ลงการป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การควบคุมคุณภาพน้ำให้ดีเสมอ มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอและไม่เลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป
โรคขาแดง (Red leg disease)
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แอร์โรโมนาส ไฮโดรฟิลล่า (Aeromonas hydrophila) อาการและรอยโรค กบแสดงอาการซึม เคลื่อนไหวช้าลง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม กินอาหารน้อยลง พบลักษณะมีจุดผื่นแดงตามขาและผิวหนังด้านท้อง มีแผลตามตัว ขาบวม โคนขามีสีแดง พบการตกเลือดและมีน้ำในช่องท้อง (ascites) ตับมีสีแดง คั่งเลือด ( congestion) บางครั้งพบจุดขาวๆ กระจายทั่วตัว
การรักษา ทำได้เฉพาะเมื่อกบมีอาการป่วยไม่รุนแรง แต่ถ้ากบมีอาการป่วยหนัก การรักษาอาจไม่ได้ผล อาจให้ยาปฏิชีวนะ เช่นเอนโรฟล็อคซาซิน 5-10 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม กินติดต่อกัน 7-10 วันออกซี่เตตร้าซัยคลิน 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม กินติดต่อกัน 7-10 วันและทำร่วมกับแช่กบในด่างทับทิม 5-8 พีพีเอ็ม (5-8 กรัม/น้ำ 1 ตัน) หรือไอโอดีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำและลดปริมาณอาหารที่ให้ลงการป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การควบคุมคุณภาพน้ำให้ดีเสมอ มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอและไม่เลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป
โรคตาขาว คอเอียง กระแตเวียน บวมน้ำ
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ฟลาโวแบคทีเรียม เมนิงโกเซพติคุ่ม (Flavobacterium meningosepticum)
อาการและรอยโรค ลักษณะตาขาว ขุ่น บอด เกิดการอักเสบที่ตา มีหนองในช่องหน้าตา มีอาการทางประสาทโดยกบจะนอนหงายท้อง แสดงอาการควงสว่าน คอเอียง กบบางตัวจะบวมน้ำ พบน้ำคั่งใต้ผิวหนังและมีน้ำในช่องท้อง
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ฟลาโวแบคทีเรียม เมนิงโกเซพติคุ่ม (Flavobacterium meningosepticum)
อาการและรอยโรค ลักษณะตาขาว ขุ่น บอด เกิดการอักเสบที่ตา มีหนองในช่องหน้าตา มีอาการทางประสาทโดยกบจะนอนหงายท้อง แสดงอาการควงสว่าน คอเอียง กบบางตัวจะบวมน้ำ พบน้ำคั่งใต้ผิวหนังและมีน้ำในช่องท้อง
การรักษา การรักษาโรคนี้มักไม่ค่อยได้ผล โดยเฉพาะในตัวที่ป่วยหนัก ทำได้โดยลดความรุนแรงของโรค โดยแยกตัวป่วยออกและฆ่าเชื้อโรคในบ่อโดยใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น ไอโอดีน เป็นต้น หรือ อาจใช้ด่างทับทิม 5-8 กรัม/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ทั่วบ่อติดต่อกัน 3 วัน และผสมยาปฏิชีวนะ เช่น เอนโรฟล็อคซาซิน กับอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกบที่เหลือ นอกจากนี้แล้วจะต้องแยกกบให้ปริมาณน้อยลงจากเดิมการป้องกัน ไม่เลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป มีการพักน้ำและฆ่าเชื้อโรคในน้ำก่อนนำมาใช้ด้วยคลอรีน เปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น